วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน

ตัวเลขที่ไม่ขึ้นทะเบียน น่าเป็นห่วง เพราะวัณโรคเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อกันทางอากาศ ::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::: WHO จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค”
“องค์การอนามัยโลก” จี้ กทม. เร่ง 4 แผนควบคุม “วัณโรค” คาดยอดผู้ป่วยสะสม ในกรุงเทพฯ 1.4 หมื่นคน
ธ.ค.59 - นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯกทม. ให้การต้อนรับผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อตรวจติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้นที่กรุ งเทพฯ พร้อมทั้งเป็นประธานการประชุมรายงานสรุปผลการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ากา รดำเนินงานวัณโรคของสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือแนวทางการมุ่งสู่ยุทธศาสตร์ยุติวัณโรค (The End TB Strategy) โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบด้วย Dr.Paul Nunn Dr.C.N.Paramasivan Dr.Muta Shama และ Dr.Daniel Kertesz และหน่วยงานในกทม. ประกอบด้วย สำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม
รายงานข่าวแจ้งว่า จากการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติในพื้ นที่กรุงเทพฯ ของผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก โดยเมื่อวันที่ 13 ธ.ค.2559 ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานในสถานพยาบาล 6 แห่ง ประกอบด้วย สถานพยาบาลของกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 15 (ลาดพร้าว) โรงพยาบาลกลาง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี และสถานพยาบาลเอกชน 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา
รายงานข่าวระบุว่า ผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้แนะนำแนวทางการดำเนินงาน 4 ข้อ ดังนี้
1.ให้มีระบบรายงานผู้ป่วยให้มีความครอบคลุมเพิ่มขึ้น
2.ควรมีการสนับสนุนระบบส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องในสถานพยาบาล อื่นๆ ที่ครอบคลุมผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งกทม.ได้จัดตั้งศูนย์ส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคตั้งอยู่ที่ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางแพทย์สัมพันธ์ สำนักอนามัย
3.มีการดูแลผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางมากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกในการดูแลรักษา และ
4.มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุ และผู้ติดยาเสพติด
“สำหรับประมาณการผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณ 14,000 คน แต่ขึ้นทะเบียนเข้ารับการรักษา 10,000 คน โดยจากนี้ กทม.จะได้นำไปเป็นแนวทาง พร้อมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” รายงานข่าว ระบุ
http://www.komchadluek.net/news/regional/252561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น