วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ครีมกันแดด..พระเอก หรือ ผู้ร้าย?

ครีมกันแดดถูกผลิตขึ้นเพื่อสกัดกั้นแสงยูวี แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ครีมกันแดดที่ใช้สารเคมีเป็นส่วนผสม และครีมกันแดดที่ใช้สารจากธรรมชาติ




อุปมาอุปมัยง่ายๆก็คือ

1. ครีมกันแดดที่ใช้สารเคมี  เหมือนการใช้ฟองน้ำ (สารเคมี) ดูดซับรังสียูวีไว้ ฟองน้ำนี้จะดูดซับรังสีแล้วเกาะอยู่บนผิวหน้าผิวหนัง

2. ครีมกันแดดที่ใช้สารธรรมชาติ  เหมือนการใช้หลังคาสังกะสี (สารธรรมชาติ) สะท้อนรังสียูวีออกไป ผิวหน้าผิวหน้าไม่ได้ถูกกระทบด้วยรังสียูวี



ครีมกันแดดที่ใช้สารเคมี (Chemical sunscreen)

ทำงานด้วยการดูดซับแสงเข้าสู่พื้นผิว โดยเก็บกักความร้อนและแสงยูวีบางส่วนไว้ไม่ให้ตรงเข้าทำร้ายผิว จึงเรียกว่า Sunscreen แต่เนื่องจากชั้นของครีมกันแดดนี้อยู่ชิดกับผิวหนังมาก จึงทำให้ยูวีที่เก็บกักไว้เล็ดลอดเข้าสู่ผิวได้ ที่สำคัญครีมกันแดดชนิดนี้จะป้องกันได้เฉพาะแสง UVBเท่านั้น ดังนั้นการที่เราทาครีมกันแดดประเภทนี้ ยิ่งอยู่กลางแดดนานเท่าไหร่ก็ยิ่งเปิดโอกาสให้แสงUVA เข้าสู่ผิวหนังมากขึ้นเท่านั้น

ครีมกันแดดชนิดนี้มีวางขายทั่วไปในท้องตลาด ถ้าอ่านฉลากดูจะพบชื่อสารประเภท

- benzophenone-3 (Bp-3)
- homosalate (HMS)
- 4-methyl-benzylidene camphor (4-MBC)
- octyl-methoxycinnamate (OMC)
- octyl-dimethyl-PABA (OD-PABA)
- butylmethoxydibenzoylmethane (B-MDM)

ครีมกันแดดที่ใช้สารธรรมชาติ (Physical sunscreen)

มีรูปแบบการทำงานที่ตรงกันข้าม นั่นคือจะสะท้อนแสงยูวีออกไปจากพื้นผิวคล้ายการสะท้อนแสงของกระจก ครีมกันแดดชนิดนี้จึงมักใช้คำว่า Sunblock กำกับที่ตัวสินค้า ครีมกันแดดชนิดนี้สามารถป้องกันแดดได้ทั้ง UVA และ UVB ส่วนผสมหลักที่ใช้คือ ไททาเนี่ยมเปอร์ออกไซด์ ซิงค์ออกไซด์ และ PABA  ซึ่งจะมีข้อเสียตรงที่เม็ดเซลล์ใหญ่ ทำให้หน้าดูขาวมาก (หรือวอกนั่นเอง สาวๆบางคนกลับชอบที่ทำให้หน้าขาว) แต่ปัจจุบันเริ่มมีการใช้สารที่ย่อยเซลล์ให้เล็กลง (microfine) จึงแก้ปัญหาหน้าขาวได้ เราสามารถซื้อครีมกันแดดชนิดนี้ได้ตามร้านขายยา



คำถามยอดฮิตก่อนซื้อครีมกันแดด คือ ต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF เท่าไหร่จึงจะดี ยิ่งมากยิ่งดีใช่ไหม?

SPF (Sun Protection Factor) คือ ค่าการป้องกันแสงแดด จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 10, 20, 30, 60 นั้นสกัดกั้นแสงUVB ได้ 90, 95, 96.7 และ 98.3% ตามลำดับ  จึงจะเห็นได้ว่า ในค่า SPF ที่สูงขึ้น อัตราการสกัดกั้นแสง UVB จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ราคาจะสูงขึ้นมาก



ที่สำคัญ อย่าลืมว่า การทาครีมกันแดด จะยับยั้งการสร้างวิตามินดีด้วย จากการวิจัยพบว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 8 จะยับยั้งการสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังถึง 90% ส่วนครีมกันแดดที่มีค่า  SPF 30 จะยังยั้งการสร้างวิตามินดีได้ 99-100% เลยทีเดียว

นั่นหมายความว่า การใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF30 ขึ้นไปจะยับยั้งการสร้างวิตามินดีอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นในวงการแพทย์จึงแนะนำว่า ผู้ที่ถูกแสงแดดเป็นครั้งคราวในเวลาสั้นๆ ให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำๆ ก็เพียงพอ แต่หากต้องถูกแดดเป็นเวลานานติดต่อกันก็ให้ใช้ค่า SPF 30 ขึ้นไป และแนะนำให้ใช้ครีมกันแดดค่า SPF30 ขึ้นไปเป็นประจำติดต่อกันเฉพาะในผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังหรือในผู้ที่มีผิวหนังอ่อนไหวต่อแสงแดดเป็นพิเศษเท่านั้น

เห็นไหมว่าแสงแดดนั้นไม่ใช่ผู้ร้ายเสมอไป ตรงกันข้าม การติดป้าย ผู้ร้ายให้แก่แสงแดดยังอาจทำให้คุณต้องพบสิ่งที่เลวร้ายกว่า เพราะหากร่างกายขาดวิตามินดี จะเป้นสาเกตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ เช่น โรคเกี่ยวกับกระดูก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ หรืออาจเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น ข้ออักเสบ เบาหวาน ภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งโรคเหล่านี้ก้ร้ายกาจไม่น้อยหรืออาจมากกว่ามะเร็งผิวหนังหลายเท่า

มีตัวเลขที่น่าสนใจว่าใน USA มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งผิวหนังประมาณปีละ 10,000 คน ในขณะที่มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งอื่นๆ อันเนื่องมาจากการขาดวิตามินดีถึงปีละ 45;000 คน ส่วนในอังกฤษ แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังประมาณ 1,600 ราย แต่มีผู้ป่วยที่ขาดวิตามินดีถึงปีละ 25,000 ราย

วิธีการดูแลตัวเองให้ได้รับแสงแดดที่เพียงพอนั่นคือ ผิงแดดในช่วงก่อน โมงเช้า และหลัง 4 โมงเย็น เพื่อกระตุ้นการสร้างวิตามินดี และหากต้องออกแดดจ้า ให้สวมเสื้อผ้า หมวกและแว่นกันแดดปกปิด โดยเสื้อยืดธรรมดาๆ สามารถป้องกันแสงแดดได้ในระดับ SPF7  และเสื้อยืดสีดำ น้ำเงิน ขาว เขียว เบจ จะปกป้องผิวได้สูงขึ้น


นอกจากนี้อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและวิตามินเอ ซึ่งพบได้ในผักผลไม้สีส้ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนัง และเลือกครีมกันแดดให้มีค่า SPF เหมาะสมกับสภาพแดดและสภาพผิวหนังของตนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น