วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

คนมักเข้าใจผิดว่ารังสียูวีคือแสงแดด จริงๆแล้วไม่มีแสงแดดก็มีรังสียูวีได้

คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าวันที่มีเมฆหมอก ฝนตกหรือหน้าหนาว จะไม่มีแสงแดดมาทำอันตรายผิว
แต่ความจริงแล้ว รังสี UV ก็ส่องผ่านมายังผิวหนังได้เช่นกัน อาจทำให้ผิวไหม้มากกว่าปกติด้วยซ้ำ เพราะคนไม่ระวังตัว

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ UV ที่มาจากดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดอันตรายต่อผิวหนังและเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งมะเร็งชนิดนี้พบเพียงร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด พบมากในเพศชายมากกว่าหญิง และกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โดยที่พบบ่อย มี 3 ชนิด คือ

1) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า มีลักษณะเป็นตุ่มนูนใส ขอบม้วน อาจมีสีดำหรือแตกเป็นแผล พบบ่อยบริเวณที่ถูกแดด เช่น ใบหน้า ใช้ระยะเวลานานในการแพร่กระจายโรค

2) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า มีสัญลักษณ์นูน แดง ผิวหนังแตกเป็นแผล เลือดออกง่าย พบบริเวณใบหน้า ริมฝีปาก ขอบใบหู สามารถแพร่กระจายจากบริเวณหนึ่งไปอีกบริเวณหนึ่งได้ เติบโตและขยายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วและลึกกว่ามะเร็งผิวหนังชนิดแรก

3) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี มีลักษณะคล้ายไฝหรือขี้แมลงวันหรือเป็นจุดดำบนผิวหนัง ไฝบนฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใต้เล็บ มีโอกาสเป็นมากกว่าที่อื่นๆ สัญญาณอันตรายของมะเร็งผิวหนังชนิดนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงของผิว ไฝ ขี้แมลงวัน เช่น มีการตกสะเก็ด ลอก หรือมีอาการปวด มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลเยิ้ม มีตุ่มนูนเกิดขึ้นข้างๆ มีการแพร่กระจายของเม็ดสีไปรอบๆ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของไฝหรือขี้แมลงวัน หากพบว่าผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

อันตรายจาก รังสียูวี และแสงต่างๆ ที่ไม่ควรมองข้าม!

อันตรายจาก รังสียูวี และแสงต่างๆ ที่ไม่ควรมองข้าม!

รังสียูวีไม่ได้มีแต่ในแสงแดดเท่านั้น รังสียูวียังเกิดขึ้นในที่ทำงานหรือบ้านด้วย ใครเล่าจะนึกถึง อาทิเช่น จากจอคอมพิวเตอร์ จากเครื่องถ่ายเอกสาร จากโทรทัศน์ จากหลอดไฟ 

ความเข้มข้นของรังสียูวีจากอุปกรณ์ภายในบ้านและบริษัท อาจต่ำกว่าก็ตาม แต่ก็มีผลต่ออาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับรังสียูวีจากแสงแดด อาทิเช่น การทำให้ผิวเหี่ยวย่น จุดเริ่มของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง การทำลายเนื้อเยื่อตา

การป้องกันรังสียูวีในบ้านหรือที่ทำงาน จำเป็นต้องคำนึงถึงการใช้แว่นกรองสะท้อนรังสียูวี และครีมสะท้อนรังสียูวี

รังสี UV และผิวของคุณ

ผิวนั้น ในขณะที่เป็นตัวปกป้องร่างกายจากโรคภัยและ ผู้บุกรุก ก็ยังอ่อนแอพอที่จะถูกทำร้ายโดยการได้รับรังสีUVเป็นเวลานานๆตลอดช่วงชีวิตของเรา เมื่อพวกเราได้รับรังสี UVA, UVBไม่ว่าจะจากพระอาทิตย์หรือที่อื่น กลไกการป้องกันของร่างกายจะพยายามปกป้องผิวด้วยการเริ่มกระบวนการผลิตเม็ดสี เมลาโนไซต์ (Melanocytes) ซึ่งอยู่ในชั้นล่างสุดของผิวหนังชั้นนอกและทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีผิวที่ชื่อว่าเมลานีน (Melanin) เม็ดเมลานีนถูกเก็บเป็นกลุ่มอยู่ในเมลาโนโซม (melanosomes) ซึ่งโยกย้ายอยู่ในชั้นพื้นผิวของผิวหนังอย่างเช่นเซลล์ผิวหนังที่หลุดลอกไปตามธรรมชาติ สีน้ำตาลที่เห็นได้ชัดนี้เป็นหลักฐานของผิวที่ถูกทำร้าย ถ้าหากผิวคุณไหม้ นั่นแสดงว่ารังสี UVBได้แทรกซึมลงเข้าผิวหนังชั้นบน และก่อให้เกิดความเสียหายในเซลล์ อาการผิวไหม้คือผิวหนังที่มีสีแดงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นว่าร่างกายได้เร่งการหมุนเวียนของเลือดไปสู่เส้นเลือดฝอยเพื่อฟื้นฟูผิวหนังจากความเสียหาย

รังสี UV เป็นต้นเหตุของความเสียหายมากสุดในการสร้างอนุมูลอิสระ ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่าอนุมูลอิสระเป็นตัวก่อกวนการทำงานของเซลล์ปกติในร่างกายของเรา อนุมูลอิสระนั้นคือโมเลกุนที่ไม่เสถียรอย่างมากเพราะมีอีเล็กตรอน (electron) ไม่ครบคู่ เพื่อจะทำให้อนุมูลอิสระเสถียร, อนุมูลอิสระจะไปดึกอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นเพื่อมาจับคู่กับอิเล็กตรอนไร้คู่ของตัวเอง ซึ่งก่อเกิดเป็นปฏิกริยาลูกโซ่ที่ทำให้การทำงานของเซลล์แย่ลง ทำความเสียหายให้แก่โครงสร้างเซลล์ และปรับเปรียนดีเอ็นเอของเซลล์

ในกระบวนการนี้ อนุมูลอิสระจะทำลายเซลล์สร้างเส้นใย ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่ในการสร้างคอลลาเจน และอีลาสติน คอลลาเจนเป็นโครงสร้างโปรตีนที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่ผิว เมื่อผิวนั่นถูกทำร้ายด้วยรังสี UV เอ็นไซม์จะพยายามซ่อมแซมคอลลาเจนที่ได้รับผลกระทบ ถ้าความเสียหายนั้นมากเกิน เส้นใยจะถูกทำลายและนำไปผลิตคอลลาเจนใหม่ ในขณะเดียวกันรังสี UV สามารถก่อให้เกิดการสะสมอีลาสตินย่างผิดปกติ อิลาสตินคือเส้นใยโปรตีนอีกประเภทที่ทำให้ผิวสามารถคงรูปไว้ได้  อนุมูลอิสระลดประสิทธิภาพของเซลล์ในการผลิตโปรตีนสำคัญของผิว และสร้างความเสียหายให้แก่ผิวและเกิดความเสียหายของผิวจากแสงแดด(photo aging)ในรูปแบบของริ้วรอย ความหยาบกร้าน ความแห้งและสีผิวไม่สม่ำเสมอ

รังสียูวีนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ โดยรังสียูวีในขนาดต่ำๆ จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไปรังสียูวีบีจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผิวไหม้แสบลอก ผิวหมองคล้ำ

       ส่วนรังสียูวีเอ เมื่อได้ผ่านลงไปได้ถึงชั้นหนังแท้ และได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำลายไฟโบรบลาสต์ จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำกดภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ตามมาด้วยเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้ โดยผู้ที่มีผิวขาวจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากมีเมลานินที่ช่วยปกป้องอยู่น้อยกว่านั่นเอง

       นอกจากนี้รังสียูวียังส่งผลก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาด้วย แต่มีผลค่อนข้างน้อย ถ้าได้รับรังสียูวีความเข้มสูง จะเกิดกระจกตาอักเสบมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ส่วนระยะยาวจะเกิดต้อลม ต้อกระจก ในอนาคตจอตาอาจเสื่อมได้

        ซึ่งแหล่งกำเนิดของรังสียูวีตามธรรมชาติก็คือ ดวงอาทิตย์คนส่วนใหญ่ได้รับรังสียูวีจากแสงแดดนั่นเอง แต่คำถามที่พบบ่อยก็คือนอกจากรังสียูวีในแสงแดดแล้ว จะพบรังสียูวีจากที่ใดอีกบ้างที่เป็นอันตรายต่อผิว และดวงตาและการนอนเปิดไฟจะทำให้หน้าหมองคล้ำหรือไม่คำตอบมีดังนี้

จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ก็มีอันตรายได้เหมือนกัน
        จอโทรทัศน์แบบ CRT (Cathode Ray Tube) คือ จอแก้วแบบโค้ง ที่พบในทีวีรุ่นเก่าๆ นั่นแหละค่ะ จอชนิดนี้แผ่รังสียูวีเพียงเล็กน้อยไม่ทำอันตรายต่อสายตา หรือ ทำให้ผิวหมองคล้ำ แต่ถ้าเพ่งมากๆ อาจทำให้ตาเมื่อยล้า ปวดศีรษะได้ ยกเว้นแต่ว่าในผู้ป่วยโรคบางชนิดที่มีอาการผิวไวแสงควรหลีกเลี่ยงจอชนิดนี้

        จอโทรทัศน์แบบ LCD (Liquid Crystal Display) และ Plasmaไม่แผ่รังสียูวี แต่จอยิ่งใหญ่จะมีความร้อนสูง

หลอดไฟชนิดต่างๆ ก็สามารถแผ่รังสียูวีมาสู่ผิวและดวงตาได้
         หลอดไส้ (Incandescent Light Bulb) อาศัยกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่านไส้ทังสเตนจนเกิดความร้อน และแสงสว่าง ให้แสงเหลืองส้ม อายุการใช้งานสั้นและเปลืองไฟ แต่มีรังสียูวีต่ำมาก

         หลอดฟลูโอเรสเซนท์ (Fluorescent Light) หรือ ที่เรียกกันว่าหลอดนีออนคือ หลอดแก้วสูญญากาศที่ใส่ไอปรอทไว้ เมื่อผ่านกระแสไฟจะทำให้ไอปรอทปล่อยพลังงานในรูปรังสียูวีความยาวคลื่น 254 นาโนเมตรไปกระทบสารเรืองแสงฟอสฟอรัสที่ฉาบด้านในหลอด สารเรืองแสงจะดูดซับรังสียูวีแล้วเปล่งแสงในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นแทน หลอดชนิดนี้อาจมีรังสียูวีหลุดรอดออกมาได้บ้างในระดับที่ไม่เป็นอันตราย

         หลอดฮาโลเจน (Halogen Lamp) ใช้กระแสไฟฟ้าผ่านไส้ทังสเตนแบบหลอดไส้ แต่มีไอของธาตุฮาโลเจน เช่น คลอรีน ฟลูโอรีนในหลอดแก้ว เพื่อให้ได้แสงสีขาว มีการแผ่รังสียูวีในระดับที่ปลอดภัยหลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp) เป็นหลอดที่ให้ความเข้มแสงสูงและความถูกต้องของสีใกล้เคียงแสงแดด มักใช้ในสนามกีฬาหรือ งานโทรทัศน์ มีการแผ่รังสียูวีในระดับสูงที่อาจเกิดอันตรายกับดวงตาได้

       หลอด LED (Light Emitting Diode) แสงสว่างมาจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในเซมิคอนดักเตอร์ จึงไม่มีการแผ่รังสียูวีและความร้อนปลอดภัยจากสารปรอท และประหยัดไฟที่สุดค่ะ

        หลอดแบล็กไลท์ (Black Light) หลักการเหมือนหลอดนีออนแต่ไม่ได้เคลือบฟอสฟอรัสไว้ด้านในหลอด แผ่รังสี UVA ความยาวคลื่น 345-400 nm ซึ่งใกล้เคียงกับแสงม่วงที่ตามองเห็น จึงมีอันตรายน้อยเมื่อเปิดใช้งานในที่มืดจะเห็นเป็นสีม่วงจางๆ สิ่งของที่มีฟอสฟอรัสจะ
เรืองแสงขึ้น นำมาใช้ตรวจลายน้ำบนธนบัตร ตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ เช่นลายนิ้วมือ คราบอสุจิ คราบเลือด

        หลอดยูวีฆ่าเชื้อโรค (Germicide Lamp) แผ่รังสี UVC ใช้เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำหรือในโรงพยาบาล มีอันตราย อาจทำให้เกิดผิวหนังไหม้และเยื่อบุตาอักเสบถ้าสัมผัสโดยตรงเครื่องถ่ายเอกสาร ใช้หลอดฟลูโอเรสเซนท์ความเข้มสูงหรือหลอดฮาโลเจน อาจมีรังสียูวีได้บ้าง จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง

        งานเชื่อมโลหะ นอกจากจะมีประกายไฟแล้ว ยังมีการแผ่รังสียูวีในความเข้มสูงอีกด้วย ผู้ปฏิบัติงานต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา และสวมเสื้อผ้าที่มิดชิด ไม่ควรมองแสงจากการเชื่อมโลหะด้วยตาเปล่า

ปัจจุบันมีหลายคนนิยมอยากให้ผิวขาวด้วยการฉีดสารกลูตาไธโอน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวและสารไฮโดรควิโนน เนื่องจากคุณสมบัติของกลูตาไธโอนและไฮโดรควิโนน จะยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้เม็ดสีลดลง จึงทำให้ผิวขาวขึ้น ส่งผลให้ความสามารถของการกรองรังสียูวีลดลงด้วย ดังนั้นบริเวณผิวที่ได้รับสารกลูตาไธโอนและไฮโดรควิโนน เมื่อเจอรังสียูวีจะเป็นรอยด่างขาว มีจุดด่างดำ หรือบางคนอาจผิวดำเสีย เนื่องจากเม็ดสีถูกทำลาย ดังนั้นจึงไม่ได้ทำให้ผิวขาวขึ้นอย่างแท้จริงและปลอดภัย ซึ่งน่ากังวลที่ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีเหล่านี้มีจำหน่ายอย่างไม่ถูกกฎหมายเป็นจำนวนมาก ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ในลักษณะครีมหน้าขาว ครีมผิวขาว โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบส่วนประกอบที่ถูกต้อง จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามเพื่อให้ผิวขาว ซึ่งผลที่ได้รับอาจมีความรุนแรงและเป็นอันตราย และอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน


ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางประเภทไวท์เทนนิ่งที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป ประชาชนสามารถเลือกซื้อมาใช้ได้ เนื่องจากผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายและไม่ทำลายเม็ดสีผิว ส่วนใหญ่จะมีสารกันแดดเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารที่ปกปิดผิวให้ดูขาวขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีสารที่ไปทำลายโครงสร้างในชั้นผิว

ไม่ควรหาซื้อครีมทาฝ้ามาใช้เอง เนื่องจากอาจได้รับสารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หากได้รับมากไปก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ ตั้งแต่เกิดอาการระคายเคืองผิว เกิดจุดด่างขาว หน้าดำ หรือเป็นฝ้าถาวร จนไปถึงรักษาฝ้าไม่หาย

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี มีอยู่ 3 ชนิด คือ 
1. รังสียูวีซี (UV C) เป็นรังสีที่อันตรายที่สุด แต่จะไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากจะมีโอโซนกั้นอยู่ โดยรังสีนี้หากถูกผิวหนังจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ และอาจกระทบต่อดวงตา เป็นต้อกระจกได้ 
2.รังสียูวีบี (UV B) มาถึงผิวโลก และมีผลต่อผิวไหม้ได้ หรือที่เรียกว่า ซันเบิร์น แต่ป้องกันได้ โดยการทาครีมกันแดด และ
3.รังสียูวีเอ (UV A) จะทะลุเข้าไปภายในผิวหนัง ทำให้แก่เร็วขึ้น

รังสียูวีจากแสงแดดมีทั้งคุณประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ โดย รังสียูวี ในขนาดต่ำๆ จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไป รังสียูวีบีจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผิวไหม้แสบลอก ผิวหมองคล้ำ
ส่วนรังสียูวีเอ เมื่อได้ผ่านลงไปได้ถึงชั้นหนังแท้ และได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำลายไฟโบรบลาสต์ จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำกดภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ตามมาด้วยเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้ โดยผู้ที่มีผิวขาวจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากมีเมลานินที่ช่วยปกป้องอยู่น้อยกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ รังสียูวี ยังส่งผลก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาด้วย แต่มีผลค่อนข้างน้อย ถ้าได้รับ รังสียูวี ความเข้มสูง จะเกิดกระจกตาอักเสบมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ส่วนระยะยาวจะเกิดต้อลม ต้อกระจก ในอนาคตจอตาอาจเสื่อมได้

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวีในแสงแดด มีทั้งคุณ และโทษต่อสุขภาพ ช่วยสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง และมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมเนื้อเยื่อกระดูก ผลเสียคือ ทำอันตรายต่อผิวหนัง อาจไหม้เกรียม เหี่ยวย่น เป็นอันตรายต่อดวงตาหากได้รับรังสียูวีโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน โดยผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นคือ กระจกตาอักเสบ มีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ระยะยาว เช่น ต้อเนื้อ ต้อลมหรือ ต้อกระจก ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ปี 2557 พบผู้ป่วยโรคตาทุกชนิดเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกว่า 5.2 ล้านครั้ง และเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในด้วยโรคตา เยื่อบุตา และกระจกตาอักเสบ จำนวนกว่า 30,000 คน โรคต้อกระจกและความผิดปกติของเลนส์อื่นๆ อีกกว่า 200,000 คน
“เพื่อป้องกันดวงตาให้ปลอดภัยจากรังสียูวี ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกร ชาวสวน ช่างก่อสร้าง ชาวประมง ผู้ขับขี่รถในช่วงแดดจัด รวมทั้งผู้ที่อาศัยใกล้แม่น้ำ ทะเลมีแสงแดดสะท้อนจากผิวน้ำ ควรหลีกเลี่ยงอยู่กลางแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00-14.00 น. ซึ่งมีปริมาณรังสีจะเข้มข้น และจะเข้มข้นมากที่สุดในช่วงเที่ยงวัน ถนอมสายตาด้วยการสวมหมวกที่มีปีกยื่นออกมาข้างหน้า และแว่นกันแดด โดยเลือกใช้แว่นที่สามารถกรองรังสีอัลตราไวโอเลต สำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการป้องกันรังสีได้ในระดับหนึ่ง”


ครีมกันแดดที่ใช้อยู่ เป็นแบบดูดซับรังสียูวี หรือ สะท้อนรังสียูวี ... ถ้าครีมดูดซับรังสียูวีไว้ ก็จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นบนผิวหน้า ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาด้วย ... สารเคมีประเภท PABA จะเป็นสารดูดซับรังสียูวี ที่มักใช้ในครีมกันแดดทั่วไป
ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ (เนื้อครีมจะเป็นข้น ๆ น้ำนมเหมือนเนื้อครีมทั่วไป ซึมซับได้ง่าย) ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็จะเสื่อมสภาพ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องทาครีมกันแดดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
......
ถ้าครีมดูดซับรังสียูวีไว้ ก็จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นบนผิวหน้า ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาด้วย
......
สารป้องกันแดดประเภทนี้บางชนิดจะดูดซับได้เฉพาะรังสี UVA หรือ UVB หรือทั้งสองอย่าง สารเคมีที่ใช้ผสมในครีมกันแดด คือ Panimate O, Bensophenone, Cinnamates, Antranilate, Homosalate และ Oxybenzene ซึ่งครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะกับคนที่มีผิวแพ้ง่าย
......
สารที่กันได้เฉพาะรังสี UVA คือ benzophenones และส่วนที่กันได้เฉพาะรังสี UVB คือ cinnamates, PABA, PABA derivatives

อีกพวกหนึ่งคือ Physical sunscreen ทำหน้าที่เป็นฉากสะท้อนรังสียูวีออกไปจากผิวหน้าเมื่อมากระทบ เหมือนแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ฝนสาดมา ก็จะสะท้อนออกไป ไม่มีการดูดซับรังสียูวีไว้กับตัว จึงไม่ทำลายผิวหน้าเมื่อทาทิ้งไว้นานๆ