วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขาว ใส เนียน เครื่องสำอางอันตราย


สิ่งที่อินเทรนด์ที่สุดคงหนีไม่พ้น "ความขาว" ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ของบางประเทศ ทำให้คนไทยไม่น้อย พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ตัวเองผิวขาว-หน้าขาวเช่นนั้นบ้าง แน่นอนว่าหนีไม่พ้นการสรรหาเครื่องสำอางที่โฆษณาสรรพคุณว่าสามารถทำให้ผิวขาวได้ดังใจนึกมาใช้ ถ้าใช้ของดีได้มาตรฐาน ก็คงไม่เป็นไร แต่หลายครั้ง ไปเจอของไม่ได้คุณภาพ เกิดอันตรายก็มีเหมือนกัน  ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ปัจจุบันยังตรวจพบเครื่องสำอางหลายยี่ห้อ ที่ใช้ส่วนผสมจาก "สารปรอท" สารเคมีที่ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีก่อน เคยถูกใช้ผสมเครื่องสำอางสำหรับหญิงสาวในทวีปยุโรป เพราะทำให้หน้าขาวขึ้นตามความนิยมในยุคนั้น แต่ต่อมาได้ถูกห้ามใช้ เพราะพบว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย แม้จะทดลองใช้เพียงระยะสั้นๆ ก็ตาม



ทำไมต้องเป็นสารปรอท?..
ปรอทนั้นเป็นโลหะหนักชนิดหนึ่งเป็นของเหลวในอุณหภูมิห้อง มีการใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางมานานมักใช้อยู่ 2 รูปแบบ คือ

1.ในรูปของ Inorganic Mercury เช่น Ammoniated Mercury ซึ่งมักผสมในเครื่องสำอางช่วยให้หน้าขาว ปรอทจะช่วยให้ขาว โดยไปยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสี (Melanin) ได้ส่งผลให้ผู้ใช้มีผิวหน้าขาวและดูเนียน

2.ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ Organic Mercury เช่น Thiomersal (Ethyl Mercury), Phenyl Mercuric Salts ซึ่งมักใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางรอบดวงตา เนื่องจากสารปรอทมีข้อดีคือ ช่วยยับยั้งการปนเปื้อนของเชื้อ Pseudomonas spp.ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการติดเชื้อ Pseudomonas spp. อาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้

เกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุกันเสียในเครื่องสำอางที่ใช้บริเวณรอบดวงตาเท่านั้น และให้ใช้ในอัตราส่วนสูงสุดไม่เกิน ร้อยละ 0.0065 (คำนวณในรูปโลหะปรอท)  !!!  สารปรอทมีอันตรายต่อทั้งร่างกายโดยตรง คือทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เมื่อใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดพิษสะสมของสารปรอทและทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดเป็นแผลเป็น และทำให้ภูมิคุ้มกันของผิวต่อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราลดลง จึงทำให้ติดเชื้อได้ง่ายเมื่อเกิดบาดแผล และยังส่งผลกระทบต่อระบบประสาทอีกด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า เป็นต้น รวมไปถึงอาการปลายประสาทชา

นอกจากเครื่องสำอางที่ใส่สารปรอท แล้วยังมี ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นสารเคมีซึ่งเป็นที่นิยมในการนำมาเตรียมครีมที่ทำให้หน้าขาว เนื่องจากเห็นผลได้เร็ว ไฮโดรควิโนนออกฤทธิ์โดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง (Melanin) จึงมีผลทำให้ผิวขาวขึ้นได้ สาร ไฮโดรควิโนน สามารถพบได้ในโลชั่นปรับสภาพผิว หรือ โลชั่นกันแดดกันฝ้า ซึ่งปรับสภาพผิวจากแสงแดด เป็นต้น

สารไฮโดรควิโนน มีความเป็นพิษ โดยมีค่า LD50 orally in rats หมายถึง ปริมาณสารที่ให้กับสัตว์ทดลอง (หนู) แล้วสัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50 เท่ากับ 320 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม พบว่ามีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์และก่อมะเร็งในหนู และมีรายงานว่า ผู้ใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารนี้ มีอาการระคายเคืองและจุดด่างขาวบนใบหน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย  ไฮโดรควิโนนจึงถูกจัดให้เป็นสารเคมีควบคุมมาตั้งแต่ปี 2539 ตาม พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535 ให้ใช้ได้ตามใบสั่งแพทย์เท่านั้น ห้ามนำไปผสมเครื่องสำอางที่วางขายทั่วไปในตลาดเด็ดขาด!!!

สารเคมีอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดเรทิโนอิก (Retinoic Acid) เป็นสารที่ช่วยให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและหลุดลอกได้ จึงช่วยให้สิวเสี้ยนและผิวหนังที่หยาบกร้านหลุดลอกออกโดยง่าย ทำให้ผิวผ่องใสและนุ่มเนียน แต่ก็เป็นสารที่มีอันตราย เพราะทำให้หน้าแดงและแสบร้อนขึ้นรุนแรง เกิดการระคายเคือง อักเสบ แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ เทอราโทเจน (Teratogenesis)ที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางสายพันธุ์ในไข่หรือตัวอ่อนที่กำลังเติบโต ซึ่งถ้าได้รับระหว่างการตั้งครรภ์แล้วจะก่อให้เกิดการผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

ระวังผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องสำอางชนิดต่าง ๆ

โรคผิวหนัง เกี่ยวข้องกับผลข้างเคียงจากการใช้ยา เพื่อแต่งเสริมเติมแต่งความงามของร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายในหลายลักษณะด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น ครีมหน้าขาวที่มีส่วนผสมจากไฮโดรควิโนน (Hydroquinone), ผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์, การใช้ผลิตภัณฑ์ Whitening ที่ทำให้ผิวขาว, เครื่องสำอางปลอม และการเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านความงามจากการการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต เหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะครีมทาผิวบางชนิด ที่ใช้ได้เฉพาะที่ เช่น ทาบริเวณผิวหน้าเท่านั้น ห้ามนำมาทาตัว หรือทาบริเวณทั่วร่างกายห้ามทาบริเวณใบหน้า

ดังนั้นการซื้อครีมทาผิว ต้องอ่านฉลากให้ละเอียดเสียก่อนนำมาใช้ ทั้งในส่วนที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป, ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือการโปรโมทขายสินค้าตามรายการโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีบางช่อง สื่อเหล่านี้ให้ระวัง เพราะมักจะมีการโฆษณาเกินจริง บางครั้งครีมทาผิวดังกล่าวอาจจะเป็นของเลียนแบบ, ของปลอม หรือมีส่วนผสมของสารโคเบตาซอล ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ชนิดที่แรงที่สุด เอาไว้รักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นเรื้อรัง หรือเป็นผื่นหนา และมีคำเตือนว่าห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์ สารนี้จัดเป็นยาและไม่สามารถอยู่ในเครื่องสำอางได้ สารชนิดนี้ออกฤทธิ์ที่ผิวหนังถึงชั้นหนังแท้และอาจเป็นแผลถาวร

ซึ่งผลของมันนอกจากไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว, ไปรบกวนเรื่องของการสร้างอิลาสติน และคอลลาเจนของผิวหนังแล้ว ยังทำให้เกิดการแตกลายงาของผิวหนัง ทำให้ผิวบางและเส้นเลือดขยาย หากไปทาที่ใบหน้าหรือบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะจะทำให้เกิดสิวซึ่งรักษายากกว่าสิวทั่วไป และเมื่อผิวบางโดนอะไรจะแพ้ง่าย และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วย

ในประเทศไทยปัญหาการใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์พบได้ค่อนข้างบ่อย เพราะยาในกลุ่มนี้ประชาชนสามารถซื้อหาได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ และมีราคาถูก 10 กรัมราคาเพียง 50 บาท มีเป็นร้อยยี่ห้อ ส่วนมากประชาชนมักจะคิดว่า ครีมทาผิวภายนอกไม่ค่อยมีอันตราย ในขณะที่ประเทศเจริญแล้ว เช่น อเมริกา, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ ครีมในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ประชาชนไม่สามารถซื้อใช้เอง ต้องมีใบสั่งแพทย์ ร้านขายยาจึงจะขายให้ เพราะผิดกฎหมาย ครีมสเตียรอยด์มีประโยชน์ คือ แก้แพ้ แก้คัน แก้ผื่นผิวหนังอักเสบ บางคนพอใช้แล้วหน้าเรียบ ก็เลยใช้ต่อเนื่อง ถ้าใช้ช่วงสั้น ๆ ไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้นานๆ จะติด ไม่ ใช้ไม่ได้ และเพิ่มความแรงของยาขึ้นเรื่อย ๆ ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาหยุดไม่ได้ พอหยุดผิวหนังจะอักเสบเห่อขึ้นมา

โดยผลข้างเคียงจากการใช้ครีมสเตียรอยด์ แบ่งได้ดังนี้

1. ประเภทเฉียบพลัน ได้แก่

1.1.การเกิดสิว ครีมกลุ่มนี้ทำให้เกิดสิว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และหน้าอก โดยสิวที่เกิดจากสเตียรอยด์ จะแตกต่างจากสิวทั่วไป จะเห็นเป็นสิวในแบบเดียวกันทั้งหมด คือ
เป็นตุ่มนูนแดง (ไม่มีหัวหนองหรือไขมันอุดตัน)

1.2 รอยโรคเดิมเป็นมากขึ้น พวกนี้ส่วนมากเกิดจากการใช้ยาผิดโรค เช่น เป็นโรคกลากเกลื้อนแล้วใช้ครีมสเตียรอยด์ทาจะทำให้เป็นมากขึ้น

1.3 เกิดผื่นแพ้สัมผัส ซึ่ง
อาจเกิดการแพ้สารกันบูดหรือน้ำหอมที่ใส่ในครีมสเตียรอยด์ได้ ส่วนการแพ้ตัวสเตียรอยด์เองนั้นก็พบได้แต่พบได้น้อย

2. ประเภทเรื้อรัง ได้แก่ ทำให้ผิวหน้าบางลง ออกแดดไม่ได้ เวลาเจอแดดก็จะแสบร้อน หลอดเลือดใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย ขนยาวขึ้นบริเวณทายา เกิดสิวและผื่นอักเสบรอบปาก เกิดภาวะติดยา ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในเมืองไทยและรักษายาก ภาวะนี้เกิดจาการใช้ครีมสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เวลาหยุดยาแล้วจะแดง หรือโรคผิวหนังอักเสบเดิมจะเป็นมากขึ้น ทำให้หยุดใช้ยาไม่ได้และต้องใช้ครีมสเตียรอยด์แรงมากขึ้น นอกจากนี้อาจไปกดการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งมักเกิดจากการใช้ครีมสเตียรอยด์ชนิดแรงเป็นเวลานานโดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หน้ากากอนามัย ป้องกันโรคได้ จริงหรือ?



หน้ากากอนามัยในท้องตลาดกันก่อน ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ
       
1.หน้ากากผ่าตัด (Surgical Mask)
เป็นหน้ากากอนามัยธรรมดาที่ใช้กันทั่วไป พบใช้บ่อยที่สุด เพราะใช้งานง่ายและราคาไม่แพง ราคามาตรฐานอยู่ที่ชิ้นละ 5-10 บาท
       
2.หน้ากากอนามัยชนิด N95
เป็นหน้ากากอนามัยชนิดพิเศษ สามารถป้องกันเชื้อโรคได้มากขึ้น มีหลายแบบ มีทั้งทรงกลม ทรงยาวรี หรือทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าแบบไหนก็มีหลักการใส่เหมือนกันหมด ราคามาตรฐานอยู่ที่ชิ้นละ 30-60 บาท
       


การเลือกใช้หน้ากากอนามัยแบบไหน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ว่าจะใช้ป้องกันเชื้อโรคประเภทใด โดยทั่วไป เชื้อโรคที่เราคาดหวังว่าจะใช้หน้ากากอนามัยป้องกันมี 2 ประเภท คือ
       
1.Droplet Transmission
คือเชื้อโรคที่แพร่กระจายโดยการไอและจาม ส่วนมากเชื้อจะแพร่ไปไม่ไกลเกิน 1 เมตร ตัวอย่างเชื้อโรคในกลุ่มนี้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ เยื้อหุ้มสมองอักเสบบางชนิด การป้องกันเชื้อโรคกลุ่มนี้ แค่ใช้ “หน้ากากผ่าตัด” (Surgical Mask) และอยู่ห่างจากผู้ป่วยเกิน 3 ฟุต ก็จะเพียงพอต่อการป้องกันโรค
       
2.Airborne Transmission
คือเชื้อโรคที่แพร่กระจายได้ไกลในอากาศรอบตัว (ระยะไกลมากกว่า 1 เมตร และอาจไกลได้ทั้งห้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ห้องอับ ห้องแอร์) ตัวอย่างเชื้อโรคในกลุ่มนี้ เช่น เชื้อวัณโรค การป้องกันเชื้อโรคกลุ่มนี้ต้องใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 จึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการป้องกันโรค 

การใช้หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโรค
       
1.หน้ากากอนามัยชนิด Surgical Mask ที่นิยมใช้กันทั่วไป ไม่อาจป้องกันได้ทุกโรค เช่น วัณโรคจะป้องกันไม่ได้
       
2.หน้ากากอนามัยชนิด N95 แม้จะมีประสิทธิภาพมากกว่าชนิด หน้ากากผ่าตัด (Surgical Mask) แต่ก็มีข้อจำกัด คือ เวลาใส่จะอึดอัดมาก เหมือนกับขาดออกซิเจน จึงไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยแบบ N95 ได้ทั้งวัน และการใส่หน้ากากอนามัยชนิดนี้ ต้องใส่ให้แนบสนิทกับใบหน้าจริงๆ จึงจะได้ผล เพราะถ้าอากาศผ่านเข้าไปได้ ไม่ว่าจะเป็นช่องเปิดตรงคาง แก้ม หรือจมูก เชื้อโรคก็จะสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ จึงมีค่าเท่ากับไม่ได้ใส่
       
3.ถ้าเจอคนเป็นหวัดธรรมดา แล้วไม่อยากใส่หน้ากากอนามัยและไม่อยากติดโรคด้วย ขอให้มีระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1 เมตรขึ้นไป
       
4.การป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่ดีที่สุด คือ อย่าสัมผัสเชื้อ ดังนั้น เมื่อมีโรคระบาด ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ หรืออีโบลาก็ตาม อย่าไปอยู่ในที่ชุมชนและสถานที่แออัด มีคนเยอะๆ จำไว้เสมอว่า “แม้แต่หน้ากากอนามัยประสิทธิภาพดีที่สุด ก็ยังไม่อาจป้องกันโรคติดต่อเชื้อทางเดินหายใจได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และไม่ดีเท่ากับการอยู่ห่างจากแหล่งระบาด” 

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โรคปอดอักเสบภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

ช่วงฤดูฝนใกล้ฤดูหนาวเป็นช่วงที่มักจะมีการระบาดของโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆเช่น ไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ

ปอดอักเสบหรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ปอดบวม” เพราะมีลักษณะการอักเสบของเนื้อปอด โดยเฉพาะที่บริเวณถุงลมของปอด ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย เมื่อเป็นแล้วทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยที่อาการของโรคจะมีความรุนแรงในผู้สูงอายุ (> 65ปี) และในผู้มีโรคประจำตัวผู้สูบบุหรี่ มีโรคปอดเรื้อรัง เช่น หอบหืด ถุงลมโป่งพอง มีภาวะขาดอาหาร หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคไต มีภูมิต้านทานโรคต่ำเช่น ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ได้รับยา สเตีย-รอยด์ ได้รับยารักษาโรคมะเร็ง มีภาวะสำลักง่ายจากการเป็นโรคเส้นเลือดสมอง ดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อเกิดโรคปอดอักเสบแล้ว มักมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตที่สูง ดังนั้นการวินิจฉัยโรคนี้จึงต้องทำอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันการรักษาหรือป้องกันอย่างเหมาะสมก็ล้วนมีความสำคัญมากเช่นกัน

สาเหตุการเกิดโรคปอดอักเสบเกิดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ และปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่โดยทั่วไปพบปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อมากกว่า โดยการติดเชื้อมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุนั้น พบว่าเกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสมากที่สุด ซึ่งสาเหตุของโรคจะแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดปอดอักเสบ

ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบมักมีอาการแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปมักมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน เช่น มีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ อาการปอดอักเสบที่พบบ่อยคือ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ในบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้
การรักษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.การรักษาจำเพาะ ในรายที่เป็นโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ไม่มียารักษาที่จำเพาะควรให้การรักษาแบบประคับประคอง ยกเว้นไข้หวัดใหญ่ที่มียาต้านไวรัส สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ควรได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

2.การรักษาทั่วไป เช่น ให้สารน้ำให้เพียงพอ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมาก ท้องอืด รับประทานอาหารไม่ได้ ,พิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและงดอาหารทางปาก ,ให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการเขียวหายใจเร็ว หอบชายโครงบุ๋ม กระวนกระวาย หรือซึม ,ใช้ยาขยายหลอดลมในรายที่มีหลอดลมตีบ ,ให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แต่เสมหะยังเหนียวอยู่ นอกจากนี้การรักษาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่ ให้ยาลดไข้และถ้าหากผู้มีภาวะหายใจล้มเหลวหรือหยุดหายใจพิจารณาใส่ท่อหลอดลมและเครื่องช่วยหายใจ

สำหรับการป้องกันโรคปอดอัดเสบทำได้ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะไม่ควรพาเด็กเล็กๆไปในสถานที่ดังกล่าว

2.หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น ภาวะทุพโภชนาการ ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น

3.ไม่ควรให้เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีและผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วยและผู้ป่วยควรใช้หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

4.ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล

5.ให้วัคซีนป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โดยวัคซีนที่ได้รับการพิจารณาว่ามีผลในการลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบในชุมชน คือวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ สำหรับวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ มีประสิทธิภาพในการป้องกันปอดอักเสบจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส จึงควรฉีดในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุ(> 65ปี) ,ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำหน้าที่ได้ไม่ดี, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจหรือโรคปอดเรื้อรัง, พิษสุราเรื้อรัง, โรคตับแข็ง, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

โดยที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีความปลอดภัยสูงมาก หากจำเป็นต้องฉีดทั้งสองชนิดสามารถฉีดพร้อมกันได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้แก่ อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวซึ่งสามารถรักษาตามอาการได้ เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากวัคซีนนั้นถือว่าคุ้มค่ามากและแนะนำว่าผู้ที่มีความเสี่ยงข้างต้นสมควรมารับการฉีดวัคซีนทุกคน

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างและส่วนประกอบง่ายๆของผิวหนังเส้นผม และมีวิธีดูแลรักษาเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

โครงสร้างของผิวหนัง

ผิวหนังของคน จะแบ่งประเภทออกตามแนวลึกลงไป ได้แก่

1.หนังกำพร้า (epidermis) แบ่งออกเป็นอีก 4 ชั้นย่อย ชั้นนอกสุดคือขี้ไคล เป็นเซลล์ไม่มีชีวิตที่มีสาร Keratin รอการหลุดลอกทิ้ง แต่ก็ยังมีประโยชน์ในการปกคลุมผิวชั้นนอกสุด ไม่ให้สิ่งมลพิษเข้าไปลึกกว่านี้ได้ง่ายๆ

2.หนังแท้ (dermis) จะมีต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน เซลล์รับความรู้สึก มีเส้นเลือดนำอาหารมาเลี้ยงผิวหนัง

3.ไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous tissue) ไขมันที่สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย เหมือนเบาะรอง ความหนาของชั้นผิวหนังจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับว่าเป็นผิวหนังในตำแหน่งไหนของร่างกาย  ขึ้นกับอายุของคน  ขึ้นกับสภาวะที่เกิดโรคผิวหนัง

ผิวหนังของคนมีหน้าที่เป็นเกราะป้องกันสารต่างๆ   ป้องกันสิ่งแปลกปลอม  ป้องกันมลพิษแทรกซึม  รักษาความอบอุ่น  รับรู้ความรู้สึก  รวมถึงสร้างระบบภูมิต้านทานและวิตามินดีแก่ร่างกายอีกด้วย


โครงสร้างของผม


ปกติคนเราจะมีเส้นผม 100,000 เส้น  และยาวขึ้นทุกวันๆละ 0.35 มม.หรือ เดือนละ 1 ซม. เส้นผมจะมีการเติบโต 3 ระยะ  ระยะแรกๆจะเพิ่งขึ้นและพบได้ส่วนลึกที่สุดในศีรษะ  ระยะที่สองกับสามก็พบออกมาในชั้นบนสุด  ระยะที่สามคือชั้นบนสุดประมาณ  90,000 เส้นจะมีอายุ 3 เดือนก็หลุดร่วงไป  ฉะนั้นการที่เส้นผมร่วงไปน้อยกว่า  100 เส้นต่อวัน  เป็นเรื่องปกติ

การดูแลเส้นผมเบื้องต้น

1.สระผม สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
2.เลือกแชมพูให้เหมาะสมกับเส้นผม
3.หลังสระผม เช็ดให้แห้ง
4.หวีบ่อยๆเพื่อนวดหนังศีรษะ  แต่ไม่ใช้หวีซี่แคบๆหรือแหลมคม
5.ไม่ยืดรั้งผมให้ตึงมาก
6.ไม่ควรเป่าผมด้วยความร้อน ดัดผม โกรกสีผม มากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

ต้อหินตรวจพบก่อน ป้องกันตาบอดได้


“ต้อหิน” เป็นโรคความเสื่อมเกิดจากขั้วประสาทตา ซึ่งมีหน้าที่รับสัญญาณภาพส่งไปยังสมองถูกทำลายด้วยความดันลูกตา เซลล์เส้นประสาทที่ตายไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับฟื้นคืนมาได้ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้แต่สามารถรักษาเพื่อหยุดไม่ให้อาการแย่ลงได้โดยการหยอดตา เลเซอร์ หรือผ่าตัด



จัดเป็นภัยเงียบอีกอย่างหนึ่งเนื่องจากในระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ ถ้าไม่ตรวจก็ไม่สามารถรู้ได้ โรคจะค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้การมองเห็นแคบลง แต่ตรงกลางยังคงมองเห็นได้ดี ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกผิดปกติซึ่งกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อาจเกิดอาการหนักมากแล้ว

“ต้อหินเป็นโรคตาบอดถาวรอันดับ 1 ของไทย 9 ใน 10 คนที่เป็นต้อหินไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ สามารถอ่านหนังสือ ขับรถ ใช้ชีวิตได้ตามปกติ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เป็นมากแล้ว แต่ถ้าตรวจพบก่อน ก็สามารถรักษา ป้องกันไม่ให้ตาบอดได้ การตรวจตาจึงมีความสำคัญมาก กลุ่มเสี่ยงควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์”

อายุเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดต้อหิน ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสที่จะเป็นต้อหินก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น สำหรับคนที่อายุ 40 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นต้อหิน 1% อายุ 50 ปี เสี่ยงเป็นต้อหิน 2% อายุ 60 ปี เสี่ยงเป็นต้อหิน 4% อายุ 70 ปี เสี่ยงเป็นต้อหิน 7% และถ้าอายุ 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นต้อหินมากกว่า 8% ขึ้นไป

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นต้อหินมากกว่าปกติ ได้แก่ คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี, มีประวัติครอบครัว พ่อ แม่ พี่น้องสายตรงเป็นต้อหิน, คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดในลูกตา มีอุบัติเหตุทางตา, มีสายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ, มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไทรอยด์, ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ เช่น คนไข้โรคพุ่มพวง (SLE)

คนกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจักษุแพทย์ ไม่ควรรอให้เกิดอาการผิดปกติแล้วค่อยไปตรวจ หากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก ก็สามารถรักษาป้องกันไม่ให้ตาบอดถาวรได้

การรักษาโรคต้อหิน ส่วนใหญ่รักษาด้วยการหยอดยา เพราะสะดวก รวดเร็ว ง่าย สำหรับคนไข้ ยาสำหรับรักษาโรคต้อหินก็สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ อยู่ในบัญชีหลักประกันสุขภาพ นอกจากการหยอดยายังมีวิธีการรักษาโดยการผ่าตัด จะใช้กับคนไข้ที่ใช้ยาไม่ได้หรือใช้ยาไม่ได้ผล สำหรับผู้ป่วยโรคต้อหินชนิดมุมตาเปิดบางชนิดต้องทำการรักษาด้วยการยิงเลเซอร์

นอกจากการรักษาทั้ง 3 วิธี ปัจจุบันมีข่าวแพร่หลายในสังคมออนไลน์เรื่องการนวดตาเพื่อรักษาต้อหิน โดยการกดที่เปลือกตาอย่างแรงจนถึงขั้นเห็นแสงพร่า นาน 45 วินาที ถึง 2 นาที แล้วค่อยปล่อยมือออกจากเปลือกตา เพื่อให้เลือดสูบฉีดเข้าไปในตาได้ดีขึ้นนั้น ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ไม่แนะนำให้ทำการรักษาต้อหินด้วยวิธีดังกล่าว เพราะไม่มีหลักฐานการวิจัยอย่างถูกต้องทางวิชาการสนับสนุนยืนยันการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว

“การนวดตาทำให้เปลือกตามีความร้อน ทำให้สุขภาพตาดีขึ้น คนที่เป็นโรคตาแห้ง น้ำตาแห้งจะดีขึ้นเพราะความร้อนช่วยทำให้ความสมดุลของน้ำมันกับน้ำตาดีขึ้น ทำให้การมองเห็นดีขึ้น แต่ต้องไม่ใช่วิธีการกดตาอย่างแรง การกดตาจนเห็นแสงพร่า เป็นอันตรายต่อดวงตา วุ้นตา เซลล์ประสาทตา และอาจมีผลเสียถึงจอรับภาพด้วย”

ตรวจสเตียรอยด์ปนปลอมในผลิตภัณฑ์สมุนไพร…ไม่ยากอย่างที่คิด

รู้จักกับสเตียรอยด์

สเตียรอยด์เป็นสารประเภทฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้น มีประโยชน์ในการควบคุมการเปลี่ยนสภาพของสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ตลอดจนควบคุมสมดุลของเกลือแร่ อิเล็กโทรไลต์ และน้ำในร่างกาย และสามารถบรรเทาการอักเสบได้ จึงได้มีการสังเคราะห์ขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นยา ที่มีประโยชน์หลายด้านทั้ง ต้านการอักเสบ ใช้เป็นยากดภูมิคุ้มกัน และใช้ในผู้ที่ขาดฮอร์โมนประเภทนี้ จัดได้ว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณดีมาก สามารถใช้รักษาโรคได้หลายชนิด เช่น โรคลูปูส หรือโรคเอส แอล อี (โรคพุ่มพวง) โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ โรคหืด เป็นต้น โดยในรูปยามีชื่อว่า เพรดนิโซโลน (prednisolone), เด็กซ์ซาเมทาโซน (dexamethasone) เป็นต้น

อันตรายของสเตียรอยด์

แม้สเตียรอยด์จะเป็นสารภายในร่างกายแต่เมื่อนำมาใช้เป็นยา จะต้องใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น มิฉะนั้นจะเกิดอันตราย ยิ่งถ้าได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานหรือในขนาดสูงมากจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น อันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เพิ่มน้ำตาลในเลือด กระดูกพรุน ต้อหิน ต้อกระจก เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผิวบาง หน้ากลมเป็นวงพระจันทร์ หลังเป็นหนอก เป็นต้น ซึ่งเมื่อหยุดสเตียรอยด์กระทันหันจะเกิดอาการขาดสเตียรอยด์ ความดันโลหิตลดต่ำ น้ำตาลในเลือดตกลง ตามมาด้วยการเป็นลมหมดสติ

ป้องกันอันตรายจากยาสเตียรอยด์ที่ปนปลอมในผลิตภัณฑ์สมุนไพร

ยาสเตียรอยด์มักพบปนปลอมในยาชุด ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ รวมทั้งยาที่อวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาได้สารพัดโรค ทั้งนี้เนื่องจากยาสเตียรอยด์เป็นยาที่มีคุณอนันต์ แต่โทษมหันต์ มีผลต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ดังได้กล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์อาจเห็นผลในการบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว รู้สึกพึงพอใจ จึงทำให้อาจละเลยการรักษาที่สาเหตุของโรคโดยตรง แต่ยิ่งใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากขึ้นเท่าใด อาการไม่พึงประสงค์ของยาสเตียรอยด์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับความรุนแรงของโรคที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น หากจะใช้ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร เหล่านั้น จึงควรดูเครื่องหมาย อย. ก่อนเลือกซื้อยาดังกล่าว หากไม่มีเครื่องหมาย อย. แปลว่า ไม่ได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของรัฐ ฉะนั้นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มียาสเตียรอยด์ปนปลอม

การตรวจสอบยาสเตียรอยด์ปนปลอม

หากท่านต้องการใช้ยาลูกกลอน ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาพระ เหล่านั้น แต่ไม่แน่ใจว่ามียาสเตียรอยด์ปนปลอมมาหรือไม่ ท่านตรวจสอบการปนปลอมยาสเตียรอยด์ได้อย่างง่าย ๆ โดยใช้ “ชุดตรวจสอบสเตียรอยด์” ผลิตและจำหน่ายโดย ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เป็นวิธีการตรวจสอบเบื้องต้น สำหรับตรวจสารสเตียรอยด์ชนิดเด็กซ์ซาเมทาโซนและเพร็ดนิโซโลนที่ปนปลอมในยาแผนโบราณ ใช้การแยกสารด้วย Thin-Layer Chromatography และตรวจสอบด้วยกระดาษทำให้เกิดสีซึ่งจะเปลี่ยนสีของสารสเตียรอยด์ เป็นสีม่วง ปริมาณต่ำสุดที่ตรวจพบได้ คือ 2 ไมโครกรัม1




ทั้งนี้เนื่องจากชุดทดสอบแบบเดิม มีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างหลายขั้นตอน ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และผู้ชำนาญการในการทดสอบและอ่านผล ทำให้ยุ่งยาก เสียเวลา ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ทำการพัฒนาวิธีการตรวจให้ง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ในภาคสนาม และประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้การคุ้มครองผู้บริโภคทุกพื้นที่เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ชุดทดสอบนี้คือ “DMSc Steroid” เป็นชุดทดสอบสำหรับใช้ในการตรวจสอบเบื้องต้นสำหรับเด็กซ์ซาเมทาโซน และเพร็ดนิโซโลน ซึ่งทดสอบได้ง่ายกว่าชุดทดสอบแบบเดิม ลักษณะการตรวจเป็นแบบให้เชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี (Immunochromatography) ปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้สำหรับเด็กซ์ซาเมทาโซน เท่ากับ 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และสำหรับ เพร็ดนิโซโลน เท่ากับ 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร วิธีการตรวจสอบ มีดังนี้ คือ ถ้าตัวอย่างยาสมุนไพรเป็นยาเม็ด ให้บดให้แตกละเอียด หรือใช้กรรไกรสะอาดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตักตัวอย่างด้วยหลอดพลาสติกสำหรับตักตัวอย่าง หรือหลอดหยดตัวอย่างที่เป็นของเหลวลงในหลอดทดสอบพลาสติก จากนั้นให้หยดน้ำยาจากขวดบรรจุน้ำยาละลายตัวอย่างลงในหลอดทดสอบที่ใส่ตัวอย่างยาสมุนไพร แล้วปิดจุกพลาสติกให้แน่น จากนั้นเขย่าให้เข้ากันประมาณ 3 นาที ตั้งทิ้งไว้จนเกิดการแยกชั้น จากนั้นดูดน้ำยาส่วนใสไม่ให้มีฟองอากาศ และหยดลงในหลุมทดสอบในลักษณะตั้งตรงทีละหยด จำนวน 4 หยด อ่านผลการทดสอบภายใน 10-15 นาที แล้วสังเกตผล โดยหากพบว่า เป็นเส้นสีแดง 2 เส้น แสดงว่า ไม่มีการปนปลอมของยาสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรที่ทดสอบ แต่ถ้าเห็นเป็นเส้นสีแดง 1 เส้น แสดงว่า มีการปนปลอมของสารสเตียรอยด์2 (รูปที่ 2) ชุดทดสอบนี้หาซื้อและสอบถามได้ที่ ศูนย์ชุดทดสอบและผลิตภัณฑ์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โทรศัพท์ 0-2951-0000 ต่อ 98450



นอกจากชุดทดสอบที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การตรวจสอบการปนปลอมยาสเตียรอยด์ เด็กซ์ซาเมทาโซน และเพร็ดนิโซโลน ในตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจำนวนมาก สามารถใช้ “วิธีรงคเลขผิวบาง (Thin layer chromatography, TLC)” ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ตรวจสอบได้หลาย ๆ ตัวอย่างในเวลาเดียวกัน วิธีนี้เป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใช้ในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณของวัตถุดิบสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพร วิธี TLC มีหลักการคือ การแยกสารตามหลักการโครมาโทกราฟี ที่มีวัฏภาคคงที่ และวัฏภาคเคลื่อนที่ หลังจากนั้นจะตรวจสอบสารด้วยน้ำยาพ่นเฉพาะ ในกรณีการตรวจสอบการปนปลอมยาสเตียรอยด์ เดกซ์ซาเมธาโซน และเพร็ดนิโซโลน ระบบ TLC ที่จะแนะนำ คือ วัฏภาคคงที่ Silica gel GF254 ส่วนวัฏภาคเคลื่อนที่ อาจจะเป็น dichloromethane : methanol อัตราส่วน 9:1 หรือ toluene : ethyl acetate : formic acid อัตราส่วน 50:45:10 น้ำยาพ่นที่ใช้คือ tetrazolium blue ซึ่งถ้ามีการปนปลอมสเตียรอยด์ จะเกิดเป็นแถบสีม่วงน้ำเงิน ในระยะเดียวกับสเตียรอยด์ที่ใช้เป็นสารเปรียบเทียบ โดยทั่วไปสมุนไพรมักจะมีสารกลุ่มสเตียรอยด์ที่พืชสร้างขึ้นมาเอง เช่น beta-sitosterol, stigmasterol, campesterol แต่สารดังกล่าวจะมีค่า Rf ที่มากกว่ายาสเตียรอยด์สังเคราะห์ เนื่องจากมีขั้วน้อยกว่า และจะไม่ให้ผลบวกกับน้ำยาพ่น tetrazolium blue เป็นสีม่วงน้ำเงิน บางครั้งผลของทีแอลซีโครมาโทแกรมของตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบอาจจะมีแถบสารที่มีค่า Rf เท่ากับหรือใกล้เคียงกับยาสเตียรอยด์เมื่อตรวจสอบภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 254 นาโนเมตร แต่ถ้าพ่นด้วยน้ำยาพ่นแล้วไม่ให้สีม่วงน้ำเงิน แสดงว่าตัวอย่างดังกล่าวไม่มียาสเตียรอยด์ ทั้งนี้เพราะตัวอย่างดังกล่าวอาจจะมีสารอื่นที่มีขั้วใกล้เคียงกับยาสเตียรอยด์ แต่ถ้าตัวอย่างยาลูกกลอนที่นำมาตรวจสอบมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม ผลของโครมาโทแกรมที่พ่นด้วยน้ำยา tetrazolium blue จะพบว่ามีแถบที่ให้ผลบวกเป็นสีม่วงน้ำเงินใกล้จุดเริ่มต้น ทั้งนี้เนื่องจากน้ำยาพ่น tetrazolium blue ให้ผลบวกกับสารกลุ่มน้ำตาลด้วย ซึ่งถ้านำตัวอย่างลูกกลอนที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม มาตรวจสอบกับน้ำยาพ่นโดยตรงโดยไม่มีการแยกสารตามวิธี TLC จะพบผลบวกลวง ฉะนั้นจึงถือได้ว่า วิธี TLC เป็นวิธีที่ใช้ตรวจสอบการปนปลอมด้วยยาสเตียรอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และรวดเร็ว3




เอกสารอ้างอิง
  1. http://th.88db.com/thailand/Central-Region+Nonthaburi/Health/Medical-Equipments-Lab/ad-1445514/
  2. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000108526
  3. นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ อุทัย โสธนะพันธุ์ ประไพ วงศ์สินคงมั่น. ทีแอลซี: วิธีอย่างง่ายในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องยาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2554. 

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

พลังแรงๆดูดลมเข้าเครื่องฟอกอากาศ (เครื่องกรองอากาศ) ทำให้อากาศสะอาดมากกว่า จริงหรือ?


... สมัยก่อน การทำให้อากาศอากาศขึ้น จะใช้วิธีเปิดช่องหน้าต่างให้ลมพัดเข้ามาในห้อง แล้วเปิดช่องระบายลมออกอีกข้างให้มากๆเข้าไว้ เป็นการเจือจางอากาศให้มีความเข้มข้นมลพิษต่ำลง




... มาถึงยุคเครื่องกรองอากาศ ชาวบ้านชอบเรียกเครื่องฟอกอากาศ แต่การที่มีห้องใหญ่ๆตึกยักษ์ๆเกิดขึ้นไม่พอใช้งาน ทำให้เกิดการกั้นห้องมากขึ้น อากาศไม่ได้ระบายอย่างที่เคยเป็นหรือวางแผนไว้แต่แรก คนจึงนำระบบแผ่นกรองอากาศมาใช้ ด้วยการเอาเครื่องที่มีมอเตอร์พัดลมมาดูดอากาศออกจากห้อง เข้าไปผ่านในเครื่องที่มีแผ่นกรองอากาศ มลพิษก็จะถูกจับกั้นไว้ติดที่แผ่นกรอง ... ยิ่งเครื่องดูดอากาศจากห้องได้มากได้เร็ว มลพิษต่างๆก็จะเข้าไปอยู่ในเครื่องได้มากตามไปด้วย เป็นที่มาของเครื่องกรองอากาศ (ชาวบ้านเรียกเครื่องฟอกอากาศ)ที่ว่า ใครมีแรงดูดมากกว่า ก็จะเป็นเครื่องกรองอากาศที่ดีกว่า แต่ก็อย่าลืมว่าสารมลพิษจะถูกสะสมไว้ที่แผ่นกรอง เมื่อมอเตอร์พัดลมดูดแรงๆ ก็จะทำให้แผ่นกรองขาดได้ สารมลพิษก็จะถูกออกมาอีกทาง ตอนนี้ก็กลายเป็นเครื่องพ่นมลพิษไปซะงั้น ... จากการสำรวจพบว่า แผ่นกรองมักจะขาดเสมอ เพราะแรงดูดของมอเตอร์พลังสูงที่พยายามจะดูดอากาศผ่านแผ่นกรองที่อุดตันด้วยสารมลพิษ ก็ทำให้แผ่นขาดเป็นรู อีกสาเหตุหนึ่งคือ คนเอาแผ่นกรองไปล้างหรือดูดด้วยเครื่องดูดฝุ่นหรือเคาะ ซึ่งแผ่นกรองละเอียด (HEPA) ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เพราะต้องเปลี่ยนอย่างเดียว

... มาถึงยุคใหม่ สร้างพื้นที่ปลอดมลพิษ ด้วยเทคโนโลยี่ในศตวรรษนี้ วิศวกรคิดว่าทำไมต้องดูดมลพิษเข้าไปในเครื่องอย่างเดียว ไม่ผลิตสารเลียนแบบธรรมชาติที่ทำลายมลพิษได้ทันทีข้างนอกเครื่อง ก็ไปเจออนุภาคไฟฟ้าลบ คิดค้นมากว่า 30 ปี ให้ถูกพ่นเข้าไปในห้อง แต่ก็ทำได้แค่จับฝุ่น ทำลายมลพิษไม่ได้มาก การค้นคว้าก็เลยไม่คืบหน้าต่อ  จนกระทั่งมีวิศวกรคิดค้นนวตกรรมใหม่โดยบังเอิญ คืออนุภาคไฟฟ้าบวกและลบ พ่นพร้อมกันเข้าไปในห้อง

... ยุคที่เชื้อโรคมลพิษหดหาย ด้วยการที่อนุภาคไฟฟ้าบวกและลบ ที่ถูกพ่นเข้าไปในห้อง  ไปทำลายเชื้อโรคและสาร



พิษหลายๆประเภทได้  ทำให้เกิดห้องปลอดเชื้อหรือโซนอากาศสะอาด  คนที่เข้าไปอยู่ในโซนหรือผ่านโซนนี้  ก็จะสะอาดตามไปด้วยเพราะเชื้อโรคและสารพิษถูกทำลายทันทีที่เข้าไปในโซนหรือห้องนั้นๆ ... วิธีนี้ไม่ต้องใช้พัดลมดูดลมแรงๆ  ไม่ต้องดักจับสารพิษเข้าในเครื่อง  ชีวิตมนุษย์ลดความเสี่ยงต่อโรคภัยได้มาก  ใครเคยได้ใช้ก็จะรู้ว่าประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลไปนานเลย



... อ้าว โซนอากาศสะอาดไม่เคยทำได้มาก่อนเหรอ ก็มีเหมือนกันแต่เลิกใช้ไปแล้ว เป็น โอโซน หรือ แสงยูวี  สามารถสาดเข้าไปในห้องได้ เจ้าสองตัวนี้ก็ทำลายเชื้อหรือสารมลพิษได้เหมือนกัน แต่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต จึงไม่สะดวกในการใช้งาน ก็นิยมใช้น้อยลงเรื่อยๆ ... ส่วนที่มีการขายในท้องตลาด จะเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่ว่า โอโซน หรือ แสงยูวี เหล่านี้ จะทำลายเชื้อโรคหรือสารมลพิษ ต่อเมื่อมันมีความเข้มข้นสูงมากๆ  มากจนอันตรายต่อมนูษย์ ไอ้ความเข้มข้นที่มีขายในท้องตลาด ไม่พอที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพใช้งานจริงๆหรอก แค่ได้กลิ่นคาวปลาของโอโซน คนก็เชื่อว่ามันทำงานได้ ซึ่งไม่จริงแต่ประการใด


วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ

ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และ 10 ไมครอน (PM10) หากมีค่าเกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศจะส่งผลกระทบตอ่ ระบบทางเดินหายใจของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย




ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเส้นทางของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าสู่ทางเดินหายใจนั้นขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความหนาแน่น รวมถึงลักษณะของลมหายใจร่วมด้วย


ปกติมลพิษอากาศรวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ ระบบทางเดินหายใจจะแบ่งเป็น 2 ส่วน

1.       ส่วนบนคือ ช่องจมูกและหลอดลม และระบบทางเดินหายใจ
2.       ส่วนล่างคือ ท่อปอด (bronchial tubes) และปอด

ซึ่งฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 ไมครอน หรือที่เรียกว่าฝุ่นที่หายใจเข้าไป (respiration particulate matter, RPM) จะรอดจากการกรองเข้าไปถึงปอดได้ ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน จะเข้าไปถึงถุงลมปอดได้ ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ
ฝุ่นละอองเล็กๆนี้เมื่อถูกหายใจเข้าปอด จะไปเกาะติดผนัง นานเข้าก็จะคล้ายยางเหนียว ทำให้ความสามารถในการหายใจของปอดลดน้อยลง สร้างปัญหาในระยะยาวกับร่างกายต่อไปอีกนาน

โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบด้วย

1. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)
2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
3. โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema)
4. โรคปอดอักเสบ ( Interstatial lung disease)
5. โรคหอบหืด ( Asthma)


นักวิทยาศาสตร์ที่จีนได้รวบรวมฝุ่นละออง จากนั้นนำมาสกัดและลำดับดีเอ็นเอในตัวอย่าง เพื่อระบุสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ 1,315 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบคทีเรีย โดยในฝุ่นละออง ที่เก็บตัวอย่างยังพบเห็ดรา และเชื้อไวรัสรวมอยู่ด้วย ผลการศึกษาล่าสุดพบเชื้อจุลินทรีย์กว่า 1,300 สายพันธุ์ลอยปะปนอยู่ในอากาศ ที่มีมลพิษของกรุงปักกิ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

ผลข้างเคียงจากเครื่องสำอาง

ในประเทศไทยปัญหาการใช้ครีมหรือขี้ผึ้งสเตียรอยด์พบได้ค่อนข้างบ่อย เพราะยาในกลุ่มนี้ประชาชนสามารถซื้อหาได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งแพทย์ และมีราคาถูก 10 กรัมราคาเพียง 50 บาท มีเป็นร้อยยี่ห้อ ส่วนมากประชาชนมักจะคิดว่า ครีมทาผิวภายนอกไม่ค่อยมีอันตราย



ในขณะที่ประเทศเจริญแล้ว เช่น อเมริกา, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ ครีมในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ประชาชนไม่สามารถซื้อใช้เอง ต้องมีใบสั่งแพทย์ ร้านขายยาจึงจะขายให้ เพราะผิดกฎหมาย ครีมสเตียรอยด์มีประโยชน์ คือ แก้แพ้ แก้คัน แก้ผื่นผิวหนังอักเสบ บางคนพอใช้แล้วหน้าเรียบ ก็เลยใช้ต่อเนื่อง ถ้าใช้ช่วงสั้น ๆ ไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้นานๆ จะติด ไม่ ใช้ไม่ได้ และเพิ่มความแรงของยาขึ้นเรื่อย ๆ ตรงนี้เองที่ทำให้เกิดปัญหาหยุดไม่ได้ พอหยุดผิวหนังจะอักเสบเห่อขึ้นมา

โดยผลข้างเคียงจากการใช้ครีมสเตียรอยด์ แบ่งได้ดังนี้

1. ประเภทเฉียบพลัน ได้แก่ 

    1.1.การเกิดสิว ครีมกลุ่มนี้ทำให้เกิดสิว โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า และหน้าอก โดยสิวที่เกิดจากสเตียรอยด์ จะแตกต่างจากสิวทั่วไป จะเห็นเป็นสิวในแบบเดียวกันทั้งหมด คือ เป็นตุ่มนูนแดง (ไม่มีหัวหนองหรือไขมันอุดตัน) 



    1.2 รอยโรคเดิมเป็นมากขึ้น พวกนี้ส่วนมากเกิดจากการใช้ยาผิดโรค เช่น เป็นโรคกลากเกลื้อนแล้วใช้ครีมสเตียรอยด์ทาจะทำให้เป็นมากขึ้น 

    1.3 เกิดผื่นแพ้สัมผัส ซึ่ง อาจเกิดการแพ้สารกันบูดหรือน้ำหอมที่ใส่ในครีมสเตียรอยด์ได้ ส่วนการแพ้ตัวสเตียรอยด์เองนั้นก็พบได้แต่พบได้น้อย

2. ประเภทเรื้อรัง ได้แก่ ทำให้ผิวหน้าบางลง ออกแดดไม่ได้ เวลาเจอแดดก็จะแสบร้อน หลอดเลือดใต้ผิวหนังเปราะแตกง่าย ขนยาวขึ้นบริเวณทายา เกิดสิวและผื่นอักเสบรอบปาก เกิดภาวะติดยา ซึ่งเป็น ปัญหาที่พบบ่อยในเมืองไทยและรักษายาก ภาวะนี้เกิดจาการใช้ครีมสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เวลาหยุดยาแล้วจะแดง หรือโรคผิวหนังอักเสบเดิมจะเป็นมากขึ้น ทำให้หยุดใช้ยาไม่ได้และต้องใช้ครีมสเตียรอยด์ แรงมากขึ้น นอกจากนี้อาจไปกดการทำงานของต่อมหมวกไต ซึ่งมักเกิดจากการใช้ครีมสเตียรอยด์ชนิดแรงเป็นเวลานานโดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ

ผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยด์, การใช้ผลิตภัณฑ์ Whitening ที่ทำให้ผิวขาว, เครื่องสำอางปลอม และการเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ด้านความงาม จากการการโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต เหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะครีมทาผิวบางชนิด ที่ใช้ได้เฉพาะที่ เช่น ทาบริเวณผิวหน้าเท่านั้น ห้ามนำมาทาตัว หรือทาบริเวณทั่วร่างกายห้ามทาบริเวณใบหน้า ดังนั้นการซื้อครีมทาผิว ต้องอ่านฉลากให้ละเอียดเสียก่อนนำมาใช้ ทั้งในส่วนที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไป, ตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือการโปรโมทขายสินค้าตามรายการโทรทัศน์เคเบิ้ลทีวีบางช่อง สื่อเหล่านี้ให้ระวัง เพราะมักจะมีการโฆษณาเกินจริง



บางครั้งครีมทาผิวดังกล่าวอาจจะเป็นของเลียนแบบ, ของปลอม หรือมีส่วนผสมของสารโคเบตาซอล ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ชนิดที่แรงที่สุด เอาไว้รักษาโรคผิวหนังอักเสบที่เป็นเรื้อรัง หรือเป็นผื่นหนา และมีคำเตือนว่าห้ามใช้ติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์ สารนี้จัดเป็นยาและไม่สามารถอยู่ในเครื่องสำอางได้ สารชนิดนี้ออกฤทธิ์ที่ผิวหนังถึงชั้นหนังแท้และอาจเป็นแผลถาวร



ซึ่งผลของมันนอกจากไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิว, ไปรบกวนเรื่องของการสร้างอิลาสติน และคอลลาเจนของผิวหนังแล้ว ยังทำให้เกิดการแตกลายงาของผิวหนัง ทำให้ผิวบางและเส้นเลือดขยาย หากไปทาที่ใบหน้าหรือบริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะจะทำให้เกิดสิวซึ่งรักษายากกว่าสิวทั่วไป และเมื่อผิวบางโดนอะไรจะแพ้ง่าย และมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้ด้วย 

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การใช้เตาไมโครเวฟ ปลอดภัยจากคลื่นรังสีหรือเปล่า มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรจึงปลอดภัย

คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในธรรมชาติประเภทหนึ่ง เหมือนๆกับคลื่นวิทยุ คลื่นอินฟราเรด สัญญาณ 3G 4G Wifi แรงกว่านี้ก็คือพวกคลื่นเอ็กซ์เรย์ รังสีแกมม่า


คลื่นไมโครเวฟมีความยาวคลื่น 12-33 เซนติเมตร สามารถถ่ายทอดพลังงานให้แก่โมเลกุลของน้ำได้ ด้วยการขยับขั้วสนามไฟฟ้า มีผลให้โมเลกุลของน้ำเสียดสีกัน ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงขึ้น (คล้ายเราเอามือสองข้างถูไปๆมาๆ เกิดความร้อนขึ้น) ไปมีผลทำให้อาหารสุกได้ เห็นได้ว่าความร้อนที่ทำให้อาหารสุกนั่นเอง ไม่ใช่เกิดจากการสุกด้วยกัมมันตรังสี อย่างที่เป็นข่าวลือ



อาหารที่สุกด้วยคลื่นไมโครเวฟจึงต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบของวัตถุดิบ ... หากอาหารวัตถุดิบไม่มีน้ำ ก็จะไม่สามารถทำให้สุกด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่ข้อเท็จจริงคืออาหารจะมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ในตัวเอง จึงสุกได้อยู่แล้ว คลื่นไมโครเวฟจึงทำให้อาหารสุกจากข้างในตัวออกสู่ด้านนอก ... แตกต่างจากการใช้แก๊สหุงต้ม ไอน้ำนึ่ง การเผาปิ้ง ซึ่งทำให้อาหารสุกจากข้างนอกวัตถุดิบไปยังข้างใน

การที่อาหารสุกด้วยคลื่นไมโครเวฟ จะเริ่มจากด้านในวัตถุดิบออกสู่ด้านนอก ทำให้ผู้ปรุงอาหารสังเกตุเห็นได้ยาก (นอกจากผู้ชำนาญหรือทำบ่อยๆ) อาจต้องกะเวลาด้วยตัวเองในช่วงแรกๆ ... ควรมีข้อระวังการเดือดทะลักของอาหารหรือน้ำที่เดือด ที่พุ่งขึ้นมาจากภาชนะบรรจุ (คล้ายๆภูเขาไฟระเบิด) จึงไม่ควรมองอาหารหรือน้ำในภาชนะจากด้านบน ... เป็นหลักความปลอดภัยพื้นฐาน เฉกเช่น การต้มน้ำเดือดด้วยแก๊ส ก็ไม่ให้เปิดฝาหม้อดูในทันที , การต้มด้วยแรงดันไอน้ำสูง ต้องดูไม่ให้มีการระเบิด , การเผาปิ้งอาหารที่ทำให้เนื้อสัตว์ไหม้เกรียม หลีกเลี่ยงผิวหนังจากถ่านระอุ เป็นต้น

คุณค่าอาหารจะสูญเสียมากหรือน้อย

เราพบได้ว่าสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อน การทำอาหารให้สุกด้วยความร้อนทุกรูปแบบ ก็จะมีส่วนให้คุณค่าอาหารเสียไป ไม่ว่าจะเป็น การต้ม การปิ้ง การนึ่ง การใช้ไมโครเวฟ มากหรือน้อยขึ้นกับอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ทำความร้อน เป็นตัวกำหนดคุณค่าอาหารมากกกว่าวิธีการที่ใช้ปรุง ... เราพบได้ว่าการใช้ไมโครเวฟทำอาหาร จะใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการปรุงอื่นๆ จึงน่าจะคงคุณค่าอาหารได้มากกว่า

ภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร

ภาชนะที่เข้าเตาไมโครเวฟ ก็มีข้อกำหนดเหมือนกับวิธีการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่นๆ คือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติคที่เข้าไม่ได้และโฟม เพราะพวกนี้จะคายสารที่ไม่ทราบออกมาเมื่อมีความร้อนสูง , โลหะที่มีความคม รวมถึงฟอยด์ ทำให้เกิดประกายไฟในเตา ... ควรใช้เซรามิค ได้ทุกประเภท แต่ต้องไม่มีสีเงินสีทอง ซึ่งเป็นตัวสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ ทำให้เตาเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงอาจมีพิษจากตะกั่วที่อยู่ในสีด้วย

คลื่นไมโครเวฟจะหลุดลอดจากเตา มาทำอันตรายคนได้หรือไม่

คลื่นไมโครเวฟมีความยาวคลื่นสูง เขาจึงใช้แผ่นตะแกรงเหล็กกั้นไว้ที่ประตูด้านหน้า ไม่ให้หลุดลอดออกมาตอนเปิดใช้งานเครื่อง อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจสอบการรั่วไหลได้ด้วยมิเตอร์วัดที่ช่างบริการศูนย์ใหญ่ๆมีอยู่แล้ว






รังสี UV หรือ Ozone ที่ใช้กันตามบ้านหรือในรถยนต์ ใช้ทำลายเชื้อโรคและกลิ่นอับได้จริงหรือไม่ ปลอดภัยจริงหรือไม่

คำถามที่มักเจอบ่อยคือ รังสียูวี หรือ โอโซน มีประสิทธิภาพในการทำลายกลิ่นอับหรือเชื้อโรคได้ดีหรือเปล่า ปลอดภัยที่จะใช้ในรถหรือตามบ้านหรือเปล่า แต่ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ไม่ค่อยใช้กัน


กลไกในการทำลายเชื้อโรค


รังสียูวี  Ultraviolet

จะแยกออกเป็น 3 ชนิด ตามช่วงคลื่นคือ


1. UV-A   315-380 nm.
2. UV-B   280-315 nm.
3. UV-C   100-280 nm.


เราจะนิยมใช้ UV-C ซึ่งเป็นชนิดที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสได้ แต่ไม่สามารถทำลายสปอร์ของเชื้ออราได้  ความสามารถในการทำลายเชื้อโรค จะขึ้นกับความเข้มของแสงต่อหน่วยพื้นที่ (เชื้อโรคแต่ละชนิดก็ต้องใช้ความเข้มแสงที่แตกต่างกัน) นอกจากนี้เชื้อโรคที่ถูกรังสียูวีทำลายได้ จะเป็นเชื้อโรคแบบอิสระเท่านั้น (ลอยในอากาศ) ไม่สามารถทำลายเชื้อโรคที่ตกบนพื้นหรืออยู่นอกรัศมีที่รังสีจะไปถึง

การทำลายเชื้อโรคด้วยวิธีการที่ว่า ปริมาณแสงที่เข้มข้นมากพอ ในเวลาสัมผัสที่เพียงพอ แสงยูวีจะทะลุเข้าไปใน DNA ของเชื้อโรค ทำให้ DNA เพี้ยนไปจากปรกติ เชื้อโรคไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ก็จะตายในที่สุด

สารโอโซน  Ozone


                O2 + O ---> O
                O2 + O ---> O3

โอโซนแตกตัวให้ประจุของออกซิเจนที่มีความสามารถในการออกซิไดส์สูง มีผลรบกวนต่อการถ่ายโอนประจุระหว่างชั้นผนังเซลล์ ทำลายโครงสร้างผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ และทำลายองค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ ส่งผลให้เซลล์ของจุลินทรีย์เสียหาย แบบเฉียบพลันและตายในที่สุด อีกนัยหนึ่งคือทำลายแบบสิ้นซาก


ความสามารถในการทำลายเชื้อโรคและกลิ่นของโอโซน จะขึ้นกับความเข้มข้นที่สูงและระยะเวลาที่โอโซนสัมผัสนานพอ ไม่ใช่ว่าทุกความเข้มข้นจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปริมาณโอโซนกับการกําจัดเชื้อโรคต่างๆ

1. ไวรัส  ปริมาณโอโซน 0.5 - 1.5 ส่วนในล้านส่วน (P.P.M.) สามารถกําจัดเชื้อไวรัสได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้อต้องไม่น้อยกว่า 4 นาที

2. แบคทีเรีย  ปริมาณโอโซนที่ใช้ในการกําจัดเชื้อแบคทีเรียขึ้นอยู่กับชนิด และปริมาณของแบคทีเรีย โดยทั่วไปโอโซนเข้มข้น 10 ส่วนในล้านส่วน สามารถกําจัดเชื้อแบคทีเรียได้ 99% โดยระยะเวลาการฆ่าเชื้ออย่างน้อย 10 นาที

3. เชื้อรา  ปริมาณโอโซนที่ใช้กับเชื้อราจะต้องใช้ปริมาณโอโซนมากกว่าการใช้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากเชื้อรามีการ สร้างสปอร์ฉะนั้นในการกําจัดเชื้อรา 99 % ต้องใช้ปริมาณ โอโซนประมาณ 20 ส่วน ในล้านส่วนที่ระยะเวลาการฆ่าเชื้อ อย่างน้อย 30 นาที

การเลือกใช้โอโซนทำงาน ต้องถามว่าความเข้มข้นเท่าไหร่ ทำลายกี่เปอร์เซ็นต์ ห้ามเชื้อโรคขยับไปไหนเป็นเวลานานเท่าไหร่

ในโรงพยาบาล จึงต้องให้คนออกจากห้องก่อน เพื่อความปลอดภัย จากนั้นค่อยเปิดเครื่องทำงานทิ้งไว้ได้ หลังจากปิดเครื่องแล้ว ก็ต้องปล่อยห้องให้ว่างไว้มากกว่า 4 ชั่วโมง จึงกลับเข้าไปใช้งานห้องได้อีกครั้ง ... เป็นความไม่สะดวกของการใช้งาน และเสี่ยงต่อความปลอดภัยของพนักงาน จึงมีความนิยมใช้ลดลงเรื่อยๆ

ความปลอดภัยในการใช้งานรังสียูวี และสารโอโซน

จากข้างบน จะเห็นได้ว่า วิธีการฆ่าเชื้อโรคและทำลายกลิ่นของทั้งสองวิธี เป็นการทำลายชนิดรุนแรง และมีผลต่อระดับ DNA จึงต้องคำนึงถึงความเป็นพิษที่เกิดขึ้นต่อการสัมผัสต่อมนุษย์เช่นกัน ทางหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคได้มีการกำหนดมาตราฐานความปลอดภัยไว้ (ขณะเดียวกันประสิทธิภาพการทำงานก็จะด้อยลง) อาทิเช่น

-  FDA หรือ อย. แห่งสหรัฐอเมริกา  ได้กำหนดว่าเครื่องผลิตโอโซนไม่ควรผลิตโอโซนเกิน 0.05  ppm.   (ส่วนในล้านส่วน)  สำหรับใช้ภายในอาคาร

-  OSHA   หรือ  (Occupational Safety and Health Administration)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรทำงานในบริเวณที่มีความเข้มข้นของโอโซนเกิน  0.10  ppm.  เกินกว่า  8 ชั่วโมง

-  สถาบัน    NIOSH   หรือ  (National Institute of Occupational Safety and Health)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีโอโซนเกิน 0.10  ppm.   ไม่ว่ากรณีใด

-  สำนักงาน   EPA   หรือ (Environmental Protection Agency)  ตั้งข้อกำหนดว่า  ไม่ควรอยู่ในที่ที่มีโอโซนถึง 0.08   ppm.   เกิน 8 ชั่วโมง

ค่ามาตรฐานการสัมผัสโอโซนสำหรับ 8 ชั่วโมงการทำงานของประเทศญี่ปุ่นและออสเตรเลียคือ 0.1 ส่วนในล้านส่วน (parts per million, ppm)ส่วนมติที่ประชุมของนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐบาลแห่งสห รัฐอเมริกา (American Conferenceof Governmental Industrial Hygienists, ACGIH)ได้กำหนดค่าที่ยอมให้มีได้ในบรรยากาศการทำงาน(Threshold Limit Value, TLV) ของโอโซนเป็น 0.1 ส่วนในล้านส่วน เช่นเดียวกัน แต่เป็นค่าที่ไม่ยอมให้มีเกินค่านี้ในบรรยากาศการทำงาน ไม่ว่าในเวลาใดก็ตามค่า ceiling ระดับความเข้มข้นของโอโซนที่ 10 ส่วนในล้านส่วน  เป็นระดับที่ทำอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพทันที (ImmediatelyDangerous to Life and Health, IDLH)

การที่ต้องเข้มงวดในการกำหนดความเข้มข้นของโอโซน เพราะคุณสมบัติของมันโดยเฉพาะที่มีความเข้มข้นมาก  สามารถทำปฏิกิริยากับร่างกายได้และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เมื่อหายใจเข้าไปโอโซนทำอันตรายต่อปอด  แม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยโอโซนสามารถทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอ หายใจไม่ออก เจ็บคอ ระคายเคืองคอ  โอโซนสามารถทำให้เกิดปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอย่างเรื้อรังอย่างเช่น โรคหอบ  นอกจากนั้นโอโซนยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดลง

สรุปสั้นได้ว่า

ความเข้มข้นที่สามารถฆ่าเชื้อโรค และทำลายกลิ่นได้จริง       20      ppm
มาตราฐานที่ให้ใช้ตามบ้าน ต้องมีความเข้มข้นไม่เกิน               0.10 ppm
ความเข้มข้นที่มักพบอาการพิษให้เห็นบ่อยๆ                             0.25 ppm

ผลต่อสุขภาพระยะสั้น : โอโซนที่ระดับความเข้มข้นต่ำ (0.01-0.02 ส่วน ในล้านส่วน) ก็สามารถตรวจสอบกลิ่นได้แล้ว

โอโซนในระดับความเข้มข้น 0.25 ส่วนในล้านส่วนขึ้นไป มีผลทำให้เกิดความระคายเคืองต่อตา จมูก และคอทำให้หายใจสั้น วิงเวียน และปวดศีรษะได้

นอกจากนี้ยังพบว่าเป็นสาเหตุของความล้าและการสูญ เสียประสาทรับรู้กลิ่นด้วย คนที่มีโรคทางระบบหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืด ไม่ควรสัมผัสโอโซนเลย


สูดโอโซนแล้วสดชื่นจริงหรือไม่

หลายคนคงเคยได้ยินคำกล่าว “สูดโอโซนแล้วทำให้สดชื่น”คำกล่าวนี้คงทำให้หลายคนเข้าใจผิด คิดว่า โอโซน มีประโยชน์ซึ่งแท้จริงแล้วโอโซน ไม่ใช่อากาศที่มนุษย์เราใช้ในการหายใจเลย  โอโซนเป็นก๊าซไม่มีสีแต่มีกลิ่นเหม็นคาว ซึ่งเป็นพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต  โอโซนมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา จึงมักจะเกิดปฏิกิริยากับสารอื่นๆในสิ่งแวดล้อม  ความรู้สึกที่ว่าโอโซนดับกลิ่นทำให้ อากาศสดชื่นนั้นความจริง เกิดจากการที่โอโซนเข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของสารที่มีกลิ่นให้กลายเป็นอีกโมเลกุลซึ่งไม่มีกลิ่น ทำให้เรารู้สึกสดชื่นนั่นเองไม่ใช่เป็นเพราะโอโซนอย่างที่เราเข้าใจกันนั่นเอง
                 



วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เชื้อไวรัส MERS คืออะไร ไม่มีวัคซีนหรือยารักษาได้จริงหรือ ทางเลือกในการป้องกันตัวเองคืออะไร

MERS เป็นเชื้อไวรัสประเภทหนึ่ง สายพันธุ์คล้ายกับเชื้อไวรัสซาร์สที่เคยอาละวาดหลายปีก่อนในแถบตะวันออกกลางคือ ซาอุดิอาระเบีย มีผลให้คนตายไปเยอะ แล้วก็หายไป จนมาพบอีกครั้งในปีนี้ที่ประเทศเกาหลี พบผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสเมอร์สกระจายไปคลีนิคหลายแห่งและโรงพยาบาล ทำให้ผู้ที่ได้รับการติดเชื้อเมอร์สส่วนใหญ่ เป็นบุคลากรทางการแพทย์ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล พยาบาล รวมถึงแพทย์ 



อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปก็คล้ายการได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่จะรุนแรงกว่า เช่น เป็นไข้ ปวดหัว หายใจไม่สะดวก ท้องเสีย เชื้อไวรัสเมอร์สจะแพร่ติดต่อทางอากาศ ในรูปแบบละอองฝอย (droplet) ทำให้ต้องระมัดระวังหลีกเลี่ยงการถูกไอจามพุ่งเข้าใส่ผู้คนรอบข้างตรงๆ อีกทั้งเชื้อไวรัสสามารถเกาะติดตามพื้นผิวต่างๆได้ด้วย เชื้อไวรัสเมอร์สสามารถมีชีวิตได้ 8-12 ชั่วโมงตามพื้นผิว หากคนไม่สัมผัสถูกเชื้อเมอร์ส แล้วมาป้ายตาป้ายปาก ขยี้แคะจมูก ก็สามารถติดเชื้อเมอร์สได้เช่นกัน


เชื้อไวรัสเมอร์สจะแพร่ติดต่อกับทุกเพศทุกวัย แต่มักแสดงอาการรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต ในกลุ่มคนสูงอายุหรือเด็ก เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่ำกว่ากลุ่มประชากรอื่น ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยาที่รักษาได้ การให้ความช่วยเหลือเป็นการบรรเทาตามอาการต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ให้ลดไข้ ช่วยหายใจ




อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็ตาม ความแตกต่างจะอยู่ที่ชนิดโปรตีนที่ประกอบใน DNA หรือ RNA  แต่เปลือกนอกหรือผนังเซลล์ที่ห่อหุ้มเชื้อไวรัสอยู่ จะมีส่วนประกอบเหมือนกันคือ Peptidoglycan ที่มี H-bond เป็นพันธะที่ดึงกันไว้ ทำให้เกิดเป็นเปลือกนอกห่อหุ้มของเหลวและ DNA ที่อยู่ข้างใน


การวิจัยทดสอบได้เกิดเทคโนโลยี่ใหม่ที่มีสารหรือสิ่งที่ไปดึง H-bond ให้แยกออกมาได้ ทำให้เปลือกนอกหรือผนังเซลล์ชั้นเดียวที่มีของเชื้อไวรัสแตกออกได้ เชื้อไวรัสก็ไม่สามารถคงสภาพต่อไปได้ หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่าถูกทำลายนั่นเอง เทคโนโลยี่เหล่านี้ถูกพัฒนาคิดค้นโดยชาร์ป ภายใต้ชื่อ อนุภาค "พลาสม่าคลัสเตอร์" ในรูปแบบทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า active hydroxyl มีสูตรทางเคมีว่า OH  มีคุณสมบัติพิเศษที่ไปดึงพันธะไฮโดรเจนที่ว่านี้ได้จากผนังเซลล์เชื้อไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสถูกทำลายทันทีที่โดนอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ หรือ เข้าไปในโซนที่พลาสม่าคลัสเตอร์มีอยู่

แต่การศึกษาก็พบว่าการทำลายเชื้อไวรัสแบบละอองฝอย อาจต้องใช้อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ที่มีความเข้มข้นสูงระดับ 25,000 ไอออนต่อซีซี ให้ผลที่ดีกว่า (จากการศึกษาทดสอบของสถาบันไวรัสวิทยา รีโทรสกรีน ประเทศอังกฤษ)

มนุษย์กับเชื้อไวรัส คงต้องสู้รบกันอีกนานเพื่อความอยู่รอดของตนเอง การเกิดสายพันธุ์ใหม่ๆของเชื้อไวรัสก็เช่นกัน มีเกิดขึ้นหลากหลายในทุกๆปี มนุษย์ควรเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน หรือมีทางเลือกในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัส เพราะอย่างไรก็คงหนีกันไม่พ้นแน่นอน