วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

อันตรายจาก รังสียูวี และแสงต่างๆ ที่ไม่ควรมองข้าม!

อันตรายจาก รังสียูวี และแสงต่างๆ ที่ไม่ควรมองข้าม!

รังสียูวีไม่ได้มีแต่ในแสงแดดเท่านั้น รังสียูวียังเกิดขึ้นในที่ทำงานหรือบ้านด้วย ใครเล่าจะนึกถึง อาทิเช่น จากจอคอมพิวเตอร์ จากเครื่องถ่ายเอกสาร จากโทรทัศน์ จากหลอดไฟ 

ความเข้มข้นของรังสียูวีจากอุปกรณ์ภายในบ้านและบริษัท อาจต่ำกว่าก็ตาม แต่ก็มีผลต่ออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับรังสียูวีจากแสงแดด อาทิเช่น การทำให้ผิวเหี่ยวย่น จุดเริ่มของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง การทำลายเนื้อเยื่อตา

การป้องกันรังสียูวีในบ้านหรือที่ทำงาน จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้แว่นกรองสะท้อนรังสียูวี และครีมสะท้อนรังสียูวี

รังสี UV และผิวของคุณ

ผิวนั้น ในขณะที่เป็นตัวปกป้องร่างกายจากโรคภัยและ ผู้บุกรุก ก็ยังอ่อนแอพอที่จะถูกทำร้ายโดยการได้รับรังสีUVเป็นเวลานานๆตลอดช่วงชีวิตของเรา เมื่อพวกเราได้รับรังสี UVA, UVBไม่ว่าจะจากพระอาทิตย์หรือที่อื่น กลไกการป้องกันของร่างกายจะพยายามปกป้องผิวด้วยการเริ่มกระบวนการผลิตเม็ดสี เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ซึ่งอยู่ในชั้นล่างสุดของผิวหนังชั้นนอกและทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิวที่ชื่อว่าเมลานีน (Melanin) เม็ดเมลานีนถูกเก็บเป็นกลุ่มอยู่ในเมลาโนโซม (melanosomes) ซึ่งโยกย้ายอยู่ในชั้นพื้นผิวของผิวหนังอย่างเช่นเซลล์ผิวหนังที่หลุดลอกไปตามธรรมชาติ สีน้ำตาลที่เห็นได้ชัดนี้เป็นหลักฐานของผิวที่ถูกทำร้าย ถ้าหากผิวคุณไหม้ นั่นแสดงว่ารังสี UVBได้แทรกซึมลงเข้าผิวหนังชั้นบน และก่อให้เกิดความเสียหายในเซลล์ อาการผิวไหม้คือผิวหนังที่มีสีแดงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่าร่างกายได้เร่งการหมุนเวียนของเลือดไปสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อฟื้นฟูผิวหนังจากความเสียหาย

รังสี UV เป็นต้นเหตุของความเสียหายมากสุดในการสร้างอนุมูลอิสระ ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าอนุมูลอิสระเป็นตัวก่อกวนการทำงานของเซลล์ปกติในร่างกายของเรา อนุมูลอิสระนั้นคือโมเลกุนที่ไม่เสถียรอย่างมากเพราะมีอีเล็กตรอน (electron) ไม่ครบคู่ เพื่อจะทำให้อนุมูลอิสระเสถียร, อนุมูลอิสระจะไปดึกอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นเพื่อมาจับคู่กับอิเล็กตรอนไร้คู่ของตัวเอง ซึ่งก่อเกิดเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ที่ทำให้การทำงานของเซลล์แย่ลง ทำความเสียหายให้แก่โครงสร้างเซลล์ และปรับเปรียนดีเอ็นเอของเซลล์

ในกระบวนการนี้ อนุมูลอิสระจะทำลายเซลล์สร้างเส้นใย ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ในการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน คอลลาเจนเป็นโครงสร้างโปรตีนที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่ผิว เมื่อผิวนั่นถูกทำร้ายด้วยรังสี UV เอ็นไซม์จะพยายามซ่อมแซมคอลลาเจนที่ได้รับผลกระทบ ถ้าความเสียหายนั้นมากเกิน เส้นใยจะถูกทำลายและนำไปผลิตคอลลาเจนใหม่ ในขณะเดียวกันรังสี UV สามารถก่อให้เกิดการสะสมอีลาสตินย่างผิดปกติ อิลาสตินคือเส้นใยโปรตีนอีกประเภทที่ทำให้ผิวสามารถคงรูปไว้ได้  อนุมูลอิสระลดประสิทธิภาพของเซลล์ในการผลิตโปรตีนสำคัญของผิว และสร้างความเสียหายให้แก่ผิวและเกิดความเสียหายของผิวจากแสงแดด(photo aging)ในรูปแบบของริ้วรอย ความหยาบกร้าน ความแห้งและสีผิวไม่สม่ำเสมอ

รังสียูวีนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ โดยรังสียูวีในขนาดต่ำๆ จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไปรังสียูวีบีจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผิวไหม้แสบลอก ผิวหมองคล้ำ

       ส่วนรังสียูวีเอ เมื่อได้ผ่านลงไปได้ถึงชั้นหนังแท้ และได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำลายไฟโบรบลาสต์ จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำกดภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ตามมาด้วยเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้ โดยผู้ที่มีผิวขาวจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากมีเมลานินที่ช่วยปกป้องอยู่น้อยกว่านั่นเอง

       นอกจากนี้รังสียูวียังส่งผลก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาด้วย แต่มีผลค่อนข้างน้อย ถ้าได้รับรังสียูวีความเข้มสูง จะเกิดกระจกตาอักเสบมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ส่วนระยะยาวจะเกิดต้อลม ต้อกระจก ในอนาคตจอตาอาจเสื่อมได้

        ซึ่งแหล่งกำเนิดของรังสียูวีตามธรรมชาติก็คือ ดวงอาทิตย์คนส่วนใหญ่ได้รับรังสียูวีจากแสงแดดนั่นเอง แต่คำถามที่พบบ่อยก็คือนอกจากรังสียูวีในแสงแดดแล้ว จะพบรังสียูวีจากที่ใดอีกบ้างที่เป็นอันตรายต่อผิว และดวงตาและการนอนเปิดไฟจะทำให้หน้าหมองคล้ำหรือไม่คำตอบมีดังนี้

จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ก็มีอันตรายได้เหมือนกัน
        จอโทรทัศน์แบบ CRT (Cathode Ray Tube) คือ จอแก้วแบบโค้ง ที่พบในทีวีรุ่นเก่าๆ นั่นแหละค่ะ จอชนิดนี้แผ่รังสียูวีเพียงเล็กน้อยไม่ทำอันตรายต่อสายตา หรือ ทำให้ผิวหมองคล้ำ แต่ถ้าเพ่งมากๆ อาจทำให้ตาเมื่อยล้า ปวดศีรษะได้ ยกเว้นแต่ว่าในผู้ป่วยโรคบางชนิดที่มีอาการผิวไวแสงควรหลีกเลี่ยงจอชนิดนี้

        จอโทรทัศน์แบบ LCD (Liquid Crystal Display) และ Plasmaไม่แผ่รังสียูวี แต่จอยิ่งใหญ่จะมีความร้อนสูง

หลอดไฟชนิดต่างๆ ก็สามารถแผ่รังสียูวีมาสู่ผิวและดวงตาได้
         หลอดไส้ (Incandescent Light Bulb) อาศัยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไส้ทังสเตนจนเกิดความร้อน และแสงสว่าง ให้แสงเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้นและเปลืองไฟ แต่มีรังสียูวีต่ำมาก

         หลอดฟลูโอเรสเซนท์ (Fluorescent Light) หรือ ที่เรียกกันว่าหลอดนีออนคือ หลอดแก้วสูญญากาศที่ใส่ไอปรอทไว้ เมื่อผ่านกระแสไฟจะทำให้ไอปรอทปล่อยพลังงานในรูปรังสียูวีความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรไปกระทบสารเรืองแสงฟอสฟอรัสที่ฉาบด้านในหลอด สารเรืองแสงจะดูดซับรังสียูวีแล้วเปล่งแสงในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นแทน หลอดชนิดนี้อาจมีรังสียูวีหลุดรอดออกมาได้บ้างในระดับที่ไม่เป็นอันตราย

         หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ทังสเตนแบบหลอดไส้ แต่มีไอของธาตุฮาโลเจน เช่น คลอรีน ฟลูโอรีนในหลอดแก้ว เพื่อให้ได้แสงสีขาว มีการแผ่รังสียูวีในระดับที่ปลอดภัยหลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp) เป็นหลอดที่ให้ความเข้มแสงสูงและความถูกต้องของสีใกล้เคียงแสงแดด มักใช้ในสนามกีฬาหรือ งานโทรทัศน์ มีการแผ่รังสียูวีในระดับสูงที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้

       หลอด LED (Light Emitting Diode) แสงสว่างมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในเซมิคอนดักเตอร์ จึงไม่มีการแผ่รังสียูวีและความร้อนปลอดภัยจากสารปรอท และประหยัดไฟที่สุดค่ะ

        หลอดแบล็กไลท์ (Black Light) หลักการเหมือนหลอดนีออนแต่ไม่ได้เคลือบฟอสฟอรัสไว้ด้านในหลอด แผ่รังสี UVA ความยาวคลื่น 345-400 nm ซึ่งใกล้เคียงกับแสงม่วงที่ตามองเห็น จึงมีอันตรายน้อยเมื่อเปิดใช้งานในที่มืดจะเห็นเป็นสีม่วงจางๆ สิ่งของที่มีฟอสฟอรัสจะ
เรืองแสงขึ้น นำมาใช้ตรวจลายน้ำบนธนบัตร ตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่นลายนิ้วมือ คราบอสุจิ คราบเลือด

        หลอดยูวีฆ่าเชื้อโรค (Germicide Lamp) แผ่รังสี UVC ใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำหรือในโรงพยาบาล มีอันตราย อาจทำให้เกิดผิวหนังไหม้และเยื่อบุตาอักเสบถ้าสัมผัสโดยตรงเครื่องถ่ายเอกสาร ใช้หลอดฟลูโอเรสเซนท์ความเข้มสูงหรือหลอดฮาโลเจน อาจมีรังสียูวีได้บ้าง จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

        งานเชื่อมโลหะ นอกจากจะมีประกายไฟแล้ว ยังมีการแผ่รังสียูวีในความเข้มสูงอีกด้วย ผู้ปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา และสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ไม่ควรมองแสงจากการเชื่อมโลหะด้วยตาเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น