วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคเรื้อรัง... สะเก็ดเงิน คืออะไร รักษาไม่หายจริงหรือ

โรคสะเก็ดเงินคืออะไร



สะเก็ดเงิน (psoriasis) เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อย เป็นได้ทุกเพศทุกวัย พบราวร้อยละ ๒ ของประชากรทั่วไป อาจมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้องเพราะมักพบประวัติครอบครัว โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ได้เกิดจากภูมิแพ้ โรคนี้มักเริ่มเป็นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายและช่วงอายุ ๔๐-๕๐ ปี เพศหญิงและชายพบได้เท่าๆ กัน โรคนี้อาจเป็นน้อยจนผู้ป่วยเองอาจไม่สังเกตเห็น แต่บางรายเป็นมากจนถึงขั้นต้องเข้านอนโรงพยาบาล และอาจมีอาการคันร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ ร้อยละ ๕ ของผู้ป่วยสะเก็ดเงินจะมีอาการปวดข้อ และข้ออักเสบร่วมด้วย






ลักษณะของโรคสะเก็ดเงิน


โรคสะเก็ดเงินของผิวหนังมีลักษณะเป็นปื้นนูนแดง มีขุยหนาสีขาวเงิน ขอบเขตของผื่นสังเกตเห็นชัดเจน มักเป็นผื่นทั้ง ๒ ข้างของร่างกายเท่าๆ กัน ถ้าเป็นที่บริเวณซอกพับ (เช่น รักแร้ ขาหนีบ) อาจไม่ค่อยเป็นขุย






ตำแหน่งที่พบผื่นของโรคสะเก็ดเงินบ่อยคือ ข้อศอก หัวเข่า บางรายเป็นที่สะดือ ร่องก้น หรือหนังศีรษะ แต่ก็อาจเป็นที่ตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายโดยมีลักษณะที่ต่างกันออก                                                                              



สามารถแบ่งโรคสะเก็ดเงินตามลักษณะอาการแสดงดังนี้ คือ
                                                                                    
- โรคสะเก็ดเงินชนิดปื้นหนาเป็นเรื้อรัง พบบ่อยที่ข้อศอก หัวเข่า หรือหลังส่วนล่าง                                  
- โรคสะเก็ดเงินที่ซอกพับ ปื้นมักเรียบไม่มีขุย                                                                                      
- โรคสะเก็ดเงินบริเวณหนังศีรษะ                                                                                                              
- โรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำ เป็นผื่นเล็กๆ จำนวนมากคล้ายหยดน้ำ มักกำเริบขึ้นรวดเร็ว                              
- โรคสะเก็ดเงินที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์ม (sebopsoriasis) มักเป็นที่หนังศีรษะ ใบหน้า หู และหน้าอก  
- โรคสะเก็ดเงินของฝ่ามือ ฝ่าเท้า                                                                                                              
- โรคสะเก็ดเงินของเล็บ เล็บจะมีหลุมเล็กๆ เล็บร่อนเผยอ เล็บเหลือง เล็บเป็นลูกคลื่น (ภาพที่ ๒)
- โรคสะเก็ดเงินของช่องปาก มีขุยลอกในปาก ผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินของผิวหนังอย่างรุนแรงมักพบบ่อย  
- โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นตุ่มหนอง อาจเป็นทั่วร่างกาย หรือเป็นเฉพาะที่ฝ่ามือฝ่าเท้า                                
- โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นแดง พบผื่นแดงทั่วตัว                                                                                            
- โรคสะเก็ดเงินที่ข้อ มีอาการปวดบวมของข้อร่วมด้วย

1. ชนิดเป็นปื้นหนา เป็นชนิดของผื่นสะเก็ดเงินที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบเป็นผื่นปื้นแดง ขอบเขตชัดเจน มีขุยหนา ซึ่งบางครั้งมองเห็นเป็นขุยสีเงิน จึงเป็นที่มาของชื่อโรคที่เรียกว่า สะเก็ดเงิน นอกจากนี้อาจมีอาการคันร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ผื่นมักกระจายตัวอยู่ตามข้อศอก เข่า ก้นกบ หนังศีรษะ หรือกระจายทั่วตัวได้ ซึ่งในกรณีที่โรคมีความรุนแรงมาก ผื่นแดงกระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดแสบบริเวณผื่น หรือจนมีไข้ร่วมด้วยได้

2. ชนิดเป็นผื่นเล็ก ๆ กระจาย เป็นผื่นสะเก็ดเงินชนิดที่มักพบได้หลังจากมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย เช่น หลังจากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนประมาณ 2-3 สัปดาห์ ก็อาจพบได้ ผื่นนี้มักพบได้ในเด็ก ในวัยรุ่น มีลักษณะผื่นเป็นผื่นสีแดงขนาดเล็กไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร มีขุยไม่มากนัก และมีผื่นกระจายทั่วไปตามตัว แขน และขา อาจพบได้ตั้งแต่ในครั้งแรกของการเป็นสะเก็ดเงิน หรือพบเมื่อผื่นกำเริบหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นสะเก็ดเงินมาแล้วก็เป็นได้

3. ชนิดเป็นตุ่มหนอง ผื่นสะเก็ดเงินชนิดนี้ มักจะมีลักษณะเป็นตุ่มหนองกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นกระจายตามตัว แขนขา หรือกระจายเฉพาะที่ ที่บริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าเท่านั้นก็ได้ ซึ่งในการวินิจฉัยจำเป็นต้องซักประวัติเพิ่มเติม ทั้งประวัติการใช้ยา การเจ็บป่วยอื่น ๆ ตลอดจนการตรวจร่างกายที่ละเอียดเพื่อการวินิจฉัยแยกโรคกับโรคอื่น ๆ ที่อาจมีลักษณะผื่นคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องสะกิดชิ้นเนื้อทางผิวหนังส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคด้วย และในกรณีที่มีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยก็อาจมีผิวหนังลอก แสบผิวหนัง และมีไข้ร่วมด้วยได้

4. ชนิดเป็นผื่นแดงทั่วตัว ผื่นสะเก็ดเงินชนิดนี้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่มีความรุนแรงมาก โดยจะพบเป็นผื่นแดงอยู่เกือบทั่วทั้งตัว โดยมีพื้นที่ของผื่นมากกว่าร้อยละ 90ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจมีขุยหรือไม่มีก็ได้ แต่มักมีอาการทางระบบอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง อ่อนเพลีย ขาดน้ำและเกลือแร่ เนื่องจากร่างกายสูญเสียความร้อนไปทางบริเวณรอยโรคสะเก็ดเงินที่กระจายอยู่ทั่วตัว



รู้จักโรคสะเก็ดเงิน





1. หลังจากผื่นสะเก็ดเงินที่ผิวหนังหาย อาจมีรอยด่างดำ ด่างขาว ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไป และโรคนี้ไม่ทำให้เกิดแผลเป็นที่ผิวหนัง

2. สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องคือ
                                                                            
- พันธุกรรม ประมาณร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยอาจมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้เช่นกัน                                    
- พบว่าความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจอาจกระตุ้นให้สะเก็ดเงินกำเริบ                                            
- การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น สเตร็ป (ต่อมทอนซิลอักเสบ) อาจกระตุ้นให้เกิดโรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำ การติดเชื้อยีสต์อาจทำให้เกิดโรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นที่ซอกพับ การติดเชื้อเกลื้อนอาจก่อโรคสะเก็ดเงินชนิดที่คาบเกี่ยวกับโรคเซ็บเดิร์มที่หนังศีรษะ
- การบาดเจ็บสัมผัสเสียดสีที่ผิวหนัง เช่น นุ่งกางเกงคับๆ อาจมีส่วนทำให้เป็นปื้นขึ้นมา
- มียาหลายตัวที่อาจกระตุ้นโรคสะเก็ดเงิน เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า (lithium) ยาลดความดันโลหิต (beta blockers) ยาต้านมาลาเรีย (hydroxychloroquine) ยาแก้ปวดประเภทที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือเรียกย่อว่า NSAIDs) นอกจากนั้น ถ้ามีการใช้สตีรอยด์ทั้งในรูปยาทายากินอยู่ก่อนแล้ว การหยุดยาอาจทำให้ผื่นกำเริบ


3. โดยทั่วไปรังสียูวีในแสงแดดมักทำให้อาการดีขึ้น

4. พบว่าโรคอ้วน และภาวะดื้อต่ออินซูลินที่นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานแล้ว ยังอาจมีส่วนทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบขึ้น ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินหลายคนเป็นคนอ้วนหรือเป็นโรคอ้วน โรคสะเก็ดเงินยังเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) ที่อาจนำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก และกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือหลอดเลือดในสมองแตก

5. การดื่มแอลกอฮอล์สัมพันธ์กับการเกิดโรคสะเก็ดเงินชนิดที่กำเริบมาก ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

6. ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคนี้ให้หายขาดและไม่กลับเป็นซ้ำได้ แต่ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็อาจทำให้อาการของโรคบรรเทาลงได้มาก อย่างไรก็ตาม โรคสะเก็ดเงินรูปหยดน้ำอาจมีการกำเริบแค่ครั้งเดียว และไม่กลับเป็นอีกเลยก็ได้




สะเก็ดเงินจะเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือทำเองแต่ไม่รู้ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ทาที่ผิวหนัง เป็นสิ่งที่สุดจากคาดเดา ทุุกคนเชื่อว่าไม่มีทางหายขาดทางการแพทย์หรือใช้ยาปัจจุบัน


แต่บางกรณีพบได้ว่า หากหลีกเลี่ยงสารเคมีหรือสเตียรอยด์หรือสิ่งกระตุ้นต่างๆ หันมาใช้วิธีการเลียนแบบธรรมชาติ  ไม่ใช้ยาแก้คัน หยุดใช้ยาที่มีสารเคมี รวมถึงครีมผีบอกที่ว่าเห็นผลทันที



ท่องคาถาไว้เลย "งานนี้ไม่มีหายทันที ยาก็แค่บรรเทา สเตียรอยด์ให้งด "


แล้วหันมาใช้ครีมธรรมชาติขัดถูเพื่อให้ผิวหนังหลุดลอกตามธรรมชาติ ก็มีโอกาสประสพความสำเร็จในการบรรเทาไปได้ ขึ้นกับความอดทนในการปฎิบัติตัวและวิธีการ ... โลกนี้ยังมีความหวังเสมอ


เคยเห็นบางรายใช้วิธีการตามธรรมชาติ แต่เพิ่มการขัดถูด้วยสารสกัดธรรมชาติ (ไม่มีสารเคมีหรือสเตียรอยด์) ทำให้ผิวหนังชั้นบนที่เสีย หลุดลอกออกไป แล้วผิวชั้นล่างก็จะเติบโตดันขึ้นมาจากเนื้อชั้นล่าง ด้วยการถูนวดบ่อยๆพร้อมกับครีมนี้ เคล็ดลับของครีมนี้ก็คือผู้ที่ใช้ครีมนี้ ต้องขยันอดทนในการถูนวด หลายอาทิตย์จะเริ่มเห็นผล เริ่มจากการที่ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะตึง มีขุยคัน ให้ทาถูนวดต่อไปผิวหนังบริเวณนั้นก็จะดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ


Before / After หลังจากใช้ครีมขาวของแอมโบรเซีย




บน Before / ล่าง After หลังจากใช้ครีมขาวของแอมโบรเซีย







มาดูหลักการของวิธีเลียนแบบธรรมชาติแล้ว ก็ไม่ใช่ความลับมากมาย เพราะการขัดถูบ่อยๆด้วยครีมสูตรนี้ ทำให้เกิดการขัดลอกของผิวชั้นนอกแบบไม่อันตราย (เพราะไม่ใช้กรดหรือสารกัดแบบที่มีในตลาด) แล้วรอให้ผิวหนังชั้นล่างที่ดีอยู่ ขึ้นมาแทนที่ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยความอดทนจากผู้ใช้เหมือนกัน ต้องรอผลลัพธ์ที่เกิดดีขึ้น หลายอาทิตย์จนถึงหลายเดือน (แล้วแต่สภาพหนักเบาของสะเก็ดเงิน) ความได้เปรียบอีกแบบหนึ่งของสูตรนี้ คือการทำให้ผิวหนังนุ่ม แผลเป็นแข็งๆที่ปรากฎ จะจางลงไปเรื่อยๆ คืนสภาพผิวหนังกลับสู่ปกติ

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น