วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

“วัณโรค” โรคร้าย..ติดง่ายไม่รู้ตัว

วัณโรคโรคร้าย..ติดง่ายไม่รู้ตัว

ปัจจุบัน 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรคแล้ว ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 22 ประเทศ ที่มีผู้ป่วยวัณโรคมากติดอันดับโลก โดยไทยมีผู้ติดเชื้อวัณโรคประมาณ 25 ล้านคน และมีผู้ป่วยราว 90,000 คน ในจำนวนนี้ 40,000 คนเป็นผู้ป่วยเสมหะพบเชื้อ (ร้อยละ 44) สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการไอ จาม พูดคุย จนเชื้อล่องลอยไปในอากาศ ทุกคนจึงมีโอกาสได้รับเชื้อวัณโรคตลอดเวลา



ผู้ป่วยวัณโรคระยะแพร่เชื้อ 1 ราย ถ้าไม่ได้รับการรักษา สามารถทำให้คนรอบข้างติดเชื้อได้ 10 -15 คนต่อปี และ 17% ของผู้ป่วยวัณโรคมีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส” (Mycobacterium Tuberculosis) ที่มีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ทำให้มีการอักเสบในปอด หรือในอวัยวะอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมอง กระดูก

วัณโรคสามารถเป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหามากในปัจจุบัน คือ วัณโรคปอด

ปัจจัยสำคัญต่อการป่วยเป็นวัณโรค
- อยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรค เช่น พักอาศัยบ้านเดียวกัน ทำงานร่วมกัน
- ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี หรือป่วยเป็นโรคเอดส์
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน โรคตับ หรือโรคไต
- ผู้ป่วยที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันนานๆ เช่น ยากลุ่มสเตรียรอยด์
- การจัดลักษณะที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานที่ใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา หรือสภาพแวดล้อมที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และการเสพสารเสพติด

อาการ
- ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
- ไอแห้งๆ หรือไอมีเสมหะ หรือไอมีเสมหะปนเลือด
- เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบ
- มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือค่ำ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรขณะป่วยและรักษา
- ใช้ผ้าผิดปากและจมูก เวลาไอหรือจามเพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
- กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จนกว่าแพทย์สั่งหยุดยา
- เมื่อกินยาประมาณ 2 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นห้ามหยุดยาเป็นอันขาด จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาและรักษาหายยาก
- กินอาหารได้ทุกชนิดที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ
- จัดสถานที่พักอาศัยให้อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องถึง
- ควรงดเหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติดทุกชนิด
- ควรนำผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน หรือผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กไปรับการตรวจร่างกายตามโรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกแห่ง
- บ้วนเสมหะลงในภาชนะหรือกระป๋อง แล้วเทลงในส้วม ฝังดิน หรือนำไปเผา

อาการที่อาจพบจากการกินยารักษา
- คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
- เบื่ออาหาร เหนื่อยหอบ
- ตับอักเสบ(ตัวเหลือง ตาเหลือง)
- ผื่นคันตามตัว
- ปวดข้อ
- อาการตามัว

เมื่อไรควรตรวจหาวัณโรค
- ไอติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์
- มีไข้ต่ำตอนบ่ายๆ หรือค่ำ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
- เจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ
- เมื่อมีญาติหรือผู้ใกล้ชิดป่วยเป็นวัณโรคปอด
- ตรวจสุขภาพประจำปี กรณีไม่มีอาการ แต่ถ้าภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น เป็นโรคเบาหวาน ติดสารเสพติดหรือติดเชื้อเอดส์ ควรตรวจทุก 3-6 เดือน
- เพื่อใช้ประกอบการขอใบรับรองแพทย์

ควรปฏิบัติตัวอย่างไรไม่ให้เป็นวัณโรค
- ควรตรวจเช็คร่างกาย โดยการเอ็กซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- นำเด็กแรกเกิดไปรับการฉีดวัคซีนบีซีจี ที่โรงพยาบาลทุกแห่ง หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
- หากมีอาการสงสัยป่วยเป็นวัณโรค ควรรีบไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง หรือสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
- รักษาสุขภาพให้แข็งแรงโดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และกินอาหารที่มีประโยชน์
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้ง่ายขึ้น

วัณโรครักษาหายได้
ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคหลายชนิดที่ให้ผลดี การรักษาจะได้ผลดีต่อเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาเพียง 6-8 เดือนเท่านั้น รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงและมีวิตามิน เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค  หากผู้ป่วยวัณโรคไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ขาดยา หรือกินยาไม่ต่อเนื่อง จะทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา ยากต่อการรักษา และอาจแพร่เชื้อวัณโรคดื้อยาสู่ผู้อื่น

วัณโรคกับเอดส์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
- การติดเชื้อเอดส์ ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โอกาสป่วยเป็นวัณโรคได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงมากกว่า ผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอดส์
- วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในผู้ป่วยเอดส์
- ผู้ติดเชื้อเอดส์ ที่ป่วยเป็นวัณโรคมีสถิติการเสียชีวิตมากกว่าผู้ติดเชื้อเอดส์ที่ไม่ป่วยเป็นวัณโรค

5 facts about tuberculosis – a disease that still kills millions

5 facts about tuberculosis – a disease that still kills millions

The infectious disease is one of the world's top killers, disproportionately affecting people in poorer countries, with more than 95% of TB deaths occuring in countries with low and middle incomes.



Here are 5 fast facts you may not know about the disease:

1. One-third of the world’s population is infected with TB.
2. Almost 10 million people around the world became sick with TB in 2014.
3. In the same year there were 1.5 million TB-related deaths.
4. TB is a leading killer of people who have HIV.
5. A total of 9,421 TB cases were reported in the United States in 2014. A 1.5% decline from 2013.



So, what is TB?
According to the WHO, tuberculosis is caused by airborne bacteria that most often affects the lungs. It is both curable and preventable, but in 2014 it caused the deaths of 1.5 million people.
The disease can be latent, meaning people are infected with it but have not yet fallen ill and aren't likely to transmit it. Once infected, people have a 10% risk of falling ill with TB. Those with a compromised immune system are at a higher risk.

How is the world tackling it?
Since 2000 more than 43 million lives have been saved through effective diagnosis and treatment.

Ending the TB epidemic by 2030 is a health target under the Sustainable Development Goals, following a global failure to achieve the Millennium Development Goal of reversing the TB epidemic by 2015.

Although TB occurs across the world, the largest number of new cases in 2014 occurred in South-East Asia and the Western Pacific Regions. However, Africa has the highest proportion of cases per 100,000 population.

The WHO implemented an End TB Strategy in 2014, which is described as a “blueprint for countries to end the TB epidemic by driving down TB deaths, incidence and eliminating catastrophic costs”.

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

#Plasmacluster ions were tested against #tuberculosis (one type of bacteria strain) and found that the ion can kill #Mycobacterium tuberculosis. The #tuberculosis can be spreaded in the air so it is easy for germ contamination. The patients may show the symptom or no show upon the stage. Although there is no show of symptom, they can also be carrier pass through other people. The #Plasmacluster air sterilizer is a choice as the moment and the high concentration of #Plasmacluster ion are more effectiveness in case of #tuberculosis. 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Abstract :  Chuchottawon C* , Punyasophan J** . Efficiency of plasmacluster in killing culture Mycobacterium tuberculosis on media. Thai J Tuberc Chest Dis Crit Care 2010; 31:82-89


*Department of Chest Medicine, ** Department of Pathology, Chest Disease Institute.

Prevention of tuberculosis transmission in patients’s surrounding environment can be achieved by early diagnosis and starting potent short course anti-tuberculosis drugs. And environmental engineering control could be done ventilation, ultraviolet germicidal irradiation and filtered air throught HEPA filter. An Innovation of plasmacluster ion generator has been proved to be effective in killing many viruses, bacteria and moulds in the air but there was no study in Mycobacterium tuberculosis.

Objectives :  To study the efficiency of plasmacluster ion in killing standard strain (H37Rv) and patients’ isolated strains of Mycobacterium tuberculosis in laboratory and time to kill studied strains.

Method :  Standard (H37Rv) and 50 patients’ isolated strains of Mycobacterium tuberculosis were tested in tuberculosis laboratory, department of Pathology. Standard strain was tested for three times. All strains were prepared as suspension of McFarland turbidity scale No.1 and diluted to 1:100 and 1:10,000. The control medium was placed in safety carbinet and not exposed to plasmacluster ions. After exposure, all media were continued incubation and reading of growth of Mycobacterium tuberculosis was done after 3 weeks.

Result :  Standard strains (H37Rv) was not grown after 30 minutes exposure to plasmacluster ions. For patients’ isolated strains, Mycobacterium tuberculosis strains were not grown in 4 (8%) , 4 (8%) , 9 (18%) and 19 (38%) after exposure time of 15, 30, 45 and 60 minutes respectively. 14 strains were still able to grow after expose to 60 minutes but the number of colonies was decreased.

Conclusion :  Plasmacluster ions can kill Mycobacterium tuberculosis on culture media. The ability of plasmacluster ions to kill Mycobacterium tuberculosis in aerosol should be warranted by further study.





#plasmacluster #tuberculosis
#mycobacterium tuberculosis
#kill #test

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ตรวจพบคนพม่า 100 จาก 500 คน เป็นวัณโรคปอดระยะแพร่กระจาย

ตรวจพบคนพม่า 100 จาก 500 คน เป็นวัณโรคปอดระยะแพร่กระจาย ... ข่าวนี้ไม่ดังเท่าข่าวดารา

แต่ฟังแล้วน่าเป็นห่วง เพราะคนพวกนี้คือคนที่มาลงทะเบียนแล้วตรวจร่างกาย พวกนี้ไม่ได้ลงทะเบียนไม่รู้อีกเท่าไหร่ ถึงรัฐบาลจะผลักดันกลับประเทศ ก็ไม่รู้ว่าจะไปรักษากันให้หายขาดหรือเปล่า อาจสร้างปัญหาเรื้อรังต่อไปอีกยาว ... อาจต้องเรียนรู้กันเองว่า มีวิธีการป้องกันตัวเองได้อย่างไรบ้าง





การป้องกันวัณโรคในเด็ก

โรควัณโรคในบ้านเรา นับวันยิ่งมีปัญหาเพิ่มมากขึ้น ทั้งปัญหาผู้ป่วยเอดส์ที่มีเชื้อวัณโรคคุกคามรุนแรง เป็นเชื้อวัณโรคที่ดื้อยาเสียด้วย การเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เรามีพี่เลี้ยงเด็กมากขึ้น บางครั้งก็มาจากต่างจังหวัด บางคนเป็นแรงงานต่างชาติ ถูกกฎหมายก็มี ผิดกฎหมายก็มาก การแพร่กระจายของวัณโรคจึงเป็นไปอย่างกว้างขวางไม่เว้นแม้แต่คุณหมอคุณพยาบาล ห้องตรวจโรค ห้องผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่เป็นห้องปรับอากาศในกรุงเทพ ก็เป็นทางที่ผู้ป่วย ญาติ ปล่อยเชื้อวัณโรคมาถึงคุณหมอได้

แล้วเด็กๆลูกหลานของเราละครับเด็กที่เป็นวัณโรคก็เพราะได้รับการติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่แทบทั้งสิ้น แล้วยังชอบกระจายของโรคสู่อวัยวะอื่นๆ ทำให้วัณโรคในเด็กรุนแรงได้ แม้จะมีการรักษาที่ดีก็อาจจะตายหรือพิการได้ การป้องกันจึงมีประโยชน์มากที่สุด จริงมั้ยครับ

แล้วเราจะป้องกันยังไง เริ่มที่ผู้ใหญ่ก่อนครับ ผู้ใหญ่คนที่เป็นวัณโรค ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อตัดต้นต่อที่แพร่เชื้อ ต้องกินยาตามแพทย์สั่งอย่างครบถ้วนและสม่ำเสมอ ในระยะติดต่อไม่ควรให้เด็กมานอนหรืออยู่ใกล้ชิดด้วย ต้องระวังเวลาไอและจามโดยปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อวัณโรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ การบ้วนเสมหะหรือน้ำลายก็จะต้องใส่ภาชนะเป็นที่เป็นทาง แล้วนำไปเทลงโถส้วมก็ได้

ตัวเด็กๆเอง เราต้องเพิ่มความต้านทานให้แก่เด็ก ต้องเลี้ยงดูให้แข็งแรง เกิดมาใหม่ๆควรเลี้ยงด้วยนมแม่ เป็นเวลา 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ให้กินอาหารให้ครบถ้วน เหมาะสมตามวัย กินอาหารที่มีทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแรให้ครบถ้วน ออกกำลังกายให้แข็งแรง เด็กแรกเกิดทุกคนควรได้วัคซีน บีซีจี. ป้องกันวัณโรค ปัจจุบันนี้ตามโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน จะฉีดวัคซีน บีซีจี. นี้ให้ แต่บางรายที่ไม่เคยได้รับการฉีดตั้งแต่แรกเกิด ก็ไปขอฉีดได้ที่โรงพยาบาลหรือสถาน บริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่ง รวมทั้งวัคซีนอื่นๆ ก็ควรได้รับการฉีดตามกำหนด วัคซีน บีซีจี. สามารถป้องกันวัณโรคให้กับเด็กได้นานถึง 10-20 ปี พอฉีดแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ จะมีเม็ดหนองขึ้นที่บริเวณที่ฉีดซึ่งจะแตกเป็นๆ หายๆ และแห้งในเวลา 2-3 เดือน โดยไม่ต้องใส่ยา เพียงแต่ซับให้แห้งก็พอ  เด็กบางราย แม้จะฉีดวัคซีน บีซีจี. แล้วก็ตาม แต่ถ้าจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคปอดระยะติดต่อ ภูมิคุ้มกันอาจไม่เพียงพอ ในกรณีนี้แพทย์จะสั่งให้กินยาป้องกันด้วยเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเราก็ควรให้เด็กห่างจากคนที่เป็นโรคไว้ก่อน ควรดูแลพี่เลี้ยง ญาติผู้ใหญ่ของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ และสิ่งสำคัญสุดท้าย ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าเด็กของท่านเป็นวัณโรค เช่นมีไข้เรื้อรัง ผอมลงเบื่ออาหารน้ำหนักลด เลี้ยงไม่โต ไอไม่รู้จักหายซักที แล้วได้อยู่ใกล้ชิดคนเป็นวัณโรค ก็ควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่แรก การรักษาตั้งแต่แรกจะทำให้อัตราการหายมากขึ้น ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ครับ




วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บางคน .. เพียงแค่พูดคุยก็ติดวัณโรคได้ (หรือ)

บางคน .. เพียงแค่พูดคุยก็ติดวัณโรคได้ (หรือ)

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ    และไทยก็เป็นประเทศที่มีปัญหาการแพร่ระบาดของวัณโรคโดยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 18 จาก 22 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคสูงของโลก    ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียนเป็นจำนวนมาก    ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่สามารถแพร่เชื้อได้    และผลสำเร็จของรักษาผู้ป่วยมีเพียงร้อยละ 71.8    สาเหตุหลักคือเสียชีวิตก่อนการรักษาครบและขาดยา    ทำให้แนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น    ในปีงบประมาณ 2558    โรงพยาบาลลำปางมีผู้ป่วยวัณโรคปอดที่ตรวจเสมหะพบเชื้อขึ้นทะเบียนรักษาจำนวน 297 ราย    ผลสำเร็จของการรักษาร้อยละ 80.53    ไม่บรรลุตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 85    สาเหตุสำคัญคือการเสียชีวิตและการขาดยาเช่นกัน    การเสียชีวิตพบมากในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคร่วม    การขาดยาในผู้ป่วยวัณโรคมีเหตุเกี่ยวข้องหลายอย่าง    เช่น    ขาดความร่วมมือในการรักษาจากผู้ป่วย  การรักษามีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยท้อแท้  สังคมและครอบครัวไม่ยอมรับ    รังเกียจผู้ป่วย    ทำให้ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการรักษา    ซึ่งการรักษาวัณโรคไม่ครบตามแผนการรักษาทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อและเกิดวัณโรคชนิดดื้อยา





วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย    เป็นได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย    แต่ที่เป็นปัญหามากคือวัณโรคปอดเพราะแพร่เชื้อติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย    เด็กเล็ก    ผู้สูงอายุ    หรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ    มักมีโอกาสติดโรคง่ายและมีอาการรุนแรงมากกว่าคนปกติ    อาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคปอด    คือ    อ่อนเพลีย    เบื่ออาหาร    น้ำหนักลด    มีไข้ต่ำ ๆ    เจ็บหน้าอก    ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์หรือไอมีเสมหะปนเลือดออกมา    ผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้    หากสงสัยว่าจะป่วยเป็นวัณโรคควรเข้ารับการตรวจและรักษาโดยด่วน    ปัจจุบันหมอจะรักษาด้วยระบบยาระยะสั้น    โดยใช้ยาควบคู่กันหลายขนาน    สามารถรักษาวัณโรคให้หายขาดได้ภายใน 6 - 8 เดือน    จากเดิมที่ต้องใช้ยานานปีครึ่งถึงสองปี    สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องกินยาครบทุกขนานตามขนาดที่หมอสั่งทุกมื้ออย่างเคร่งครัดและมาตรวจตามนัดทุกครั้ง    เมื่ออาการดีขึ้นมากอย่าหยุดยาเองโดยเข้าใจว่าหายแล้วเด็ดขาดเพราะเชื้อวัณโรคในร่างกายยังไม่หมด  จะเกิดการดื้อยาและกลับมากำเริบใหม่ทำให้การรักษายากมากขึ้นและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 
วิธีการป้องกันวัณโรคที่สำคัญคือ    หากพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในครอบครัวหรือในชุมชนต้องพาไปรับการรักษาโดยเร็วที่สุดเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายสู่ผู้อื่น   เพราะในผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานต่ำเพียงแค่การพูดคุยกับผู้ป่วยก็มีโอกาสติดเชื้อวัณโรคได้    ดังนั้นผู้ป่วยต้องปิดปากและจมูกทุกครั้งขณะไอหรือจาม    บ้วนเสมหะในภาชนะที่มีฝาปิดแล้วทำลายโดยการต้มหรือเผา    สำหรับเด็กแรกเกิดต้องได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจีป้องกันวัณโรคทุกรายเพื่อเพิ่มความต้านทานของร่างกายต่อเชื้อวัณโรคค่ะ




Plasmacluster ions can kill M.tuberculosis



PS-101364-13 Efficiency of Plasmacluster ion in killing of M.Tuberculosis on culture media.

Result : For standard strains of M.tuberculosis there was no growth after exposure time of 30 minutes For clinical isolate strains, there was no growth after exposure time of 15 , 30 , 45 and 60 minutes in 4 (8%) , 4 (8%) , 9 (18%) , 19 (38%) strains respectively. In 14 (28%) strains which has growth on media after 60 minutes of exposure, the number of colony on media was declined according to the longer exposure time.

Conclusion : Plasmacluster ions can kill M.tuberculosis.

Reference source :

http://www.theunion.org/what-we-do/journals/ijtld/body/ABSTRACT_BOOK_2010_Web.pdf

p. S108-S109 (p.113-114)

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

"วิตามินซี" ตัวช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ โดยแต่ละโรคก็จะมีปริมาณที่ควรได้รับและระยะเวลาในการบริโภคที่แตกต่างกันไป

วิตามินที่นิยมกินเสริมมากที่สุดในบรรดาวิตามินทั้งหมด…แน่นอนว่าต้องเป็นวิตามินซี

ด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ด้วยความที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง จึงช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย และมีประโยชน์ด้านความงามมากมาย เช่น ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน บำรุงผิวให้ขาวใส รวมทั้งช่วยลดริ้วรอย จุดด่างดำ รอยแผลเป็น หรือรอยสิวต่าง ๆ

นอกจากนั้น "วิตามินซี" ยังเป็นตัวช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ อีกด้วย โดยแต่ละโรคก็จะมีปริมาณที่ควรได้รับและระยะเวลาในการบริโภคที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น

          โรค                        ปริมาณวิตามินซีที่ควรได้รับ(มิลลิกรัม/วัน) ระยะเวลาต่อเนื่อง
   ไข้หวัดทั่วไป                                              30 – 3,000        2     สัปดาห์
ความดันโลหิตสูง                                           60 – 4,000     6-16  สัปดาห์
        โรคตับ                                                 120 – 3,000        6     เดือน
         มะเร็ง                                                  120 – 2,000      6-8   ปี

และด้วยเหตุผลสำคัญเลยคือ ร่างกายไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นเองได้ จะได้จากการรับประทานเท่านั้น จึงนิยมรับประทาน "วิตามินซี" ในรูปแบบอาหารเสริมกันเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว

แต่ ! มั่นใจมากว่าต้องมีหลาย ๆ คนเข้าใจผิดถึงวิธีการกินวิตามินซีอย่างแน่นอน แม้กระทั่งคนที่กินอยู่เป็นประจำหรือกินมานานแล้วก็ตาม

ตามหลักแล้วร่างกายของมนุษย์จะสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ในปริมาณที่จำกัด เพราะฉะนั้นการรับประทานวิตามินซีครั้งละเยอะ ๆ ในครั้งเดียวจึงไม่เกิดประสิทธิภาพ และเปรียบเสมือนการเอาเงินไปทิ้งเปล่า ๆ เพราะวิตามินซีมีจุดอิ่มตัวในการดูดซึม ถ้าหากเราได้รับวิตามินซีปริมาณมาก ๆ ในทีเดียว ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมได้ทั้งหมด อย่างเช่น การรับประทานวิตามินซีครั้งละ 1,000-1,500 มิลลิกรัม จะพบว่าร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินซีได้เพียง 50% เท่านั้น แต่หากเรารับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ร่างกายก็จะดูดซึมได้ถึง 75% เลยทีเดียว อย่างที่ "Dr. Gerard Mullin" ผู้อำนวยการด้านโภชนาการอาหารแบบบูรณาการจากสหรัฐอเมริกาได้บอกไว้ว่า "การได้รับปริมาณวิตามินซีมากเกินไป...มากกว่า 500 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน สามารถทำให้เกิดนิ่วในไตได้"

นั่นก็เพราะร่างกายจะขับส่วนที่ไม่ได้ดูดซึมทิ้งผ่านไตทั้งหมด แถมยังทำให้ไตต้องทำงานหนักและเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วด้วย ดังนั้นการกินวิตามินซีครั้งละน้อย ๆ และเว้นระยะบ้างจึงเป็นวิธีที่ได้ผลและปลอดภัยที่สุด และนี่คือเหตุผลที่หลาย ๆ คนรับประทานวิตามินซีปริมาณมาก ๆ เป็นประจำแต่ไม่เห็นผลเท่าที่ควร


ชัดเจนแล้วว่าปริมาณวิตามินซีที่เหมาะสมคือ ควรกินครั้งละ 500 มิลลิกรัม เพราะถือว่าเป็นปริมาณที่ร่างกายดูดซึมได้ดีที่สุด ส่วนช่วงเวลาที่ร่างกายจะดูดซึมได้ดีที่สุด คือประมาณ 9-10 โมงเช้า และควรรับประทานวิตามินซีหลังอาหาร เพราะวิตามินซีที่ร่างกายดึงไปใช้ได้นั้นจะต้องมีตัวนำพา เช่น อาหาร ผักใบเขียว ผลไม้ต่าง ๆ ที่ให้วิตามินซีสูง หากได้รับวิตามินซีขณะที่ท้องว่าง ร่างกายจะไม่มีตัวนำพาหรือตัวให้ดูดซึม สุดท้ายน้ำที่เราดื่มเข้าไปก็จะไปละลายวิตามินซี และโดนขับออกเป็นปัสสาวะนั่นเอง

สำหรับใครที่คิดว่าเราไม่สามารถทานได้ครบถ้วน การรับประทาน "วิตามินซี" ก็เป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยหากรับประทานอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ เพื่อที่จะทำให้เราได้ประโยชน์จากวิตามินซีอย่างเต็มที่