วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

Plasmacluster air sterilizer ในการป้องกันการรับเชื้อวัณโรค สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล

วัณโรคเป็นปัญหาระดับชาติ ไม่ได้เฉพาะกับคนไข้ที่ติดเชื้อเท่านั้น ลามระบาดไปยังคนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค ที่แพร่กระจายได้ทางอากาศ ในรูปของการหายใจ ไอ จาม

นอกเหนือไปจากนี้ เชื้อวัณโรคยังมีการพัฒนาต้านทานยารักษา และฝังตัวอยู่ในร่างกายคนได้นานถึง 15 ปี เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ก็ออกมาแสดงฤทธิ์เดชได้

เชื้อวัณโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Mycobacterium Tuberculosis ที่สามารถรักษาได้ ด้วยการกินยาทุกวันต่อเนื่องนาน 6 เดือน แต่พบว่าผู้ป่วยละเลยการรักษา หรือกินยาไม่ต่อเนื่อง มีผลให้การแพร่เชื้อวัณโรคเกิดขึ้นยังบุคคลอื่น รวมถึงการที่เชื้อดื้อยา เริ่มพบมากขึ้น

การทดสอบโดย WHO Global Health Workforce Alliance National Center of Tuberculosis and Lung Diseases ในประเทศ Georgia ร่วมกับ บริษัท ชาร์ป เป็นการทดสอบความสามารถของเทคโนโลยี่พลาสม่าคลัสเตอร์ ที่มีต่อการป้องกันลดความเสี่ยงของการติดเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

ทดสอบด้วยการติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ ที่รักษาระดับไอออนเฉลี่ยที่เข้มข้นระดับ 100,000 ions/cc. ในชั้นที่ทดสอบ โรงพยาบาลรักษาคนไข้วัณโรค ตรวจเช็คเจ้าหน้าที่ทำงานด้วยการตรวจเชื้อวัณโรคแบบ QFT จำนวน 88 คน พบว่ามี 32 คนที่ไม่มีผลบวกต่อการตรวจหาเชื้อ ได้แยกกลุ่มเจ้าหน้าที่ตัวอย่างมาทำงาน ในพื้นที่ปรกติ เทียบกับ ในพื้นที่ๆมีเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้นติดตั้งอยู่่

พบว่า ในพื้นที่ทำงานปรกติ มีเจ้าหน้าที่ที่ตรวจพบผลบวกต่อเชื้อ มากกว่า ในพื้นที่ทำงานติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น โดยลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อวัณโรค ได้ถึง 75% ของกลุ่มเจ้าหน้าที่ทดสอบทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังได้ทดสอบว่า ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น ส่งผลอย่างไรต่อเชื้อวัณโรคที่ดื้อยา

แพทย์วิจัยได้ทำการคัดเลือก คนไข้ที่มีเชื้อวัณโรค 49 คนจาก 155 คน หลังจากที่มีการทำ Drug Susceptibility Testing (DST) ยืนยัน 2 ครั้ง ห่างกัน 3 เดือน ในจำนวน 49 คนนี้ พบว่า คนไข้วัณโรคที่อยู่ในพื้นที่ปรกติ มีเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาสูงกว่า คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น

โดยเทียบผลลัพธ์ออกมาคือ พื้นที่ทำงานติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์เข้มข้น จะป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาได้ 78%

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น