วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พลังแรงๆดูดลมเข้าเครื่องฟอกอากาศ (เครื่องกรองอากาศ) ทำให้อากาศสะอาดมากกว่า จริงหรือ?


... สมัยก่อน การทำให้อากาศอากาศขึ้น จะใช้วิธีเปิดช่องหน้าต่างให้ลมพัดเข้ามาในห้อง แล้วเปิดช่องระบายลมออกอีกข้างให้มากๆเข้าไว้ เป็นการเจือจางอากาศให้มีความเข้มข้นมลพิษต่ำลง




... มาถึงยุคเครื่องกรองอากาศ ชาวบ้านชอบเรียกเครื่องฟอกอากาศ แต่การที่มีห้องใหญ่ๆตึกยักษ์ๆเกิดขึ้นไม่พอใช้งาน ทำให้เกิดการกั้นห้องมากขึ้น อากาศไม่ได้ระบายอย่างที่เคยเป็นหรือวางแผนไว้แต่แรก คนจึงนำระบบแผ่นกรองอากาศมาใช้ ด้วยการเอาเครื่องที่มีมอเตอร์พัดลมมาดูดอากาศออกจากห้อง เข้าไปผ่านในเครื่องที่มีแผ่นกรองอากาศ มลพิษก็จะถูกจับกั้นไว้ติดที่แผ่นกรอง ... ยิ่งเครื่องดูดอากาศจากห้องได้มากได้เร็ว มลพิษต่างๆก็จะเข้าไปอยู่ในเครื่องได้มากตามไปด้วย เป็นที่มาของเครื่องกรองอากาศ (ชาวบ้านเรียกเครื่องฟอกอากาศ)ที่ว่า ใครมีแรงดูดมากกว่า ก็จะเป็นเครื่องกรองอากาศที่ดีกว่า แต่ก็อย่าลืมว่าสารมลพิษจะถูกสะสมไว้ที่แผ่นกรอง เมื่อมอเตอร์พัดลมดูดแรงๆ ก็จะทำให้แผ่นกรองขาดได้ สารมลพิษก็จะถูกออกมาอีกทาง ตอนนี้ก็กลายเป็นเครื่องพ่นมลพิษไปซะงั้น ... จากการสำรวจพบว่า แผ่นกรองมักจะขาดเสมอ เพราะแรงดูดของมอเตอร์พลังสูงที่พยายามจะดูดอากาศผ่านแผ่นกรองที่อุดตันด้วยสารมลพิษ ก็ทำให้แผ่นขาดเป็นรู อีกสาเหตุหนึ่งคือ คนเอาแผ่นกรองไปล้างหรือดูดด้วยเครื่องดูดฝุ่นหรือเคาะ ซึ่งแผ่นกรองละเอียด (HEPA) ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

... มาถึงยุคใหม่ สร้างพื้นที่ปลอดมลพิษ ด้วยเทคโนโลยี่ในศตวรรษนี้ วิศวกรคิดว่าทำไมต้องดูดมลพิษเข้าไปในเครื่องอย่างเดียว ไม่ผลิตสารเลียนแบบธรรมชาติที่ทำลายมลพิษได้ทันทีข้างนอกเครื่อง ก็ไปเจออนุภาคไฟฟ้าลบ คิดค้นมากว่า 30 ปี ให้ถูกพ่นเข้าไปในห้อง แต่ก็ทำได้แค่จับฝุ่น ทำลายมลพิษไม่ได้มาก การค้นคว้าก็เลยไม่คืบหน้าต่อ  จนกระทั่งมีวิศวกรคิดค้นนวตกรรมใหม่โดยบังเอิญ คืออนุภาคไฟฟ้าบวกและลบ พ่นพร้อมกันเข้าไปในห้อง

... ยุคที่เชื้อโรคมลพิษหดหาย ด้วยการที่อนุภาคไฟฟ้าบวกและลบ ที่ถูกพ่นเข้าไปในห้อง  ไปทำลายเชื้อโรคและสาร



พิษหลายๆประเภทได้  ทำให้เกิดห้องปลอดเชื้อหรือโซนอากาศสะอาด  คนที่เข้าไปอยู่ในโซนหรือผ่านโซนนี้  ก็จะสะอาดตามไปด้วยเพราะเชื้อโรคและสารพิษถูกทำลายทันทีที่เข้าไปในโซนหรือห้องนั้นๆ ... วิธีนี้ไม่ต้องใช้พัดลมดูดลมแรงๆ  ไม่ต้องดักจับสารพิษเข้าในเครื่อง  ชีวิตมนุษย์ลดความเสี่ยงต่อโรคภัยได้มาก  ใครเคยได้ใช้ก็จะรู้ว่าประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลไปนานเลย



... อ้าว โซนอากาศสะอาดไม่เคยทำได้มาก่อนเหรอ ก็มีเหมือนกันแต่เลิกใช้ไปแล้ว เป็น โอโซน หรือ แสงยูวี  สามารถสาดเข้าไปในห้องได้ เจ้าสองตัวนี้ก็ทำลายเชื้อหรือสารมลพิษได้เหมือนกัน แต่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงไม่สะดวกในการใช้งาน ก็นิยมใช้น้อยลงเรื่อยๆ ... ส่วนที่มีการขายในท้องตลาด จะเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ว่า โอโซน หรือ แสงยูวี เหล่านี้ จะทำลายเชื้อโรคหรือสารมลพิษ ต่อเมื่อมันมีความเข้มข้นสูงมากๆ  มากจนอันตรายต่อมนูษย์ ไอ้ความเข้มข้นที่มีขายในท้องตลาด ไม่พอที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพใช้งานจริงๆหรอก แค่ได้กลิ่นคาวปลาของโอโซน คนก็เชื่อว่ามันทำงานได้ ซึ่งไม่จริงแต่ประการใด


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (PM10) หากมีค่าเกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศจะส่งผลกระทบตอ่ ระบบทางเดินหายใจของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย




ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเส้นทางของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าสู่ทางเดินหายใจนั้นขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความหนาแน่น รวมถึงลักษณะของลมหายใจร่วมด้วย


ปกติมลพิษอากาศรวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ ระบบทางเดินหายใจจะแบ่งเป็น 2 ส่วน

1.       ส่วนบนคือ ช่องจมูกและหลอดลม และระบบทางเดินหายใจ
2.       ส่วนล่างคือ ท่อปอด (bronchial tubes) และปอด

ซึ่งฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน หรือที่เรียกว่าฝุ่นที่หายใจเข้าไป (respiration particulate matter, RPM) จะรอดจากการกรองเข้าไปถึงปอดได้ ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน จะเข้าไปถึงถุงลมปอดได้ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ
ฝุ่นละอองเล็กๆนี้เมื่อถูกหายใจเข้าปอด จะไปเกาะติดผนัง นานเข้าก็จะคล้ายยางเหนียว ทำให้ความสามารถในการหายใจของปอดลดน้อยลง สร้างปัญหาในระยะยาวกับร่างกายต่อไปอีกนาน

โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบด้วย

1. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)
2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
3. โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema)
4. โรคปอดอักเสบ ( Interstatial lung disease)
5. โรคหอบหืด ( Asthma)


นักวิทยาศาสตร์ที่จีนได้รวบรวมฝุ่นละออง จากนั้นนำมาสกัดและลำดับดีเอ็นเอในตัวอย่าง เพื่อระบุสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ 1,315 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบคทีเรีย โดยในฝุ่นละออง ที่เก็บตัวอย่างยังพบเห็ดรา และเชื้อไวรัสรวมอยู่ด้วย ผลการศึกษาล่าสุดพบเชื้อจุลินทรีย์กว่า 1,300 สายพันธุ์ลอยปะปนอยู่ในอากาศ ที่มีมลพิษของกรุงปักกิ่ง