วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน

ตัวเลขที่ไม่ขึ้นทะเบียน น่าเป็นห่วง เพราะวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อกันทางอากาศ ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: WHO จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค”
“องค์การอนามัยโลก” จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค” คาดยอดผู้ป่วยสะสม ในกรุงเทพฯ 1.4 หมื่นคน
ธ.ค.59 - นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม. ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้นที่กรุ งเทพฯ พร้อมทั้งเป็นประธานการประชุมรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากา รดำเนินงานวัณโรคของสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือแนวทางการมุ่งสู่ยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบด้วย Dr.Paul Nunn Dr.C.N.Paramasivan Dr.Muta Shama และ Dr.Daniel Kertesz และหน่วยงานในกทม. ประกอบด้วย สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้ นที่กรุงเทพฯ ของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2559 ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในสถานพยาบาล 6 แห่ง ประกอบด้วย สถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 (ลาดพร้าว) โรงพยาบาลกลาง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี และสถานพยาบาลเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
รายงานข่าวระบุว่า ผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้แนะนำแนวทางการดำเนินงาน 4 ข้อ ดังนี้
1.ให้มีระบบรายงานผู้ป่วยให้มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น
2.ควรมีการสนับสนุนระบบส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องในสถานพยาบาล อื่นๆ ที่ครอบคลุมผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งกทม.ได้จัดตั้งศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคตั้งอยู่ที่ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางแพทย์สัมพันธ์ สำนักอนามัย
3.มีการดูแลผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการดูแลรักษา และ
4.มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้ติดยาเสพติด
“สำหรับประมาณการผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน โดยจากนี้ กทม.จะได้นำไปเป็นแนวทาง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” รายงานข่าว ระบุ
http://www.komchadluek.net/news/regional/252561

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เรื่องแมว แมว ที่ทำให้คนแพ้ !!!

เรื่องแมว แมว ที่ทำให้คนแพ้ !!!

ผลสำรวจของ American College of Allergy, Asthama and Immunology มีคนประมาณ 10% ที่มีอาการแพ้สัตว์เลี้ยง และมีคนที่แพ้แมวมากเป็น... 2 เท่าของสุนัข และสำหรับเด็กอายุ 6 - 19 ปี มีเด็กประมาณ 1 ใน 7 ที่แพ้แมว
ความจริงแล้ว ไม่ใช่ขนแมวที่ทำให้เกิดอาการแพ้ คนที่แพ้แมวเกือบทั้งหมด แพ้โปรตีน Felis domesticus allergen 1 เรียกย่อๆ ว่า Fel d 1 ที่อยู่ในผิวหนังของแมว

สาเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้แมวมากกว่าสุนัข เพราะขนาด และรูปร่างของอนุภาคโปรตีน Felis domesticus allergen 1 เรียกย่อๆ ว่า Fel d 1 ที่เล็ก และเบามาก มันมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นฝุ่น Fel.d1 จะมีอยู่ในน้ำลายและผิวหนังของแมวทุกตัว และสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมง แถมยังเหนียวหนึบ

สามารถเกาะติดกับผิวหนังมนุษย์ เสื้อผ้า และติดอยู่อย่างนั้นได้เป็นเวลานาน ทำให้สารก่อภูมิแพ้ของแมวมีอยู่ทั่วไป แม้ในสถานที่ที่ไม่มีแมวอย่าง ห้องเรียน คลินิก ทีนี้พอจะนึกออกหรือยังว่าเราแพ้ขนแมวได้ยังไง ก็เมื่อแมวเลียตัวเอง Fel.d1 ก็จะเคลือบอยู่ที่เส้นขนของแมว ดังนั้นไม่ว่าแมวขนสั้น ขนยาว หรือแมวไม่มีขน คุณก็เกิดอาการแพ้ได้อยู่ดี และสารตัวนี้ยังสะสมอยู่ได้นาน 5-6 เดือนเลยเชียวและแมวตัวผู้ โดยเฉพาะแมวที่ไม่ถูกตอน จะผลิต Fel d 1 มากกว่าแมวตัวเมีย อันเป็นผลมาจากฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
อาการของโรคภูมิแพ้คงไม่ต้องบอกอะไรมาก โดยมากจะรู้ๆกันอยู่ เช่น คันตามผิวหนัง คันตา คันจมูก จาม น้ำมูกไหล ไปจนถึงหายใจไม่ออก เป็นหอบหืด หายใจไม่ออก

แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) จัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ

โดยทั่วไปมีการแบ่งพันธุ์แมวออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ แมวขนยาว (longhaired cat) และ แมวขนสั้น (shorthaired cat) แมวในโลกนี้มีมากมายหลายพันธุ์ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงหรือที่เราเรียกว่า Domestic cat นั้นมีวิวัฒนาการมาจากแมวป่าในธรรมชาติจากหลายภูมิภาคของโลก

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โซนทำลายเชื้อโรคทางอากาศ Plasmacluster zone เหมาะสำหรับคนที่ไม่ควรเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ

โซนทำลายเชื้อโรคทางอากาศ
Plasmacluster safety zone

สามารถทำได้เอง กำหนดพื้นที่ตามที่ต้องการ ใช้ในโรงพยาบาล โรงงาน โรงเรียน ที่ทำงาน บ้าน แม้กระทั่ง เตียงนอน
Plasmacluster zone เหมาะสำหรับคนที่ไม่ควรเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ คนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เช่น ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ผู้ที่อยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคทางเดินหายใจ

โซนทำลายเชื้อโรคทางอากาศ เป็นโซนที่เกิดขึ้นจากการเปิดเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศ ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ (Plasmacluster air sterilizer) ทำให้โซนที่ถูกกำหนดไว้ มีปริมาณไอออนลอยอยู่เป็นจำนวนมาก ไอออนเหล่านี้ถูกผลิตพ่นออกมาจากเครื่องอย่างต่อเนื่อง

พลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนที่ล่องลอยในโซนนี้ จะทำลายเชื้อโรคทันที ที่เชื้อโรคเข้ามาปรากฎในโซน ไม่ว่าจากการหายใจ ไอ จาม จากคน หรือ ลมจากท่อปรับอากาศส่วนกลาง ที่ย่างกรายเข้ามาใน Plasmacluster zone แม้กระทั่งเชื้อโรคที่ติดตามผิวหนัง เสื้อผ้า ก็จะถูกพลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนทำลายทันทีที่เข้ามาในโซน
.
Plasmacluster zone มีประโยชน์ในการใช้ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคในระยะประจันหน้า ณ จุดปะทะ (ระบบกรองอากาศ หรือ UV ไม่สามารถทำได้) ... จากการศึกษาพบว่า ถึงเราจะทำความสะอาดห้องหรือสถานที่ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ เปิด UV เข้มข้น แล้วก็ตาม ห้องเหล่านี้ก็สะอาดในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เมื่อมีคนเข้ามา คนนี่แหละเป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าในห้องอีกครั้ง เชื้อโรคจะติดตามตัวมา หรือ การไอ จาม หายใจ ภายในห้อง ทำให้เชื้อโรคกระจายได้ใหม่ทั่วห้อง ซึ่งไม่มีอาวุธอะไรมาจัดการมัน
... อีกแหล่งเชื้อโรคหนึ่งคือ ท่อปรับอากาศส่วนกลาง ที่พ่นลมเย็นเข้ามาในแต่ละห้อง เป็นท่อกระจายเชื้อโรคดีๆนี่เอง ที่เกิดจากส่วนของมันเองที่เชื้อราเชื้อแบคทีเรียเข้ามาเจริญเติบโตภายในท่อหล่อเย็น หรือ เกิดจากเชื้อโรคที่แพร่จากคนเป็นพาหะ จากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่ง
... “ป้องกัน” ดีกว่า “รักษา” ถ้าเป็นแล้วแย่ จะแก้ไม่ทัน
.
โซนพลาสม่าคลัสเตอร์เหมาะกับการใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อโรคสูง หรือ จุดที่มีการเผชิญหน้ากันของคนทำงาน หรือ ต้องการให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรคต่ำสุด เช่น โรงพยาบาล (โดยเฉพาะ OPD/ER/ENT) , โรงงาน โรงเรียน , office building , โรงแรม
.
Plasmacluster zone สามารถสร้างครอบคลุมพื้นที่ได้ทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็น 9 ตร.ม. หรือ มากกว่า 2000 ตร.ม. ตามรูปแบบหลากหลายของอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้ง ณ จุดตรวจ วางบนโต๊ะ วางบนพื้น แขวนผนัง ติดตั้งในปลายท่อลม โดยสามารถสร้างโซนครอบคลุมได้ในพื้นที่ระบบเปิดหรือปิดอากาศก็ได้
.
ผลการทดสอบจาก 28 สถาบันวิจัยนานาชาติ พลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนสามารถทำลายเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย รวมถึง เชื้อรุนแรงต่างๆ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อวัณโรค ด้วยการทำลายเปลือกผิวนอกของเชื้อโรค
.
งานวิจัยล่าสุดจากโรงพยาบาลวัณโรคจอร์เจีย เครือข่ายขององค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่า Plasmacluster HD 100000 ลดความเสี่ยงลดจำนวนบุคลากรการแพทย์ที่จะติดเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลวัณโรค ได้ถึง 4 เท่าตัว
.
พลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนจะทำลายผิวนอกของเชื้อโรคทันทีที่ปะทะกัน แต่เราก็ต้องคำนึงถึงความรวดเร็วและระยะห่างด้วย ความเข้มข้นของพลาสม่าคลัสเตอร์ไอออนที่สูงๆเป็นตัวแปรของประสิทธิภาพ ให้สูงตามด้วย
.
การนำ Plasmacluster ใช้ตามบ้าน แค่ระดับความเข้มข้น 7000 ก็อาจเพียงพอ แต่หากมาใช้ในพื้นที่เสี่ยงสูง ควรใช้ Plasmacluster HD อย่างน้อย 25000 ไอออนต่อซีซี
.
เคยมีการศึกษาความเสี่ยงของบุคลากรแพทย์ในโรงพยาบาล พบว่าพยาบาลเป็นคนที่เสี่ยงติดเชื้อวัณโรณสูงสุด รองลงมาคือหมอ ... แผนกที่พบการติดเชื้อวัณโรคเป็นอันดับแรกคือ แผนกOPD , Med , ER , ENT ตามลำดับ ... การนำโซนพลาสม่าคลัสเตอร์ มาใช้ป้องกันเชิงรุก เป็นสิ่งที่ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อโรคจากคนภายนอกหรือผู้ป่วยได้ดีที่สุด
.
Plasmacluster air sterilizer HD มีค่าอะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนตามอายุใช้งานที่ต่ำมาก ชุดสร้างไอออนเป็นสิ่งเดียวที่ต้องเปลี่ยน หลังจากใช้งานเกิน 17,500 ชั่วโมง (ใช้งานได้ ปี หากเปิดเครื่องวันละ ชั่วโมง)
.
ปัจจุบัน แนวการสร้าง Plasmacluster zone ถูกนำไปใช้สร้างโซนดังกล่าว ในโรงพยาบาล โรงงาน โรงเรียน ที่ทำงาน สถานเลี้ยงเด็ก สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ หน่วยงานราชการ ศาล คลีนิคทันตแพทย์ โรงพยาบาลสัตว์ เพื่อปกป้องลดความเสี่ยงต่อคนของตัวเอง ต่อการรับเชื้อโรคทางอากาศ ไม่ว่าจากคนนอก หรือผู้ป่วย ที่นำเข้ามาสถานที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้





วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การทดสอบที่เหลือเชื่อ...พลาสม่าคลัสเตอร์ เป็นเครื่องมือเดียวที่ถูกพิสูจน์ว่าป้องกันการเสี่ยงรับเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล

ประสิทธิภาพเทคโนโลยี่พลาสม่าคลัสเตอร์ในการลด                         
ความเสี่ยงบุคลากรต่อการติดเชื้อวัณโรคในโรงพยาบาล                      

Plasmacluster Technology Proven to Decrease

Risk of Tuberculosis Infection in Tuberculosis Hospital

อุปกรณ์ทดสอบ
เครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศ พ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์เฉลี่ย 100,000 ไอออนต่อซีซี จำนวน 140 เครื่อง ถูกติดตั้งบนวอร์ดที่กำหนดทั้งในห้องและบริเวณทางเดินอาคาร

วิธีการทดสอบ
ตรวจเช็คผลที่ต้องการประเมิน เปรียบเทียบระหว่าง วอร์ดที่ติดตั้งเครื่องพลาสม่าคลัสเตอร์ กับ วอร์ดที่ไม่ได้ติดตั้ง
1.            
บุ     บุคลากรที่ทำงานบนวอร์ด 88 คน ถูกนำเลือดมาตรวจสอบเชื้อวัณโรคด้วยวิธี QuantiFERONR-TB Gold In-Tube (QFT)  หาคนติดเชื้อชนิด Latent Tuberculosis Infection (LTBI)  ปรากฎว่ามีจำนวน 32 คน ที่ตรวจไม่พบเชื้อ (QFT Negative)   หลังจากทำงานบนวอร์ดตามปรกติ 6-8 เดือน ไปแล้ว  ก็นำเจ้าหน้าที่ 32 คนนั้นมาตรวจ QFT อีกครั้ง

Ward
จำนวนเจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ทั้งหมด
Odds
QFT Negative
QFT Positive
ติดตั้ง Plasmacluster
10
1
11
0.10
ไม่ติดตั้ง Plasmacluster
15
6
21
0.40



32

 คำนวณทางสถิติออกมาแล้ว วอร์ดที่ติดตั้งอุปกรณ์ สามารถลดความเสี่ยงของบุคลากรโรงพยาบาลในการติดเชื้อวัณโรคชนิด Latent Tuberculosis infection ได้  75% เมื่อเทียบกับวอร์ดที่ไม่ได้ติดตั้ง
2.       
    
       นำเชื้อวัณโรคที่ได้จากคนไข้ 155 ราย มาทำ Drug Susceptibility Testing (DST) หลังจากผ่านไป 3 เดือน  ตรวจพบคนไข้ 49 รายที่ยังมีผล DST positive อยู่ นำมาตรวจหา Acquired drug resistance (ADR) ว่ามีกี่รายที่พบเชื้อวัณโรคดื้อยา

                Ward
จำนวนเจ้าหน้าที่

เจ้าหน้าที่ทั้งหมด
Risk
ADR No
ADR Yes
ติดตั้ง Plasmacluster
25
1
26
3.8%
ไม่ติดตั้ง Plasmacluster
19
4
23
17.4%



49

คำนวณทางสถิติออกมาแล้ว วอร์ดที่ติดตั้งอุปกรณ์ ลดการเกิดเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาได้  78% เมื่อเทียบกับวอร์ดที่ไม่ได้ติดตั้ง

ความคิดเห็นของทีมวิจัย
มาตราการณ์ป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคได้ถูกกำหนดให้ใช้มานาน อาทิเช่น การระบายอากาศ , UV   ถูกนำมาใช้เบื้องต้นในโรงพยาบาลทั่วไป  งานวิจัยที่ค้นพบใหม่ๆของเทคโนโลยี่พลาสม่าคลัสเตอร์นี้  จะเป็นการเพิ่มทางเลือกที่เป็นโอกาสสำคัญในอนาคต อันจะป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคในโรงพยาบาลที่มีปัญหาและความเสี่ยงสูง
***************************************************************************

References  : 
·         Acquired drug resistance among TB patients undergoing treatment at NCTLD hospital within different exposure levels of plasmacluster, No. 2083101-17. National Center For Tuberculosis and Lung Diseases, Tbilisi.
·         Acquired rate of infection among NCTLD staff within different exposure levels of SHARP plasmacluster equipment, No. 687101-17. National Center For Tuberculosis and Lung Diseases, Tbilisi.
·         Sharp news release about Plasmacluster technology prevent to decrease risk of tuberculosis infection in tuberculosis hospital for the first time. Sep 8 ,2016.
·         Sharp Corporation , in corperation with WHO Global Health Workforce Alliance National Center of Tuberculosis and Lung Disease in Tbilisi, Georgia.

·         สถาบันวิจัย National Center of Tuberculosis and Lung Diseases (NCTLD)
เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งปี 2001 หน่วยงานอยู่ที่ประเทศจอร์เจีย  ดำเนินการเกี่ยวกับด้านวิจัยเชื้อวัณโรคระดับนานาชาติ 
ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เชื้อวัณโรค  การรักษาคนไข้วัณโรค  ตลอดจนการป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรค 

·         Plasmacluster is a trademark of Sharp Corporation.

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

WHO ประเมินว่า แต่ละปีจะมีประชากรโลกกว่า 6 ล้านคนที่เสียชีวิตจากการสัมผัสมลภาวะ ทั้งในและนอกอาคาร

WHO เตือนประชากรโลกกว่า 90% กำลังสูดอากาศที่เป็นพิษเกินมาตรฐาน

เอเอฟพี - องค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงเตือนวันนี้ (27 ก.ย.) ว่าประชากรโลก 9 ใน 10 คนกำลังหายใจเอาอากาศคุณภาพแย่เข้าไปในปอดทุกๆ วัน พร้อมเรียกร้องให้นานาชาติเร่งหามาตรการต่อสู้ปัญหามลพิษ ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านคนต่อปี มาเรีย ไนรา หัวหน้าสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ WHO ชี้ว่า ข้อมูลในรายงานชิ้นนี้ “เพียงพอที่จะทำให้เราทุกคนต้องรู้สึกกังวลอย่างมาก”

ผู้เชี่ยวชาญของ WHO ระบุว่า ปัญหามลพิษค่อนข้างรุนแรงเป็นพิเศษในเมืองใหญ่ๆ ทว่า ในเขตชนบทเองก็ใช่จะมีอากาศบริสุทธิ์อย่างที่หลายคนคิด รายงานชี้ว่า กลุ่มประเทศยากจนมีคุณภาพอากาศต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว “แต่ในทางปฏิบัติ มลพิษส่งผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก และทุกช่วงชั้นของสังคม”

“นี่คือภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข... ทั่วโลกยังไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษได้อย่างรวดเร็วพอ” ไนรา กล่าว พร้อมเตือนให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งออกมาตรการลดปริมาณยานพาหนะบนท้องถนน ปรับปรุงวิธีจัดการขยะ และส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงหุงต้มที่สะอาด ผลวิจัยซึ่งสรุปจากการรวบรวมข้อมูลจากสถานที่กว่า 3,000 แห่งทั่วโลก พบว่า “ประชากรโลกร้อยละ 92 อาศัยอยู่ในสถานที่ซึ่งมีมลพิษในอากาศสูงกว่ามาตรฐานของ WHO”

ข้อมูลชุดนี้เน้นไปที่ค่า PM2.5 ซึ่งหมายถึงฝุ่นละเอียดที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมโครมิเตอร์

PM2.5 ประกอบไปด้วยสสารที่เป็นพิษ เช่น ซัลเฟต และคาร์บอนสีดำ ซึ่งสามารถเข้าไปสะสมในปอดและระบบการทำงานของหัวใจได้

อากาศที่มีปริมาณ PM2.5 เกินกว่า 10 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรโดยเฉลี่ยต่อปี ถือว่าไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย

ในบางภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญมีทั้งข้อมูลดาวเทียมประกอบกับการวัดค่า PM2.5 บริเวณพื้นดิน ทว่าในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลภาคพื้นดินได้ WHO จึงต้องใช้วิธีคาดการณ์อย่างหยาบๆ

WHO ประเมินว่า แต่ละปีจะมีประชากรโลกกว่า 6 ล้านคนที่เสียชีวิตจากการสัมผัสมลภาวะ ทั้งในและนอกอาคาร โดยข้อมูลเกี่ยวกับมลพิษนอกอาคารนั้นค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 3 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม มลพิษในอาคารก็มีอันตรายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะตามบ้านเรือนที่ฐานะยากจนซึ่งมักใช้ถ่านไม้เป็นเชื้อเพลิงประกอบอาหาร

WHO พบว่า การเสียชีวิตจากมลพิษในอากาศเกือบร้อยละ 90 เกิดขึ้นในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้น้อย-ปานกลาง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก ประเทศที่เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย และเวียดนาม

การ์โลส โดรา ผู้ประสานงานจากสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของ WHO ชี้ว่า ยุทธศาสตร์ที่บางประเทศใช้รับมือปัญหามลพิษนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร ตัวอย่างเช่น การแจ้งเตือนคุณภาพอากาศรายวันในกรุงปักกิ่งก็แทบจะไม่มีผลในการปกป้องสุขภาพประชากรส่วนใหญ่ เนื่องจากอันตรายที่แท้จริงนั้นเกิดจากการสูดอากาศที่มีมลพิษเกินมาตรฐานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ

โดรา ระบุด้วยว่า การเก็บตัวอยู่ในอาคารในวันที่อากาศเป็นพิษไม่ช่วยอะไรได้มากนัก นอกจากนี้ WHO ยังไม่พบหลักฐานยืนยันว่า การสวมหน้ากากอนามัยสามารถกรองมลพิษในอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง

”วัณโรคในเด็ก” วัยซนต่ำกว่า 5 ขวบ เสี่ยงที่สุด!

วัณโรคในเด็กวัยซนต่ำกว่า 5 ขวบ เสี่ยงที่สุด!

วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจที่เราได้ยินกันมานาน โดยโรคนี้ทำให้เกิดปอดอักเสบ และก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจนถึงแก่ชีวิตได้ เหล่าคุณแม่ควรจะมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคนี้ไว้ เพราะผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นวัณโรคปอดได้ง่ายที่สุด คือ กลุ่มเด็กวัยซนที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี


วัณโรค” (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดต่อชนิดเรื้อรัง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า มัยโคแบคทีเรียม ทิวเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) เด็กที่เป็นโรคนี้ส่วนมากจะติดจากผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นวัณโรค ทางการไอ จาม หรือหายใจรดกัน โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่ที่ร่างกายแข็งแรง หากได้รับเชื้อร่างกายจะควบคุมเชื้อวัณโรคได้ แต่สำหรับเด็กเล็กซึ่งมีภูมิคุ้มกันไม่เท่าผู้ใหญ่ หรือขณะที่ได้รับเชื้อมีร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัว ก็จะทำให้ป่วยเป็นวัณโรคได้ง่าย ผู้ป่วยวัณโรคจะมีอาการไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ส่วนอาการเฉพาะที่ เช่น ไอเรื้อรัง เจ็บหน้าอก หอบ พบได้ประมาณร้อยละ 50 โดยอาการทางปอดอาจไม่เด่นชัดนัก บางรายอาจจะมีก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองที่โตขึ้น หรือท้องใหญ่ขึ้นจากการที่มีตับหรือม้ามโต

สำหรับการป้องกันโรคนี้ คือ หลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปตามแหล่งชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล หากบุคคลใกล้ชิดในบ้านป่วยเป็นวัณโรค ต้องพาเด็กในบ้านหรือเด็กที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรคไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยวัณโรค ว่าจะมีอาการหรือไม่ เพราะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะรับเชื้อได้ง่าย แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัย รักษาและให้ยาป้องกันโรคได้ทันท่วงที จริงๆ แล้วเพื่อความปลอดภัย หากสมาชิกในบ้านเป็นวัณโรค ก็ควรพาเจ้าตัวเล็กไปเช็คร่างกายกับคุณหมอ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีอาการใดๆ ที่บ่งชี้ว่าเกิดการติดเชื้อ เพราะโรคนี้เด็กเล็กติดเชื้อได้ง่ายมาก)
การให้วัคซีนบีซีจี (BCG) ตั้งแต่แรกเกิด แม้จะสามารถช่วยป้องกันวัณโรคเยื่อหุ้มสมอง แต่ยังมีโอกาสเป็นวัณโรคได้


นอกจากนี้ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่ได้ผลดี โดยให้ยาร่วมกันหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและลดอัตราการดื้อยา ที่สำคัญคือต้องกินยาต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีโปรตีนและมีวิตามินบีสูง