วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

ปัจจุบันมีหลายคนนิยมอยากให้ผิวขาวด้วยการฉีดสารกลูตาไธโอน หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าวและสารไฮโดรควิโนน เนื่องจากคุณสมบัติของกลูตาไธโอนและไฮโดรควิโนน จะยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้เม็ดสีลดลง จึงทำให้ผิวขาวขึ้น ส่งผลให้ความสามารถของการกรองรังสียูวีลดลงด้วย ดังนั้นบริเวณผิวที่ได้รับสารกลูตาไธโอนและไฮโดรควิโนน เมื่อเจอรังสียูวีจะเป็นรอยด่างขาว มีจุดด่างดำ หรือบางคนอาจผิวดำเสีย เนื่องจากเม็ดสีถูกทำลาย ดังนั้นจึงไม่ได้ทำให้ผิวขาวขึ้นอย่างแท้จริงและปลอดภัย ซึ่งน่ากังวลที่ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีเหล่านี้มีจำหน่ายอย่างไม่ถูกกฎหมายเป็นจำนวนมาก ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ในลักษณะครีมหน้าขาว ครีมผิวขาว โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบส่วนประกอบที่ถูกต้อง จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงามเพื่อให้ผิวขาว ซึ่งผลที่ได้รับอาจมีความรุนแรงและเป็นอันตราย และอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน


ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางประเภทไวท์เทนนิ่งที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป ประชาชนสามารถเลือกซื้อมาใช้ได้ เนื่องจากผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตรายและไม่ทำลายเม็ดสีผิว ส่วนใหญ่จะมีสารกันแดดเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารที่ปกปิดผิวให้ดูขาวขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีสารที่ไปทำลายโครงสร้างในชั้นผิว

ไม่ควรหาซื้อครีมทาฝ้ามาใช้เอง เนื่องจากอาจได้รับสารในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หากได้รับมากไปก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ได้ ตั้งแต่เกิดอาการระคายเคืองผิว เกิดจุดด่างขาว หน้าดำ หรือเป็นฝ้าถาวร จนไปถึงรักษาฝ้าไม่หาย

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี มีอยู่ 3 ชนิด คือ 
1. รังสียูวีซี (UV C) เป็นรังสีที่อันตรายที่สุด แต่จะไม่ถึงพื้นโลก เนื่องจากจะมีโอโซนกั้นอยู่ โดยรังสีนี้หากถูกผิวหนังจะทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ และอาจกระทบต่อดวงตา เป็นต้อกระจกได้ 
2.รังสียูวีบี (UV B) มาถึงผิวโลก และมีผลต่อผิวไหม้ได้ หรือที่เรียกว่า ซันเบิร์น แต่ป้องกันได้ โดยการทาครีมกันแดด และ
3.รังสียูวีเอ (UV A) จะทะลุเข้าไปภายในผิวหนัง ทำให้แก่เร็วขึ้น

รังสียูวีจากแสงแดดมีทั้งคุณประโยชน์และโทษต่อมนุษย์ โดย รังสียูวี ในขนาดต่ำๆ จะช่วยในการสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่สูงเกินไป รังสียูวีบีจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ทำให้เกิดผิวไหม้แสบลอก ผิวหมองคล้ำ
ส่วนรังสียูวีเอ เมื่อได้ผ่านลงไปได้ถึงชั้นหนังแท้ และได้รับต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ทำลายไฟโบรบลาสต์ จึงทำให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำกดภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ทำลาย DNA ทำให้เซลล์กลายพันธุ์และแบ่งตัวผิดปกติ ตามมาด้วยเนื้องอกหรือมะเร็งผิวหนังได้ โดยผู้ที่มีผิวขาวจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากมีเมลานินที่ช่วยปกป้องอยู่น้อยกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ รังสียูวี ยังส่งผลก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาด้วย แต่มีผลค่อนข้างน้อย ถ้าได้รับ รังสียูวี ความเข้มสูง จะเกิดกระจกตาอักเสบมีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ส่วนระยะยาวจะเกิดต้อลม ต้อกระจก ในอนาคตจอตาอาจเสื่อมได้

รังสีอัลตราไวโอเลต หรือรังสียูวีในแสงแดด มีทั้งคุณ และโทษต่อสุขภาพ ช่วยสังเคราะห์วิตามินดีที่ผิวหนัง และมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมเนื้อเยื่อกระดูก ผลเสียคือ ทำอันตรายต่อผิวหนัง อาจไหม้เกรียม เหี่ยวย่น เป็นอันตรายต่อดวงตาหากได้รับรังสียูวีโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน โดยผลกระทบระยะสั้นที่เกิดขึ้นคือ กระจกตาอักเสบ มีอาการแสบตา น้ำตาไหล แพ้แสง ตาแดง ระยะยาว เช่น ต้อเนื้อ ต้อลมหรือ ต้อกระจก ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สธ.ปี 2557 พบผู้ป่วยโรคตาทุกชนิดเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกว่า 5.2 ล้านครั้ง และเข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในด้วยโรคตา เยื่อบุตา และกระจกตาอักเสบ จำนวนกว่า 30,000 คน โรคต้อกระจกและความผิดปกติของเลนส์อื่นๆ อีกกว่า 200,000 คน
“เพื่อป้องกันดวงตาให้ปลอดภัยจากรังสียูวี ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกร ชาวสวน ช่างก่อสร้าง ชาวประมง ผู้ขับขี่รถในช่วงแดดจัด รวมทั้งผู้ที่อาศัยใกล้แม่น้ำ ทะเลมีแสงแดดสะท้อนจากผิวน้ำ ควรหลีกเลี่ยงอยู่กลางแดด โดยเฉพาะในช่วงเวลา 10.00-14.00 น. ซึ่งมีปริมาณรังสีจะเข้มข้น และจะเข้มข้นมากที่สุดในช่วงเที่ยงวัน ถนอมสายตาด้วยการสวมหมวกที่มีปีกยื่นออกมาข้างหน้า และแว่นกันแดด โดยเลือกใช้แว่นที่สามารถกรองรังสีอัลตราไวโอเลต สำหรับคนที่ใส่แว่นสายตาเป็นประจำอยู่แล้ว ก็ถือว่าเป็นการป้องกันรังสีได้ในระดับหนึ่ง”


ครีมกันแดดที่ใช้อยู่ เป็นแบบดูดซับรังสียูวี หรือ สะท้อนรังสียูวี ... ถ้าครีมดูดซับรังสียูวีไว้ ก็จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นบนผิวหน้า ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาด้วย ... สารเคมีประเภท PABA จะเป็นสารดูดซับรังสียูวี ที่มักใช้ในครีมกันแดดทั่วไป
ครีมกันแดดชนิดเคมี (Chemical Sunscreen) เป็นครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการปกป้องแสงแดด ด้วยการดูดซับรังสีเข้าผิวหนังแล้วเปลี่ยนเป็นความร้อน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงผ่านลงในชั้นผิวหนังได้ (เนื้อครีมจะเป็นข้น ๆ น้ำนมเหมือนเนื้อครีมทั่วไป ซึมซับได้ง่าย) ซึ่งหลังจากโดนแดดสักพัก สารเคมีเหล่านี้ก็จะเสื่อมสภาพ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราต้องทาครีมกันแดดทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง
......
ถ้าครีมดูดซับรังสียูวีไว้ ก็จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นบนผิวหน้า ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาด้วย
......
สารป้องกันแดดประเภทนี้บางชนิดจะดูดซับได้เฉพาะรังสี UVA หรือ UVB หรือทั้งสองอย่าง สารเคมีที่ใช้ผสมในครีมกันแดด คือ Panimate O, Bensophenone, Cinnamates, Antranilate, Homosalate และ Oxybenzene ซึ่งครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของสารเคมีในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะกับคนที่มีผิวแพ้ง่าย
......
สารที่กันได้เฉพาะรังสี UVA คือ benzophenones และส่วนที่กันได้เฉพาะรังสี UVB คือ cinnamates, PABA, PABA derivatives

อีกพวกหนึ่งคือ Physical sunscreen ทำหน้าที่เป็นฉากสะท้อนรังสียูวีออกไปจากผิวหน้าเมื่อมากระทบ เหมือนแผ่นกระเบื้องหลังคาที่ฝนสาดมา ก็จะสะท้อนออกไป ไม่มีการดูดซับรังสียูวีไว้กับตัว จึงไม่ทำลายผิวหน้าเมื่อทาทิ้งไว้นานๆ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น