วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หมอกฝุ่น (Smog) คืออะไร มีมหันต์ภัยต่อสุขภาพของคนแค่ไหน วิธีป้องกันตัวเองเมื่อเจอหมอกฝุ่นเหล่านี้


ฝุ่นละออง (Particulate Matter)  :  PM10

อนุภาคของแข็งและหยดละอองของเหลวที่แขวนลอยกระจายในอากาศ อนุภาคที่กระจายในอากาศนี้บางชนิดมีขนาดใหญ่ และมีสีดำจนมองเห็นเป็นเขม่าและควัน แต่บางชนิดมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ฝุ่นละอองที่แขวนลอยในบรรยากาศ โดยทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา ฝุ่นละอองสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของคน สัตว์ พืช เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน ทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญต่อประชาชน บดบังทัศนวิสัย ทำให้เกิดอุปสรรคในการคมนาคม ขนส่ง นานาประเทศจึงได้มีการกำหนดมาตรฐานฝุ่นละออง




ในบรรยากาศขึ้น สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา US. EPA (United state Environmental Protection Agency) ได้มีการกำหนดค่ามาตรฐานของฝุ่นรวม (Total Susoended Particulate) และฝุ่น Pm10 แต่เนื่องจากมีการศึกษาวิจัย ฝุ่นขนาดเล็กนั้นจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าฝุ่นรวม เนื่องจากสามารถผ่านเข้าไประบบทางเดินหายใจส่วนในและมีผลต่อสุขภาพมากกว่าฝุ่นรวม ดังนั้น US. EPA จึงได้มีการยกเลิกค่ามาตรฐานฝุ่นรวม และกำหนดค่ามาตรฐานฝุ่นขนาดเล็กเป็น 2 ชนิด คือ PM10 และ PM2.5
PM10 ตามคำจำกัดความของ US. EPA หมายถึง ฝุ่นหยาบ (Course Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศุนย์กลาง 2.5 – 10 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจากการจราจรบนถนนที่ไม้ได้ลาดยางตามการขนส่งวัสดุฝุ่นจากกิจกรรมบด ย่อย หิน


PM2.5 ตามคำจำกัดความของ US. EPA
หมายถึง ฝุ่นละเอียด (Final Particles) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศุนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ฝุ่นละเอียดที่มีแหล่งกำเนิดจากควันเสียของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากการหุงต้มอาหารโดยใช้ฟืน นอกจากนี้ก๊าซ SO2 NOx และสาร VOC จะทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดฝุ่นละเอียดได้
ฝุ่นละอองขนาดเล็กจะมีผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เมื่อหายใจเข้าไปในปอดจะเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่ได้รับฝุ่น PM10 ในระดับหนึ่งจะทำให้เกิดโรค Asthma และ ฝุ่น PM2.5 ในบรรยากาศจะมีความสัมพันธ์กับอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและโรคปอด และเกี่ยวโยงกับการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดนเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคหืดหอบ และเด็กจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนปกติด้วย  ในประเทศไทยมีการให้ความหมายของคำว่าฝุ่นละอองได้ดังนี้ ฝุ่นละอองหมายถึง ฝุ่นรวม(Total Suspended Particulate) ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศุนย์กลาง ตั้งแต่ 100 ไมครอนลง ส่วนฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) หมายถึง ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศุนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา
สารมลพิษที่อยู่ในอากาศอาจอยู่ในรูปก๊าซหรือในรูปอนุภาคแขวนลอยที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศ ความรุนแรงของสารมลพิษที่มีต่อสุขภาพขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมทั้งสภาพร่างกายของผู้รับแต่ละคนด้วย โดยอนุภาคแขวนลอยมีขนาดตั้งแต่ 0.01-1,000 ไมครอน แต่อนุภาคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอนหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า สารอนุภาค (Suspended particulate matter) PM10 หมอกควันจัดเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า PM10 ซึ่งสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนปลายได้  
หลายงานวิจัยได้ยืนยันว่าการได้รับฝุนละอองขนาด PM10 ไม่ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ หรือเป็นเวลานานล้วนแต่ทำให้ภาวะความเจ็บป่วยและความตายของมนุษย์เพิ่มขึ้น โดยระดับความเข้มข้นของการได้รับฝุนละอองขนาด PM10 ที่มากขึ้นจะเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และภูมิแพ้ต่างๆ 

ดังนั้นไม่ว่าในแต่ละวันจะได้รับในปริมาณฝุ่นละอองที่มากหรือน้อยก็เป็นอันตรายต่อร่างการ เกิดการสะสมในร่างกายเพราะอนุภาคของฝุ่นละอองมีขนาดเล็กมาก สามารถไปเกาะอยู่ตามเส้นเลือดฝอยและผนังของทางเดินหายใจ ทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองและอักเสบได้ จนเกิดอาการไอ หอบหืด หลอดลมอักเสษ แต่ถ้าเข้าไปในปอดแล้วไม่สามารถขับออกมาได้ สารพิษดังกล่าวจะมีสารประกอบอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และแทบทุกชนิดเป็นสารคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานไม่สลายตัว ฉะนั้นเราทุกคนควรตระหนักถึงพิษจากหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กให้มากยิ่งขึ้น


สาเหตุที่ทำให้เกิดหมอกฝุ่น (SMOG)


หลักๆมาจาก 3 อย่างคือ
1. ก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์และมอเตอร์ไซด์ มักพบในเมืองใหญ่ๆ
2. หมอกที่เกิดจากอากาศเปลี่ยนแปลง และการเผาป่า  มีทั้งในประเทศมาเลเซียและประเทศเพื่อนบ้าน
3. มลพิษที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
เราจะพบมลพิษอากาศสูงที่สุดคือ หมอกฝุ่น  ที่เป็นปัญหาครอบคลุมทั้งประเทศมาเลเซีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรายังพบสารเคมีอินทรีย์ในกลุ่มหมอก สารเคมีอินทรีย์เหล่านี้รวมถึง โทลูอีน  ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในทางกสิกรรมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม  อันเป็นสารหนึ่งที่จัดอยู่ในสารพิษต่อมนุษย์  และยังรวมไปถึงสารเคมีอีกตัวที่ชื่อ “เพนตานอน”  ที่มีชื่อทางเคมีว่า 2-Pentanone, 4-hydroxy-4-methy  มักมีต้นตอมาจากน้ำมันดีเซล





วิธีการป้องกันตัวเมื่ออยู่ในสภาวะหมอกฝุ่น




แน่นอนว่าคงหนีไม่พ้นว่า ต้องใช้หน้ากาก ซึ่งสามารถกันได้เฉพาะฝุ่นอนุภาคใหญ่ๆเท่านั้น มีการศึกษาพบว่า หมอกฝุ่นที่มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า ประกอบด้วย PM2.5 ที่มีอันตรายมากต่อสุขภาพคน ไม่ใช่แค่ฝุ่นละเอียดที่เข้าไปในทางเดินหายใจได้อย่างเดียว มันจะมีสารมลพิษหรือจุลินทรีย์เกาะติดฝุ่นที่มีเนื้อผิวกว้างเหล่านี้ไปด้วย กว่า 1,300 ชนิด เมื่อ PM2.5 เข้าไปในทางเดินหายใจ จะลงไปลึกถึงขั้นสุดของปอด เกาะติดผนังของปอดพร้อมกับสารพิษ เชื้อโรคต่่างๆ เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบ โรคความดันโลหิต และตายได้ในที่สุด



ที่ประเทศมาเลเซีย มีมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งทำการวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศที่มีมลพิษอยู่นั้น  มาทดสอบในห้องขนาดปริมาตร 25.6 ลูกบาศก์เมตร ด้วยการเปิดใช้งาน  เครื่องฟอกอากาศชาร์ป พลาสม่าคลัสเตอร์ 3 รุ่น ทุกรุ่นพ่นอนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ออกมาที่ความเข้มข้น 7000 ไอออนต่อซีซี และมีแผ่นกรอง HEPA (High Efficiency Purifying Air Filter) อยู่ภายในเครื่อง การเปิดทดสอบใช้งานแต่ละห้อง กินเวลานาน  22 , 38 และ 25  นาทีตามลำดับ  พบผลลัพธ์ว่า สามารถกำจัดสารที่มีอนุภาคขนาดเท่ากับหรือมากกว่า  0.0633  ไมครอน ออกจากห้องดังกล่าวได้ถึง  99% (ปกติเครื่องฟอกอากาศทั่วไป มีแผ่นกรอง HEPA ที่มีคุณสมบัติในการกรองสารอนุภาคใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ได้ 99.97%) การค้นพบครั้งนี้ เป็นประโยชน์่ใหญ่หลวงที่จะนำระบบผสมผสานระหว่าง อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ กับ แผ่นกรอง HEPA ในการต่อสู้กับหมอกฝุ่น (smog)

เรายังพบอีกว่าเครื่องฟอกอากาศระบบผสมผสานระหว่าง อนุภาคพลาสม่าคลัสเตอร์ กับ แผ่นกรอง HEPA สามารถลดสารพิษระเหย “โทลูอีน” และ “เพนทานอน”  (สารพิษระเหยสองตัว ที่พบในหมอกฝุ่น เกิดมาจากขบวนการผลิตโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสารเคมีที่ผสมในปุ๋ยใส่ดิน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณของสารพิษ “โทลูอีน”  ถูกกำจัดไป  91% , 98%  เมื่อเวลาผ่านไป  24 และ  48  ชั่วโมงตามลำดับ  ขณะที่ “เพนทานอน”  ถูกกำจัดไป  44% และ  70%  เมื่อเวลาผ่านไป  24 และ 48 ชั่วโมงตามลำดับ

เป็นทางเลือกใหม่ ของการรับมือป้องกันตัวเองจากหมอกฝุ่นที่เจอในเมืองใหญ่ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น