ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5
ไมครอน (PM2.5)
และ 10 ไมครอน (PM10) หากมีค่าเกินมาตรฐาน คุณภาพอากาศจะส่งผลกระทบตอ่
ระบบทางเดินหายใจของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้วจะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ง่าย
ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถก่อให้เกิดอันตรายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพประชาชน
เนื่องจากเมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ทางระบบทางเดินหายใจ
จะทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ
แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดหอบหืด ถุงลมโป่งพอง
และอาจเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเส้นทางของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เข้าสู่ทางเดินหายใจนั้นขึ้นอยู่กับขนาด
รูปร่าง และความหนาแน่น รวมถึงลักษณะของลมหายใจร่วมด้วย
ปกติมลพิษอากาศรวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็กจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ
ระบบทางเดินหายใจจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
1.
ส่วนบนคือ ช่องจมูกและหลอดลม
และระบบทางเดินหายใจ
2.
ส่วนล่างคือ ท่อปอด (bronchial
tubes) และปอด
ซึ่งฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 10
ไมครอน หรือที่เรียกว่าฝุ่นที่หายใจเข้าไป (respiration particulate
matter, RPM) จะรอดจากการกรองเข้าไปถึงปอดได้
ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน จะเข้าไปถึงถุงลมปอดได้
ฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ
ฝุ่นละอองเล็กๆนี้เมื่อถูกหายใจเข้าปอด จะไปเกาะติดผนัง นานเข้าก็จะคล้ายยางเหนียว ทำให้ความสามารถในการหายใจของปอดลดน้อยลง สร้างปัญหาในระยะยาวกับร่างกายต่อไปอีกนาน
ฝุ่นละอองเล็กๆนี้เมื่อถูกหายใจเข้าปอด จะไปเกาะติดผนัง นานเข้าก็จะคล้ายยางเหนียว ทำให้ความสามารถในการหายใจของปอดลดน้อยลง สร้างปัญหาในระยะยาวกับร่างกายต่อไปอีกนาน
โรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก ประกอบด้วย
1. โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease, COPD)
2. โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
3. โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema)
4. โรคปอดอักเสบ ( Interstatial lung
disease)
5. โรคหอบหืด ( Asthma)
นักวิทยาศาสตร์ที่จีนได้รวบรวมฝุ่นละออง
จากนั้นนำมาสกัดและลำดับดีเอ็นเอในตัวอย่าง เพื่อระบุสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ 1,315
ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกแบคทีเรีย โดยในฝุ่นละออง ที่เก็บตัวอย่างยังพบเห็ดรา
และเชื้อไวรัสรวมอยู่ด้วย ผลการศึกษาล่าสุดพบเชื้อจุลินทรีย์กว่า 1,300
สายพันธุ์ลอยปะปนอยู่ในอากาศ ที่มีมลพิษของกรุงปักกิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น