องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงเป็นอันดับที่ 18 ของโลก จากเดิมอยู่อันดับที่ 22 ของโลกในกลุ่มที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด
ศ.เกียรติยศ นพ.สงคราม ทรัพย์เจริญ ประธานกรรมการกลาง สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวในงานจัดประชุมวิชาการวัณโรคและโรคระบบทางการหายใจระดับชาติ ประจำปี 2558 ว่า ขณะนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้ไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงเป็นอันดับที่ 18 ของโลก จากเดิมอยู่อันดับที่ 22 ของโลกในกลุ่มที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากที่สุด ที่สำคัญขณะนี้ถือว่าไทยยังมีปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยาจำนวนมาก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ เช่น กทม. เป็นต้น นอกจากนี้ไทยยังมีปัญหากลุ่มโรคถุงลมโป่งพองและโรคติดเชื้อ ที่สามารถติดต่อกันได้ ดังนั้นตรงนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเฝ้าระวังป้องกันในกลุ่มโรคเหล่านี้ด้วย
ด้าน ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า WHO รายงานตัวเลขผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 9 ล้านราย แต่เข้าถึงการรักษาเพียง 6 ล้านรายเท่านั้น ส่วนสถานการณ์ในไทยมีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยในปี 2556 พบผู้ป่วย 113,900 ราย แต่ลงทะเบียนการรักษาเพียง 67,000 ราย แต่ขณะเดียวกันก็พบผู้ป่วยดื้อต่อยารักษาหลายขนานถึงร้อยละ 2 ส่วนผู้ป่วยรายเก่าดื้อยาร้อยละ 19 ทำให้ต้องเสียค่ารักษาสูงกว่าเดิมเป็นร้อยเท่า จากหลักแสนบาทเป็นหลักล้านบาท ดังนั้น สธ.จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติปี 2558-2562 เน้นหนัก 3 เรื่องคือ ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแล เพื่อลดป่วย ลดตาย ลดขาดยา และป้องกันเชื้อดื้อยา โดยมีเป้าหมายลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่ลงร้อยละ 20 จาก 170 ต่อแสนประชากรให้เหลือ 136 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยวัณโรคทุกคนจะได้รับการรักษาฟรี การรักษาจะช่วยตัดการแพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้าง
ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นปีละกว่าแสนราย แต่เข้ารักษาแค่ 50% ก็หมายความว่า ทุกวันนี้มีผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อวัณโรคมากถึง 50,000 คนต่อปี ผู้ป่วยบางคนก็ไม่แสดงอาการให้เห็นและสามารถเป็นพาหะของเชื้อได้นานกว่า 15 ปี เชื้อวัณโรคนี้แพร่กระจายติดต่อได้ทางอากาศ จึงเป็นความเสี่ยงสูงต่อการแพร่กระจายในที่สาธารณชน โดยเฉพาะผู้ที่โดยสารเดินทางด้วยรถเมล์ รถตู้ ที่มีความแออัดชนิดที่ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
ผู้ป่วยวัณโรคที่ได้กินยาตามกำหนดครบทุก 1 ปี ก็สามารถหายจากโรคนี้ได้ แต่ส่วนใหญ่หลงลืมบ้าง ขาดยาบ้าง ทำให้เป็นโรคเรื้อรังที่สร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา อาทิเช่น เกิดการดื้อยา แพร่เชื้อวัณโรคให้ผู้ใกล้ชิด การติดตามผู้ป่วยให้รับการรักษาอย่างเคร่งครัด เป็นสิ่งที่แพทย์กระทำอยู่
เชื้อวัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่ง ที่ทำให้เกิดเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) หรือที่เรียกย่อๆว่า TB ชอบอยู่ในที่ที่มีออกซิเจนมากๆ เช่น ปอด เชื้อนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอติดต่อกันเป็นเวลานานและเกิดแผลในปวดจนทำให้เสียชีวิตได้
เชื้อวัณโรคนี้สามารถล่องลอยปลิวฟุ้งอยู่ในอากาศได้ ถ้าผู้ป่วยที่มีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกายเกิดไปบ้วนน้ำลาย ถ่มถุย จามหรือไอออกมา เชื่อวัณโรคที่มีอยู่ก็จะฟุ้งกระจายไปได้เป็นละอองฝอย เสมหะที่เปียกอยู่แห้งก็มีสิทธิ์ที่จะปลิวว่อนไปในอากาศได้หากมีกระแสลมพัดพาไป
เมื่อมีผุ้ไปสูดหายใจในระหว่างที่เชื้อวัณโรคปลิวว่อนอยู่เข้ามาไปในปอดก็จะทำให้ปอดเกิดอักเสบขึ้นมาในที่สุด เกิดป่วยวัณโรคไปได้อีกหนึ่งรายทันที บางส่วนของวัณโรคจะเล็ดลอดเจ้าไปในกระแสเลือดแล้วแพร่กระจายออกไปในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ลำไส้ กระดูก ไต สมอง มีโอกาสรับเชื้อวัณโรคทั้งนั้น
ระยะที่โรคแสดงอาการค่อนข้างจะล่าช้าและยาวนานมาก จึงทำให้ผู้ป่วยละเลยในการรักษากันไป คิดว่าคงจะไม่เป็นไรนัก มีแต่ผู้ที่มารับการรักษาที่มีอาการรุนแรงมากแล้วเป็นส่วนใหญ่ โดยมากผู้ป่วยจะได้รับเชื้อวัณโรคมาตั้งแต่เด็ก วัณโรคระยะนี้จึงถูกเรียกว่า “วัณโรคในเด็ก” หรือ “วัณโรคปฐมภูมิ” เชื้อโรคส่วนมากจะสงบนิ่งอยู่ภายในร่างกายตลอดไปไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย
โรคนี้รุกเงียบจริงๆ จะมีแสดงอาการอยู่บ้างก็เป็นผู้ที่มีความต้านทานน้อยอาการของโรคก็แสดงออกมาได้ ระยะหลังนี้เราเรียกว่า “วัณโรคผู้ใหญ่” หรือ “วัณโรคทุติยภูมิ” นั่นเอง ผู้ทีความต้านทานน้อยลงเชื้อวัณโรคก็จะกำเริบ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ่สุขภาพไม่ดี ร่างกายทรุดโทรมเชื้อวัณโรคจ้องเล่นงานเอาได้อย่างรวดเร็ว
วัณโรคมีอาการอย่างไรบ้าง?
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีไข้ต่ำๆ หนาวสั่นและมีเหงื่อออกตอนกลางคืน
- ในระยะแรกจะมีอาการไอแห้งๆ
- ต่อมาจะไอมีเสมหะและจะไอมากในเวลาเข้านอน ตื่นนอนตอนเช้าและหลังอาหาร
- ไอเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์ ในรายที่เป็นมากๆจะหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดงๆหรือเลือดดำๆออกมาด้วย
- เด็กมักมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อย
- ในรายที่เป็นน้อยๆผู้ป่วยบางคนอาจจะรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยไม่มีอาการไอ
วิธีป้องกันตัวจากการเป็นวัณโรค
- รักษาร่างกายให้แข็งแรง
- อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท เช่น ในห้องก็ควรจะเปิดหน้าต่างให้มีลมพัดเข้ามาบ้างเพราะการปิดห้องและเปิดแต่เครื่องปรับอากาศนั้นจะทำให้อากาศไม่หมุนเวียนและอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรคได้
- เมื่อมีอาการไอควรสวมผ้าปิดปากเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
- ควรรีบไปรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดเพราะเมื่อคุณหายทุกคนก็ปลอดภัย ส่วนไหนของร่างกายที่ได้รับผล
ทางเลือกของการป้องกันตัวเองจากเชื้อวัณโรค
ในโรงพยาบาลจะมีการคัดแยกผู้ป่วยวัณโรคด้วยการเข้าพักในห้อง negative pressure แต่ก็มีราคาก่อสร้างสูงมาก ห้องประเภทนี้จึงมีจำกัด (ห้องแบบนี้ใช้คัดแยกคนไข้ติดเชื้อไวรัสรุนแรงด้วย) สำหรับพยาบาล ญาติหรือคนใกล้ชิดผู้ป่วย ก็ต้องระมัดระวังการรับเชื้อตัวนี้เช่นกัน มาตรการณ์ทั่วไปที่ใช้กัน ก็เช่นที่กล่าวในข้างบน
นอกเหนือจากวิธีดังกล่าว เคยมีการใช้รังสี UV หรือ โอโซนในระดับเข้มข้นสูงเกินกว่า 20 ppm (20 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน) มาทำลายเชื้อวัณโรค แต่ก็ทำได้แค่บริเวณที่จำกัดและใช้ได้ในบริเวณไม่มีคนอยู่เท่านั้น (เป็นพิษต่อคน มีการกำหนดให้ใช้โอโซนตามที่อยู่อาศัยไม่เกิน 0.01 ppm) นอกจากนี้ประสิทธิภาพในการทำลายต่ำลงเมื่ออากาศมีความชื้นสูงขึ้น (ไม่เหมาะกับประเทศแถบเอเชีย ที่มีความชื้นสูง)
ระบบอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย จึงได้ถูกนำมาทดสอบว่าสามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้หรือไม่
การทดสอบที่สถาบันโรคทรวงอก นนทบุรี ได้พบความจริงที่ว่า อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ระดับเข้มข้นจะทำลายเชื้อวัณโรคที่นำมาจากตัวอย่างห้องคนไข้ได้อย่างมีนัยสำคัญ การนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศระบบนี้ก็เป็นการลดความเสี่ยงของบุคคลทั่วไปในตอนนี้
ผลการทดสอบว่าพลาสม่าคลัสเตอร์สามารถทำลายเชื้อวัณโรคได้ ถูกตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศไทย และถูกนำเสนอในที่ประชุม สหพันธุ์แพทย์โรคทรวงอกแห่งโลก ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน
เครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ ได้ถูกนำมาติดตั้งในโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงต่อบุคลากรการแพทย์ ที่ต้องเสี่ยงภัยต่อการรับเชื้อวัณโรคโดยไม่รู้ตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น