วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

WHO ประเมินว่า แต่ละปีจะมีประชากรโลกกว่า 6 ล้านคนที่เสียชีวิตจากการสัมผัสมลภาวะ ทั้งในและนอกอาคาร

WHO เตือนประชากรโลกกว่า 90% กำลังสูดอากาศที่เป็นพิษเกินมาตรฐาน

เอเอฟพี - องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงเตือนวันนี้ (27 ก.ย.) ว่าประชากรโลก 9 ใน 10 คนกำลังหายใจเอาอากาศคุณภาพแย่เข้าไปในปอดทุกๆ วัน พร้อมเรียกร้องให้นานาชาติเร่งหามาตรการต่อสู้ปัญหามลพิษ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านคนต่อปี มาเรีย ไนรา หัวหน้าสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ WHO ชี้ว่า ข้อมูลในรายงานชิ้นนี้ “เพียงพอที่จะทำให้เราทุกคนต้องรู้สึกกังวลอย่างมาก”

ผู้เชี่ยวชาญของ WHO ระบุว่า ปัญหามลพิษค่อนข้างรุนแรงเป็นพิเศษในเมืองใหญ่ๆ ทว่า ในเขตชนบทเองก็ใช่จะมีอากาศบริสุทธิ์อย่างที่หลายคนคิด รายงานชี้ว่า กลุ่มประเทศยากจนมีคุณภาพอากาศต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว “แต่ในทางปฏิบัติ มลพิษส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก และทุกช่วงชั้นของสังคม”

“นี่คือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข... ทั่วโลกยังไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษได้อย่างรวดเร็วพอ” ไนรา กล่าว พร้อมเตือนให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งออกมาตรการลดปริมาณยานพาหนะบนท้องถนน ปรับปรุงวิธีจัดการขยะ และส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงหุงต้มที่สะอาด ผลวิจัยซึ่งสรุปจากการรวบรวมข้อมูลจากสถานที่กว่า 3,000 แห่งทั่วโลก พบว่า “ประชากรโลกร้อยละ 92 อาศัยอยู่ในสถานที่ซึ่งมีมลพิษในอากาศสูงกว่ามาตรฐานของ WHO”

ข้อมูลชุดนี้เน้นไปที่ค่า PM2.5 ซึ่งหมายถึงฝุ่นละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครมิเตอร์

PM2.5 ประกอบไปด้วยสสารที่เป็นพิษ เช่น ซัลเฟต และคาร์บอนสีดำ ซึ่งสามารถเข้าไปสะสมในปอดและระบบการทำงานของหัวใจได้

อากาศที่มีปริมาณ PM2.5 เกินกว่า 10 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรโดยเฉลี่ยต่อปี ถือว่าไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

ในบางภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญมีทั้งข้อมูลดาวเทียมประกอบกับการวัดค่า PM2.5 บริเวณพื้นดิน ทว่าในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลภาคพื้นดินได้ WHO จึงต้องใช้วิธีคาดการณ์อย่างหยาบๆ

WHO ประเมินว่า แต่ละปีจะมีประชากรโลกกว่า 6 ล้านคนที่เสียชีวิตจากการสัมผัสมลภาวะ ทั้งในและนอกอาคาร โดยข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษนอกอาคารนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 3 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม มลพิษในอาคารก็มีอันตรายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะตามบ้านเรือนที่ฐานะยากจนซึ่งมักใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงประกอบอาหาร

WHO พบว่า การเสียชีวิตจากมลพิษในอากาศเกือบร้อยละ 90 เกิดขึ้นในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก ประเทศที่เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย และเวียดนาม

การ์โลส โดรา ผู้ประสานงานจากสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ WHO ชี้ว่า ยุทธศาสตร์ที่บางประเทศใช้รับมือปัญหามลพิษนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การแจ้งเตือนคุณภาพอากาศรายวันในกรุงปักกิ่งก็แทบจะไม่มีผลในการปกป้องสุขภาพประชากรส่วนใหญ่ เนื่องจากอันตรายที่แท้จริงนั้นเกิดจากการสูดอากาศที่มีมลพิษเกินมาตรฐานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

โดรา ระบุด้วยว่า การเก็บตัวอยู่ในอาคารในวันที่อากาศเป็นพิษไม่ช่วยอะไรได้มากนัก นอกจากนี้ WHO ยังไม่พบหลักฐานยืนยันว่า การสวมหน้ากากอนามัยสามารถกรองมลพิษในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง

”วัณโรคในเด็ก” วัยซนต่ำกว่า 5 ขวบ เสี่ยงที่สุด!

วัณโรคในเด็กวัยซนต่ำกว่า 5 ขวบ เสี่ยงที่สุด!

วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เราได้ยินกันมานาน โดยโรคนี้ทำให้เกิดปอดอักเสบ และก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนถึงแก่ชีวิตได้ เหล่าคุณแม่ควรจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ เพราะผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายที่สุด คือ กลุ่มเด็กวัยซนที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี


วัณโรค” (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า มัยโคแบคทีเรียม ทิวเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะติดจากผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นวัณโรค ทางการไอ จาม หรือหายใจรดกัน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ที่ร่างกายแข็งแรง หากได้รับเชื้อร่างกายจะควบคุมเชื้อวัณโรคได้ แต่สำหรับเด็กเล็กซึ่งมีภูมิคุ้มกันไม่เท่าผู้ใหญ่ หรือขณะที่ได้รับเชื้อมีร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัว ก็จะทำให้ป่วยเป็นวัณโรคได้ง่าย ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่วนอาการเฉพาะที่ เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หอบ พบได้ประมาณร้อยละ 50 โดยอาการทางปอดอาจไม่เด่นชัดนัก บางรายอาจจะมีก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น หรือท้องใหญ่ขึ้นจากการที่มีตับหรือม้ามโต

สำหรับการป้องกันโรคนี้ คือ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปตามแหล่งชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล หากบุคคลใกล้ชิดในบ้านป่วยเป็นวัณโรค ต้องพาเด็กในบ้านหรือเด็กที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยวัณโรค ว่าจะมีอาการหรือไม่ เพราะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะรับเชื้อได้ง่าย แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัย รักษาและให้ยาป้องกันโรคได้ทันท่วงที จริงๆ แล้วเพื่อความปลอดภัย หากสมาชิกในบ้านเป็นวัณโรค ก็ควรพาเจ้าตัวเล็กไปเช็คร่างกายกับคุณหมอ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อ เพราะโรคนี้เด็กเล็กติดเชื้อได้ง่ายมาก)
การให้วัคซีนบีซีจี (BCG) ตั้งแต่แรกเกิด แม้จะสามารถช่วยป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง แต่ยังมีโอกาสเป็นวัณโรคได้


นอกจากนี้ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดี โดยให้ยาร่วมกันหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดอัตราการดื้อยา ที่สำคัญคือต้องกินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและมีวิตามินบีสูง

5 facts about tuberculosis – a disease that still kills millions

5 facts about tuberculosis – a disease that still kills millions

The infectious disease is one of the world's top killers, disproportionately affecting people in poorer countries, with more than 95% of TB deaths occuring in countries with low and middle incomes.
Here are 5 fast facts you may not know about the disease:

1. One-third of the world’s population is infected with TB.
2. Almost 10 million people around the world became sick with TB in 2014.
3. In the same year there were 1.5 million TB-related deaths.
4. TB is a leading killer of people who have HIV.
5. A total of 9,421 TB cases were reported in the United States in 2014. A 1.5% decline from 2013.



So, what is TB?

According to the WHO, tuberculosis is caused by airborne bacteria that most often affects the lungs. It is both curable and preventable, but in 2014 it caused the deaths of 1.5 million people.
The disease can be latent, meaning people are infected with it but have not yet fallen ill and aren't likely to transmit it. Once infected, people have a 10% risk of falling ill with TB. Those with a compromised immune system are at a higher risk.

How is the world tackling it?

Since 2000 more than 43 million lives have been saved through effective diagnosis and treatment.
Ending the TB epidemic by 2030 is a health target under the Sustainable Development Goals, following a global failure to achieve the Millennium Development Goal of reversing the TB epidemic by 2015.

Although TB occurs across the world, the largest number of new cases in 2014 occurred in South-East Asia and the Western Pacific Regions. However, Africa has the highest proportion of cases per 100,000 population.


The WHO implemented an End TB Strategy in 2014, which is described as a “blueprint for countries to end the TB epidemic by driving down TB deaths, incidence and eliminating catastrophic costs”.


วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

ใครๆก็ว่ารักษาหาย แต่ทำไมมันไม่หมดซักที และมีคนตายจากเชื้อวัณโรคมาก

วิวัฒนาการของเชื้อดื้อยา-วัณโรค
ใครๆก็ว่ารักษาหาย แต่ทำไมมันไม่หมดซักที และมีคนตายจากเชื้อวัณโรคมาก

แค่พาคนป่วยวัณโรค 1 คน บินจากรัสเซียไปรักษาที่อเมริกา ปรากฎว่าทำให้เที่ยวบินนั้น มีคนติดเชื้อวัณโรคไป 30 คน

ผู้ป่วยได้รับการแจ้งว่าติดเชื้อวัณโรค ทราบว่ารักษาหายโดยกินยาติดต่อกัน 6 เดือน ปรากฎว่าไม่หาย ต้องย้ายโรงพยาบาล และกินยาอีก 9 เดือน

จำนวนผู้ป่วยวัณโรคมีเท่าที่ตรวจพบจริงหรือเปล่า ที่ยังไม่เจอ อีกเท่าไหร่ และแพร่กระจายทางการหายใจอีกเท่าไหร่

https://www.youtube.com/watch?v=L1tXhRt3vPo

วัณโรคคืออะไร ทำไมมีโอกาสติดต่อกันได้มาก รักษาได้หายแต่ทำไมไม่ลดลง คนที่ตายจากเชื้อวัณโรคเป็นพวกไหน

12 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องหวัด และไข้หวัดใหญ่

12 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องหวัด และไข้หวัดใหญ่


คุณคิดว่ารู้จักโรคพื้นบ้านอย่าง "หวัด" กับ "ไข้หวัดใหญ่" ดีแล้วหรือ? ลองทบทวนความเชื่อเหล่านี้ดูใหม่เพื่อเสริมสร้างเกราะป้องกันหวัดกันเถอะ

ความเชื่อเกี่ยวกับหวัดและไข้หวัดใหญ่มีอยู่มากมาย เช่น เชื่อว่าวิตามินซีช่วยป้องกันหวัดได้ หรือเชื่อว่าถ้าคุณแข็งแรงแล้วก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน ความจริงก็คือความเชื่อเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป

ความเชื่อผิด ๆ 1 : ไข้หวัดใหญ่ก็คือหวัดธรรมดาฉบับอัพเกรด

ไม่จริงเลย หวัดธรรมดาสามารถเกิดจากเชื้อหลากหลาย เช่น Rhinovirus ที่เป็นสาเหตุของหวัด 30-35% ในผู้ป่วยทั้งหมด ส่วนไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามชนิด (Influenza Virus) คือมีทั้งประเภท A, B และ C และมีอาการต่างกันด้วย เช่น ไข้หวัดใหญ่จะไม่รู้สึกคัดจมูก ไอแห้ง ไม่มีเสมหะ มีไข้สูงมาก คลื่นเหียน รู้สึกหนาวสั่น อ่อนเพลีย และอาจมีระยะเวลาป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา

ความเชื่อผิด ๆ 2 : ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไม่เป็นอันตราย

เมื่อปีก่อนเราตื่นตัวกันมากกับเชื้อไข้หวัดหมู จนหลายคนลืมนึกถึงไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่อาจเป็นอันตรายได้เหมือนกัน ซึ่งคุณอาจมีอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ได้ แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติในระยะเวลาอันสั้น แต่ถ้านับเฉพาะสหรัฐฯ ที่เดียว ทุกปีจะมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ถึง 200,000 ราย และจากจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตถึง 36,000 ราย นี่พอ ๆ กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม และมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ถึงสองเท่าเชียวนะ!

ความเชื่อผิด ๆ 3 : ถ้าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วปีหน้าไม่ต้องฉีดก็ได้

นี่เป็นความเข้าใจผิด เพราะวัคซีนไข้หวัดใหญ่ต่างจากวัคซีนชนิดอื่น ที่ให้ระยะเวลาการคุ้มครองจากเชื้อโรคนานเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มระบาด จะเปลี่ยนไปทุกปี นักวิจัยจึงต้องพัฒนาวัคซีนตัวใหม่ขึ้นมาสู้ทุกปีเช่นกัน ฉะนั้น เราจึงควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีนั่นเอง

ความเชื่อผิด ๆ 4 : ถ้าเราเป็นหวัดแล้ว ในปีนั้น เราจะไม่เป็นอีก

บางคนคิดว่าพอเป็นหวัดแล้วคุณจะไม่เป็นอีกในปีนั้น และไม่ยอมไปฉีดวัคซีน แต่การติดเชื้อหวัดหรือไข้หวัดใหญ่สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อหลากหลายสาย พันธุ์ โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมักจะมีทั้ง Type A และ B ที่ระบาดในหนึ่งฤดูกาล จึงเป็นไปได้ที่คุณจะเป็นไข้หวัดใหญ่อีกครั้ง และเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ความเชื่อผิด ๆ 5 : หากเราเป็นหวัดนานแล้ว ไม่หายสักที เราอาจเป็นไซนัสอักเสบก็ได้

คนส่วนใหญ่มักจะหายจากหวัดภายใน 10 วัน แม้อาจจะมีอาการคัดจมูก ปวดศีรษะ หรือมีน้ำมูกไหลอยู่ หากคุณไม่หายจากหวัดสักที อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเป็นไซนัสอักเสบ ลองสังเกตดูว่ามีอาการไข้ย้อนรึเปล่า ซึ่งคุณอาจจะรู้สึกว่าหายเป็นปกติแล้ว แต่กลับไข้ขึ้นอีกครั้งและมีอาการหนักกว่าเดิม นี่อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียและคุณอาจต้องการยาปฏิชีวนะก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

เรื่องจริงที่หมอไม่เคยบอก...มะเร็งแพ้อะไร



เรื่องจริงที่หมอไม่เคยบอก...มะเร็งแพ้อะไร

ใครๆก็ไม่อยากเป็นมะเร็ง แต่ถ้าเกิดเป็นไปแล้ว หลายคนก็จำเป็นต้องเลือกวิธีการรักษาด้วยวิธีที่เรียกว่า “คีโม” ซึ่งพวกเรารู้ดีว่าคีโมสามารถฆ่าเชื้อมะเร็งได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องแลกมากับการเสียบางสิ่งบางอย่างในร่างกายไปด้วย วันนี้มาเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์ เรื่องจริงที่หมอไม่เคยบอกเราดีกว่า ว่าคีโมน่ากลัวมากแค่ไหน!



1. ทุกๆคนมีเซลล์มะเร็งในร่างกาย
แต่เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎหรือตรวจสอบไม่ได้จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซลล์ ซึ่งเซลล์มะเร็งอาจจะเกิดขึ้น 6-10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆหนึ่ง แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราแข็งแรงมากเพียงพอ เซลล์มะเร็งเหล่านั้นก็จะถูกทำลายหรือฝ่อไป และไม่มีการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอกต่อไป

2. มะเร็งคือความบกพร่องทางโภชนาการ
การเป็นมะเร็งสื่อได้ว่าคนๆนั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีนสิ่งแวดล้อม อาหาร และปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต
ซึ่งการจะเอาชนะภาวะบกพร่องทั้งหลายเกี่ยวกับโภชนาการได้ ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารที่รับประทาน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างที่จะช่วยเสริมให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นได้

3. คีโมเป็นพิษกับทั้งเซลล์ดีและเซลล์ไม่ดี
การทำคีโม คือ การให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลล์ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เซลล์ในไขกระดูก ระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลายไป เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด เป็นต้น

4. มะเร็งแพ้คีโม แต่ยิ่งทำนานยิ่งเป็นโทษ
การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตาม ถ้าทำไปนานๆจนถึงจุดหนึ่ง มักจะไม่พบว่ามีผลต่อการทำลายเซลล์เนื้องอกแต่อย่างใด
ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโม หรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจถูกทำลายลงได้ ดังนั้น จึงมักพบว่าผู้ป่วยอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิด และยังทำให้โรคมีความซับ ซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วย

5. มะเร็งแพ้ออกซิเจน
เซลล์มะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีออกซิเจนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การออกกำลังกายทุกวันและการหายใจลึกๆจะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้นจนลงไปถึงระดับเซลล์ และเป็นวิธีการบำบัดที่ใช้ในการทำลายเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี

6. มะเร็งแพ้อาหารแบบไหน

วิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดมะเร็ง คือ การไม่ให้เซลล์มะเร็งได้รับอาหารเพื่อเจริญเติบโต โดยอาหารที่มีผลต่อการโตของเนื้อร้าย ได้แก่

1. น้ำตาล
อาหารโปรดของเซลล์มะเร็ง ก็คือ “น้ำตาล” การตัดอาหารของมะเร็งประเภทนี้ได้จึงนับเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย หรือสารทดแทนน้ำตาลอย่าง นิวตร้าสวีต อีควล สปูนฟูล เป็นต้น

2. เกลือสำเร็จรูป
เกลือเหล่านี้ล้วนใช้สารเคมีในการฟอกขาว จึงควรเลือกบริโภค แบรก อมิโน หรือ เกลือทะเลแทน

3. นม
นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเซลล์มะเร็งจะรับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก ดังนั้น จึงควรดื่มเป็นนมถั่วเหลืองชนิดไม่หวาน เพราะจะทำให้เซลล์มะเร็งไม่ได้รับอาหาร

4. เลี่ยงเนื้อสัตว์บางชนิด
เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด ซึ่งการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดให้เกิดขึ้นในร่างกาย อีกทั้ง โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยากและต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย หรืออาจจะทำให้เกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้นได้ ดังนั้น จึงควรหันไปรับประทาน ‘ปลา’ จะดีที่สุด รองลงมา คือ เนื้อไก่ ส่วนในเนื้อวัวและเนื้อหมู อาจมียาฆ่าเชื้อหรือฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์และเชื้อปรสิตได้

5. เน้นกินผัก
ในทางตรงกันข้าม ต้องพยายามเสริมสภาวะด่างในร่างกาย โดยการทานอาหารประเภทผักสด น้ำผักผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ดถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้

6. หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา และช๊อกโกแลต
เนื่องจากอาหารพวกนี้มีคาเฟอีนสูง หากต้องการดื่มชาให้เน้นเป็นชาเขียว เนื่องจากชาเขียวมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้ ส่วนการเลือกดื่มน้ำให้ดื่มน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา

7. มะเร็งแพ้สารเสริมอาหารที่มีประโยชน์
สารอาหารบางอย่างจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยให้เซลล์ของร่างกายสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้นได้โดยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินอี ทำให้การตายของเซลล์ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่มีประโยชน์หมดออกไป เป็นต้น

8. มะเร็งแพ้จิตใจที่เข้มแข็ง
มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ การคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดปลอดภัยจากมะเร็งได้ ดังนั้น หากสามารถระงับความโกรธ รู้จักให้อภัย และกดความขมขื่นใจได้ ก็จะทำให้ร่างกายไม่ตึงเครียด ผ่อนคลาย และมีความสุขกับชีวิตได้มากขึ้น

9. เลือกวิธีรักษาผิดเสี่ยงตายได้ง่ายๆ

การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลล์มะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย ส่วนการผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลล์มะเร็งกระจายไปทั่วร่างกายได้
จะเห็นได้ว่า การเป็นมะเร็งสามารถหายได้หากได้รับการรักษาหรือดูแลที่ถูกวิธี และจะต้องคอยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของตัวเองอยู่เสมอด้วย…เพียงเท่านี้มะเร็งก็ไม่น่ากลัวแล้ว

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Plasmacluster air sterilizer ในการป้องกันการรับเชื้อวัณโรค สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

วัณโรคเป็นปัญหาระดับชาติ ไม่ได้เฉพาะกับคนไข้ที่ติดเชื้อเท่านั้น ลามระบาดไปยังคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค ที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ในรูปของการหายใจ ไอ จาม

นอกเหนือไปจากนี้ เชื้อวัณโรคยังมีการพัฒนาต้านทานยารักษา และฝังตัวอยู่ในร่างกายคนได้นานถึง 15 ปี เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ก็ออกมาแสดงฤทธิ์เดชได้

เชื้อวัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Mycobacterium Tuberculosis ที่สามารถรักษาได้ ด้วยการกินยาทุกวันต่อเนื่องนาน 6 เดือน แต่พบว่าผู้ป่วยละเลยการรักษา หรือกินยาไม่ต่อเนื่อง มีผลให้การแพร่เชื้อวัณโรคเกิดขึ้นยังบุคคลอื่น รวมถึงการที่เชื้อดื้อยา เริ่มพบมากขึ้น

การทดสอบโดย WHO Global Health Workforce Alliance National Center of Tuberculosis and Lung Diseases ในประเทศ Georgia ร่วมกับ บริษัท ชาร์ป เป็นการทดสอบความสามารถของเทคโนโลยี่พลาสม่าคลัสเตอร์ ที่มีต่อการป้องกันลดความเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

ทดสอบด้วยการติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ ที่รักษาระดับไอออนเฉลี่ยที่เข้มข้นระดับ 100,000 ions/cc. ในชั้นที่ทดสอบ โรงพยาบาลรักษาคนไข้วัณโรค ตรวจเช็คเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยการตรวจเชื้อวัณโรคแบบ QFT จำนวน 88 คน พบว่ามี 32 คนที่ไม่มีผลบวกต่อการตรวจหาเชื้อ ได้แยกกลุ่มเจ้าหน้าที่ตัวอย่างมาทำงาน ในพื้นที่ปรกติ เทียบกับ ในพื้นที่ๆมีเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้นติดตั้งอยู่่

พบว่า ในพื้นที่ทำงานปรกติ มีเจ้าหน้าที่ที่ตรวจพบผลบวกต่อเชื้อ มากกว่า ในพื้นที่ทำงานติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น โดยลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค ได้ถึง 75% ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ทดสอบทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบว่า ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น ส่งผลอย่างไรต่อเชื้อวัณโรคที่ดื้อยา

แพทย์วิจัยได้ทำการคัดเลือก คนไข้ที่มีเชื้อวัณโรค 49 คนจาก 155 คน หลังจากที่มีการทำ Drug Susceptibility Testing (DST) ยืนยัน 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน ในจำนวน 49 คนนี้ พบว่า คนไข้วัณโรคที่อยู่ในพื้นที่ปรกติ มีเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาสูงกว่า คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น

โดยเทียบผลลัพธ์ออกมาคือ พื้นที่ทำงานติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น จะป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาได้ 78%