วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน

ตัวเลขที่ไม่ขึ้นทะเบียน น่าเป็นห่วง เพราะวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อกันทางอากาศ ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: WHO จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค”
“องค์การอนามัยโลก” จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค” คาดยอดผู้ป่วยสะสม ในกรุงเทพฯ 1.4 หมื่นคน
ธ.ค.59 - นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม. ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้นที่กรุ งเทพฯ พร้อมทั้งเป็นประธานการประชุมรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากา รดำเนินงานวัณโรคของสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือแนวทางการมุ่งสู่ยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบด้วย Dr.Paul Nunn Dr.C.N.Paramasivan Dr.Muta Shama และ Dr.Daniel Kertesz และหน่วยงานในกทม. ประกอบด้วย สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้ นที่กรุงเทพฯ ของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2559 ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในสถานพยาบาล 6 แห่ง ประกอบด้วย สถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 (ลาดพร้าว) โรงพยาบาลกลาง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี และสถานพยาบาลเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
รายงานข่าวระบุว่า ผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้แนะนำแนวทางการดำเนินงาน 4 ข้อ ดังนี้
1.ให้มีระบบรายงานผู้ป่วยให้มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น
2.ควรมีการสนับสนุนระบบส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องในสถานพยาบาล อื่นๆ ที่ครอบคลุมผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งกทม.ได้จัดตั้งศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคตั้งอยู่ที่ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางแพทย์สัมพันธ์ สำนักอนามัย
3.มีการดูแลผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการดูแลรักษา และ
4.มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้ติดยาเสพติด
“สำหรับประมาณการผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน โดยจากนี้ กทม.จะได้นำไปเป็นแนวทาง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” รายงานข่าว ระบุ
http://www.komchadluek.net/news/regional/252561

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เรื่องแมว แมว ที่ทำให้คนแพ้ !!!

เรื่องแมว แมว ที่ทำให้คนแพ้ !!!

ผลสำรวจของ American College of Allergy, Asthama and Immunology มีคนประมาณ 10% ที่มีอาการแพ้สัตว์เลี้ยง และมีคนที่แพ้แมวมากเป็น... 2 เท่าของสุนัข และสำหรับเด็กอายุ 6 - 19 ปี มีเด็กประมาณ 1 ใน 7 ที่แพ้แมว
ความจริงแล้ว ไม่ใช่ขนแมวที่ทำให้เกิดอาการแพ้ คนที่แพ้แมวเกือบทั้งหมด แพ้โปรตีน Felis domesticus allergen 1 เรียกย่อๆ ว่า Fel d 1 ที่อยู่ในผิวหนังของแมว

สาเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้แมวมากกว่าสุนัข เพราะขนาด และรูปร่างของอนุภาคโปรตีน Felis domesticus allergen 1 เรียกย่อๆ ว่า Fel d 1 ที่เล็ก และเบามาก มันมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นฝุ่น Fel.d1 จะมีอยู่ในน้ำลายและผิวหนังของแมวทุกตัว และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง แถมยังเหนียวหนึบ

สามารถเกาะติดกับผิวหนังมนุษย์ เสื้อผ้า และติดอยู่อย่างนั้นได้เป็นเวลานาน ทำให้สารก่อภูมิแพ้ของแมวมีอยู่ทั่วไป แม้ในสถานที่ที่ไม่มีแมวอย่าง ห้องเรียน คลินิก ทีนี้พอจะนึกออกหรือยังว่าเราแพ้ขนแมวได้ยังไง ก็เมื่อแมวเลียตัวเอง Fel.d1 ก็จะเคลือบอยู่ที่เส้นขนของแมว ดังนั้นไม่ว่าแมวขนสั้น ขนยาว หรือแมวไม่มีขน คุณก็เกิดอาการแพ้ได้อยู่ดี และสารตัวนี้ยังสะสมอยู่ได้นาน 5-6 เดือนเลยเชียวและแมวตัวผู้ โดยเฉพาะแมวที่ไม่ถูกตอน จะผลิต Fel d 1 มากกว่าแมวตัวเมีย อันเป็นผลมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
อาการของโรคภูมิแพ้คงไม่ต้องบอกอะไรมาก โดยมากจะรู้ๆกันอยู่ เช่น คันตามผิวหนัง คันตา คันจมูก จาม น้ำมูกไหล ไปจนถึงหายใจไม่ออก เป็นหอบหืด หายใจไม่ออก

แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) จัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ

โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และ แมวขนสั้น (shorthaired cat) แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงหรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนาการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก