อาหารที่สุกด้วยคลื่นไมโครเวฟจึงต้องมีน้ำเป็นส่วนประกอบของวัตถุดิบ ... หากอาหารวัตถุดิบไม่มีน้ำ ก็จะไม่สามารถทำให้สุกด้วยคลื่นไมโครเวฟ แต่ข้อเท็จจริงคืออาหารจะมีส่วนประกอบของน้ำอยู่ในตัวเอง จึงสุกได้อยู่แล้ว คลื่นไมโครเวฟจึงทำให้อาหารสุกจากข้างในตัวออกสู่ด้านนอก ... แตกต่างจากการใช้แก๊สหุงต้ม ไอน้ำนึ่ง การเผาปิ้ง ซึ่งทำให้อาหารสุกจากข้างนอกวัตถุดิบไปยังข้างใน
การที่อาหารสุกด้วยคลื่นไมโครเวฟ จะเริ่มจากด้านในวัตถุดิบออกสู่ด้านนอก ทำให้ผู้ปรุงอาหารสังเกตุเห็นได้ยาก (นอกจากผู้ชำนาญหรือทำบ่อยๆ) อาจต้องกะเวลาด้วยตัวเองในช่วงแรกๆ ... ควรมีข้อระวังการเดือดทะลักของอาหารหรือน้ำที่เดือด ที่พุ่งขึ้นมาจากภาชนะบรรจุ (คล้ายๆภูเขาไฟระเบิด) จึงไม่ควรมองอาหารหรือน้ำในภาชนะจากด้านบน ... เป็นหลักความปลอดภัยพื้นฐาน เฉกเช่น การต้มน้ำเดือดด้วยแก๊ส ก็ไม่ให้เปิดฝาหม้อดูในทันที , การต้มด้วยแรงดันไอน้ำสูง ต้องดูไม่ให้มีการระเบิด , การเผาปิ้งอาหารที่ทำให้เนื้อสัตว์ไหม้เกรียม หลีกเลี่ยงผิวหนังจากถ่านระอุ เป็นต้น
คุณค่าอาหารจะสูญเสียมากหรือน้อย
เราพบได้ว่าสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินต่างๆ จะถูกทำลายด้วยความร้อน การทำอาหารให้สุกด้วยความร้อนทุกรูปแบบ ก็จะมีส่วนให้คุณค่าอาหารเสียไป ไม่ว่าจะเป็น การต้ม การปิ้ง การนึ่ง การใช้ไมโครเวฟ มากหรือน้อยขึ้นกับอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ทำความร้อน เป็นตัวกำหนดคุณค่าอาหารมากกกว่าวิธีการที่ใช้ปรุง ... เราพบได้ว่าการใช้ไมโครเวฟทำอาหาร จะใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการปรุงอื่นๆ จึงน่าจะคงคุณค่าอาหารได้มากกว่า
ภาชนะที่ใช้ในการปรุงอาหาร
ภาชนะที่เข้าเตาไมโครเวฟ ก็มีข้อกำหนดเหมือนกับวิธีการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่นๆ คือ หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติคที่เข้าไม่ได้และโฟม เพราะพวกนี้จะคายสารที่ไม่ทราบออกมาเมื่อมีความร้อนสูง , โลหะที่มีความคม รวมถึงฟอยด์ ทำให้เกิดประกายไฟในเตา ... ควรใช้เซรามิค ได้ทุกประเภท แต่ต้องไม่มีสีเงินสีทอง ซึ่งเป็นตัวสะท้อนคลื่นไมโครเวฟ ทำให้เตาเสื่อมเร็วกว่าปรกติ รวมถึงอาจมีพิษจากตะกั่วที่อยู่ในสีด้วย
คลื่นไมโครเวฟจะหลุดลอดจากเตา มาทำอันตรายคนได้หรือไม่
คลื่นไมโครเวฟมีความยาวคลื่นสูง เขาจึงใช้แผ่นตะแกรงเหล็กกั้นไว้ที่ประตูด้านหน้า ไม่ให้หลุดลอดออกมาตอนเปิดใช้งานเครื่อง อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจสอบการรั่วไหลได้ด้วยมิเตอร์วัดที่ช่างบริการศูนย์ใหญ่ๆมีอยู่แล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น