เชื้อไวรัส (virus) คืออะไร
ไวรัสจัดเป็นจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ที่ก่อโรคแก่มนุษย์ เช่นเดียวกับเชื้อแบคทีเรีย หน่วยของไวรัสเองจะมีรหัสกรดนิวคลีอิคที่เป็น ดีเอ็นเอ [DNA] หรือ อาร์เอนเอ [ RNA ] ก็ได้แล้วแต่ชนิดของไวรัสนั้น หน่วยของไวรัสไม่มีเครื่องมือสำหรับการแบ่งตัวสร้างหน่วยใหม่โดยตัวเอง มันจึงจำเป็นต้องอาศัยเซลล์ที่มีชีวิตอื่นเพื่อทำการยังชีพ และเพิ่มจำนวนตัวเอง อีกนัยหนึ่งตามความหมายที่ว่านี้ ไวรัสจึงคล้ายๆพยาธิที่คอยเกาะกินเซลล์ที่มีชีวิต เช่น เซลร่างกายมนุษย์ และเพิ่มจำนวน ในการเข้าสิงสู่อาศัยในเซลล์ร่างกายมนุษย์ บางเซลล์มนุษย์อาจถูกทำลายลง แต่บางเซลที่ไวรัสอาศัยอยู่ก็ไม่ถูกทำลาย ตกอยู่ในสภาพการเกาะกินอย่างเรื้อรังยาวนาน เช่น พวกไวรัสโรคเฮอร์ปีส์ [ Hepesvirus ] หรือไวรัสบางพวกเลียนแบบเซลล์ปกติของร่างกายก่อให้เกิดการแบ่งตัวจนกลายเป็นเนื้องอกขึ้นมาได้และเนื่องมาจากการสิงสู่ในเซลล์ การเลียนแบบเซลล์ปกติของมนุษย์นี่เอง ทำให้การค้นหาเชื้อ การวินิจฉัย รวมทั้งการใช้ยารักษาทำลายเชื้อจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
เชื้อไวรัสเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดโรคที่มีขนาดเล็กที่สุด เล็กกว่าเชื้อโรคมาก มองไม่เห็นดัวย กล้องจุลทรรศ์ธรรมดา ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศ์แบบ อิเล็กตรอนจึงจะเห็นได้
ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็น RNA หรือ DNA อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวอยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส (Core) ซึ่งเป็นตัวแสดงพันธุกรรม (Genome) ของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่า Capsid เซลล์ของเชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคนและสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ ไวรัสบางตัวอาจมีเยื่อหุ้มบุอีกชั้นซึ่งมีสารไขมัน เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่า Envelope ไวรัสจะเรียกว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้ เพราะในตัวมันไม่มีพลังงานสะสมในตัว ไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่ออยู่นอกเซลล์ของคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่เชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป มันจะเพิ่มจำนวนและทำให้เกิดโรคได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ของผู้ติดเชื้อแล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นโรงงานผลิตเชื้อไวรัส
ความแตกต่างหลากหลายของสายพันธุ์ จะมีที่ โปรตีนนิวคลีอิคแอซิค ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ DNA หรือ RNA ตรงแกนกลาง หากโปรตีนต่างชนิดกันก็จะทำให้เกิดสายพันธุ์ไวรัสที่แตกต่างกันไป เราจึงพบสายพันธุ์ใหม่ๆของเชื้อไวรัสได้ง่าย ... ส่วนประกอบอื่นเช่น ผนังชั้นนอก ของเหลวชั้นใน จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ลักษณะโรคเป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน
มีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง แต่ละครั้งเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเกือบทุกทวีป ทำให้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตนับล้านคน
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมี 3 ชนิด (type) คือ A, B และ C
ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก
ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค
ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด
เชื้อไวรัสชนิด A แบ่งเป็นชนิดย่อย (subtype) ตามความแตกต่างของโปรตีนของไวรัสที่เรียกว่า hemagglutinin (H) และ neuraminidase (N) ชนิดย่อยของไวรัส A ที่พบว่าเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2)
ส่วนไวรัสชนิด B ไม่มีแบ่งเป็นชนิดย่อย
วิธีการติดต่อ
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด ในพื้นที่ที่มีคนอยู่รวมกันหนาแน่น เช่น โรงเรียน โรงงาน การแพร่เชื้อจะเกิดได้มาก
นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก ระยะฟักตัว ประมาณ 1-3 วัน ระยะติดต่อ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการและจะแพร่เชื้อต่อไปอีก 3-5 วันหลังมีอาการในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กอาจแพร่เชื้อได้นานกว่า 7 วัน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อในช่วงเวลานั้นได้เช่นกัน
สรุปได้ว่า การแพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะทำได้ทั้ง แบบอิสระ และ แบบละอองฝอย
การแพร่กระจายแบบอิสระ คือการติดต่อผ่านลมหายใจเข้าออก
สำหรับแบบละอองฝอย เชื้อไวรัสที่ถูกไอจามออกมา สามารถทนอยู่บนพื้นผิวได้นาน 4-6 ชั่วโมง เมื่อมีคนไปสัมผัสเชื้อไวรัสที่่ตกอยู่บริเวณนั้น และ เอามือมาขยี้ตาขยี้จมูก ก็จะทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางอ้อม
อนึ่งบางคนอาจเข้าใจว่า เชื้อไวรัสแบบละอองฝอย จะไม่สามารถติดต่อได้ทางอากาศ (ติดต่อได้ทางสัมผัสอย่างเดียว) ... เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ
เชื้อไวรัสแบบละอองฝอย ที่เกิดจากการไอจาม จากคนที่เป็นพาหะ พุ่งเข้าหาคนรอบข้าง สามารถถูกสูดดม สัมผัสเยื่อเมือก เข้าในคนใกล้ตัวได้เช่นกัน (เพียงแค่รัศมีเป้าหมายต้องไม่อยู่ไกลจากคนที่ไอจาม เช่น ไม่เกิน 5 เมตร)
การป้องกันและการรักษา
เชื้อไวรัสเมื่อแพร่กระจายเข้าร่างกายแล้ว ยังไม่มีวิธีการรักษา จะใช้วิธีการรักษาแบบตามอาการที่เกิดขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อเอง ... สำหรับคนที่มีความเจ็บป่วยอื่นๆมาก่อนแล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงเด็ก ก็จะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า หรืออาจมีความเสี่ยงสูง
วัคซีนที่ฉีดสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัด ก็จะมีข้อจำกัดว่า สามารถป้องกันได้เฉพาะสายพันธุ์นั้นๆ ไม่สามารถใช้ได้กับสายพันธุ์อื่น หรือสายพันธุ์ใหม่ๆที่ปรากฎขึ้นมา ... หากมีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา การพัฒนาวัคซีนจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีให้หลัง กว่าจะประสพความสำเร็จ
การป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการติดต่อเชื้อไวรัส วิธีมาตราฐานคือการล้างมือ การเอาผ้าปิดปาก ... แต่ปัจจุบันก็มีทางเลือกใหม่เพิ่มเข้ามาอีก คือการนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศเข้ามาใช้ เสมือนการสร้างโซนปลอดเชื้อ (ประมาณนั้น) แต่เมื่อไหร่ที่คนออกนอกโซนที่เครื่องทำงานอยู่ ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอยู่
เชื้อไวรัสเมื่อแพร่กระจายเข้าร่างกายแล้ว ยังไม่มีวิธีการรักษา จะใช้วิธีการรักษาแบบตามอาการที่เกิดขึ้น ภูมิต้านทานของร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อเอง ... สำหรับคนที่มีความเจ็บป่วยอื่นๆมาก่อนแล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงเด็ก ก็จะฟื้นฟูร่างกายได้ช้า หรืออาจมีความเสี่ยงสูง
วัคซีนที่ฉีดสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสไข้หวัด ก็จะมีข้อจำกัดว่า สามารถป้องกันได้เฉพาะสายพันธุ์นั้นๆ ไม่สามารถใช้ได้กับสายพันธุ์อื่น หรือสายพันธุ์ใหม่ๆที่ปรากฎขึ้นมา ... หากมีสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา การพัฒนาวัคซีนจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีให้หลัง กว่าจะประสพความสำเร็จ
การป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการติดต่อเชื้อไวรัส วิธีมาตราฐานคือการล้างมือ การเอาผ้าปิดปาก ... แต่ปัจจุบันก็มีทางเลือกใหม่เพิ่มเข้ามาอีก คือการนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศเข้ามาใช้ เสมือนการสร้างโซนปลอดเชื้อ (ประมาณนั้น) แต่เมื่อไหร่ที่คนออกนอกโซนที่เครื่องทำงานอยู่ ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอยู่
การนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคไม่ใช่เรื่องใหม่ อดีตเคยมีการนำเครื่องฉายรังสียูวี หรือ ผลิตโอโซน มาทำลายเชื้อโรค แต่ก็พบว่าความเข้มข้นในการนำมาใช้งาน เป็นพิษรุนแรงต่อร่างกาย รวมถึงเป็นต้นเหตุของการเกิดมะเร็ง ระบบเหล่านี้จึงเลิกใช้ไป ... จนกระทั่ง มีการคิดค้นระบบพ่นอนุภาคขึ้นมาใหม่ เป็นการพ่นอนุภาคแบบประจุสองชนิด (เดิมเคยพ่นอนุภาคแบบชนิดเดียว) การพ่นอนุภาคบวกและลบออกมาในเวลาเดียวกัน มีการทดสอบแล้วว่าสามารถทำลายเชื้อไวรัสทางอากาศได้ จึงเป็นที่มาของทางเลือกในการติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรคทางอากาศประเภทนี้เข้าไป
อย่างไรก็ตาม ความเข้มข้นของอนุภาคทั้งบวกและลบ ที่ถูกเครื่องพ่นออกมาพร้อมกัน จะมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานฆ่าเชื้อไวรัสด้วย จึงควรเลือกใช้ความเข้มข้นที่เหมาะสมกับสถานที่ เช่น บ้าน ใช้ความเข้มข้นที่ 7000 ไอออนต่อซีซี เพื่อความประหยัดแต่ทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดแบบอิสระ , โรงพยาบาล/โรงงาน/บริษัท ควรเลือกใช้ที่ความเข้มข้นมากกว่า 25000 ไอออนต่อซีซี ที่สามารถทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบบอิสระและแบบละอองฝอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น